แพทย์จีน นวดกดจุดหยุดปวดคอ


1,785 ผู้ชม


อาการปวดคออาจเกิดขึ้นได้สำหรับคนในวัยทำงาน หรือผู้ที่ขยับร่างกายผิดวิธี ปวดเมื่อยตามที่ต่างๆ วันนี้เรามีแพทย์แผนจีนในการกดจุด และช่วยบรรเทาอาการปวดต้นคอมาฝากกันค่ะ         อาการปวดคออาจเกิดขึ้นได้สำหรับคนในวัยทำงาน หรือผู้ที่ขยับร่างกายผิดวิธี ปวดเมื่อยตามที่ต่างๆ วันนี้เรามีแพทย์แผนจีนในการกดจุด และช่วยบรรเทาอาการปวดต้นคอมาฝากกันค่ะ 
แพทย์จีน นวดกดจุดหยุดปวดคอ

แพทย์จีน นวดกดจุดหยุดปวดคอ

อาการปวดต้นคอเกิดจากหลายสาเหตุด้วยกัน ซึ่งอาการปวดคอนั้นมักมีหลายแบบ เช่น ปวดเมื่อยต้นคอ คอแข็งเอี้ยวไม่ได้ ...

บางครั้งจะปวดบริเวณไหล่หรือบ่าร่วมด้วย ตลอดจนปวดร้าวไปที่ศีรษะ ต้นแขน ปลายแขน หรือแม้แต่ปวดและชาที่นิ้วมือได้ ต้องลองสังเกตว่าตัวเราเองปวดแบบไหน เช่นมีนมีอาการปวดเมื่อยบริเวณต้นคอและที่บ่าร่วมด้วย แต่ยังหันคอไปมาได้ตามปกติ แม้จะรู้สึกปวดแต่ก็ไม่เจ็บมาก
ต่อมาลองหาสาเหตุของอาการปวดคอกัน ซึ่งสาเหตุการปวดคอที่พบบ่อย เกิดจาก
  • อิริยาบถหรือท่าทางที่ไม่ถูกต้อง เช่น การแหงนหน้าหรือก้มหน้าทั้งวัน อย่างผู้ทำงานเย็บจักร ซักผ้า เขียนหรืออ่านหนังสือ ตลอดจนครูที่ต้องแหงนหน้าเขียนกระดานบ่อยๆ หรือนักบัญชีที่ต้องก้มคอนานๆแม้แต่การนอนหนุนหมอนที่สูงหรือแข็งเกินไปก็ทำให้เป็นโรคปวดคอได้
  • สิ่งแวดล้อมในที่ทำงาน หรืองานในชีวิตประจำวันไม่เหมาะสมกับสรีระของร่างกาย เช่น โต๊ะ เก้าอี้สูงหรือต่ำเกินไป
  • ความเครียดของจิตใจ ซึ่งอาจทำให้เกิดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อคอ ทำให้มีอาการปวดต้นคอ ปวดศีรษะบริเวณท้ายทอย ภายหลังการทำงานหรือภายหลังมีปัญหาขัดแย้ง
  • อุบัติเหตุ ซึ่งจะทำให้มีการเคลื่อนไหวของคอมาก หรือรวดเร็วกว่าปกติ ทำให้กล้ามเนื้อเส้นเอ็นฉีกขาด หรือ กระดูกเคลื่อน
  • กระดูกคอเสื่อม เป็นการเปลี่ยนแปลงที่พบได้ในคนสูงอายุ บางคนอาจไม่มีอาการเลยก็ได้ ขณะที่บางคนอาจมีอาการมากจนต้องได้รับการรักษา
  • ข้ออักเสบ เช่น ในผู้ป่วยรูมาตอยด์
เมื่อเราสำรวจพบสาเหตุของอาการปวดคอกันแล้ว นอกจากจะต้องแก้ไขที่ต้นเหตุ อีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยคอในรายที่มีอาการไม่มาก และไม่มีอาการบวมแดงก็คือ การนวดกดจุด เริ่มต้นง่ายๆ ดังนี้
กดจุดเยียวยาผู้ป่วย
การกดจุดตามขั้นตอนต่อไปนี้ ต้องขอความร่วมมือจากคนในครอบครัวหรือคนใกล้ชิด อาจชวนกันมาทำเป็นกิจกรรมยามว่างในครอบครัวของคุณก็ได้ โดยเริ่มจากให้ผู้ป่วยนั่งเก้าอี้ ตั่ง หรือพื้นที่ปูเบาะ (ถ้าผู้ป่วยกำลังตั้งครรภ์ให้ข้ามขั้นตอนที่ 1) พร้อมกันแล้ว ก็ลงมือได้เลยค่ะ
  1. ให้ผู้นวดยืนด้านหลังผู้ป่วย แล้วโน้มตัวลงมาตรงๆ ใช้ฝ่ามือกดที่ไหล่ เริ่มออกแรงเบาๆ ก่อน แล้วจึงค่อยๆ โน้มต่ำลงเพิ่มแรงมากขึ้น
  2. มือข้างหนึ่งประคองหน้าผากไว้ อีกมือหนึ่งบีบกล้ามเนื้อหลังคอ โดยค่อยๆ บีบไล่จากท้ายทอยลงมา
  3. ใช้นิ้วหัวแม่มือกดลงไปอย่างหนัก ตรงแอ่งระหว่างกล้ามเนื้อคอและฐานกะโหลกศีรษะ กดไล่ลงมาด้านล่างช้าๆ แล้วจึงเปลี่ยนมือและกดจุดแบบเดิมที่คออีกด้านหนึ่ง
  4. สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการปวดเมื่อยบริเวณไหล่หรือบ่าร่วมด้วย ให้ผู้นวดถอยหลังออกมานิดหนึ่ง เหยียดแขน วางมือลงบนไหล่ทั้งสองข้าง กดช้าๆ ซ้ำๆ กันหลายครั้งที่บริเวณกล้ามเนื้อข้างกระดูกสันหลังทั้ง
  5. สองด้านของกระดูกหัวไหล่ ออกแรงกดเท่าที่ผู้ป่วยทนได้
  6. จบการนวดกดจุดด้วยการบีบนวด และลูบมือจากไหล่ลงมาถึงข้อศอกซ้ำๆ เร็วๆ เพื่อให้คลายจากการตึงเครียด
ควรไปพบแพทย์เมื่อ
  • ถ้ารักษาตัวเองแล้วไม่ได้ผล และปวดนานเกิน 3 วัน
  • มีอาการปวดมากจนยกแขนขึ้นเหนือศีรษะไม่ได้
  • ต่อมน้ำเหลืองที่คอบวม หรือมีอาการกลืนลำบากร่วมด้วย
  • ปวดคอหรือไหล่หลังจากเกิดอุบัติเหตุหรือหกล้ม ต้องพบแพทย์ทันที
  • กรณีที่ปวดคอและมีอาการคอเคล็ด รวมถึงปวดศีรษะ มีไข้สูง ตาไม่สู้แสง และมีผื่นแดง ต้องพบแพทย์โดยด่วน เพราะเหล่านี้เป็นอาการของเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

ที่มา  https://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=3241&sub_id=12&ref_main_id=3

อัพเดทล่าสุด