บำบัดโรคด้วยเหล็กไนผึ้ง


1,207 ผู้ชม


หากเอ๋ยชื่อแมลงที่ร้ายกาจผึ้งก็เป็นอีกแมลงตัวเล็กๆ ตัวหนึ่ง ที่ติดอันดับในนั้น แต่ปัจจุบันผึ้งสามารถบำบัดโรคได้หลายชนิด โดยเรียกวิธีการรักษาว่า          หากเอ๋ยชื่อแมลงที่ร้ายกาจผึ้งก็เป็นอีกแมลงตัวเล็กๆ ตัวหนึ่ง ที่ติดอันดับในนั้น แต่ปัจจุบันผึ้งสามารถบำบัดโรคได้หลายชนิด โดยเรียกวิธีการรักษาว่า "พิษต้านพิษ" 
การบำบัดด้วยพิษผึ้ง หรือที่เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า "อาพิเธอราพี" (Apitherapy) คือ การรักษาโดยใช้พิษต้านพิษ ซึ่งเป็นศาสตร์การรักษาโดยใช้ผึ้งที่มีมายาวนานในประเทศจีน โดยการนำพิษผึ้งมาใช้เพื่อบำบัดโรคต่างๆ การรักษาโรคโดยใช้ผึ้งบำบัดเป็นที่ยอมรับในระดับสากล วิธีการแนวใหม่ที่เรียกว่า ผึ้งบำบัดนี้ ในศาสตร์การรักษาของแพทย์แผนจีนที่มีอายุเก่าแก่ร่วม 3,000 ปี ปัจจุบันมีหลายประเทศได้รับอนุญาตอย่างถูกต้องให้ใช้รักษาคนไข้ได้ วิธีการนี้ใช้หลักการเดียวกับการฝังเข็ม  แต่ต่างตรงที่พิษผึ้ง ที่ถือกันว่าเป็นยาธรรมชาติขนานเอก สำหรับคนไข้ที่ได้รับการรักษาด้วยวิธีอื่นๆ แล้วไม่ได้ผล การรักษาด้วยวิธีนี้นับได้ว่าเป็นทางเลือกใหม่สำหรับคนไข้อีกทาง
นิยามของอพิเธอราพี (Apitherapy) 
Apitherapy หมายถึง การบำบัด บรรเทา รักษาโรคและอาการโดยใช้ผลิตภัณฑ์ผึ้ง อันได้แก่ น้ำผึ้ง เกสรผึ้ง นมผึ้ง พรอพอลิส ไขผึ้ง และพิษผึ้ง การรักษาโดยใช้ผึ้งมีมายาวนาน และเป็นที่ยอมรับในระดับสากล วิธีการที่เรียกว่า ?ผึ้งบำบัด? หรือแม้กระทั่งเป็นการบำบัดหรือรักษาโรคโดยการใช้พิษผึ้ง โดยวิธีการใช้พิษต้านพิษ หรือเรียกว่า Homeopathy
ปรัชญาและทฤษฎีพื้นฐาน ของการบำบัดโรคด้วยผึ้ง (Apitherapy) 
ผึ้งบำบัด (Apitherapy) มีแนวคิดหรือปรัชญาพื้นฐานในการใช้วิถีทางธรรมชาติในการบำบัดโรค ที่เรียกว่า อาหารเป็นยาก่อให้เกิดพลังต้านโรค เป็นการรักษาแบบองค์รวม ไม่ได้มองแค่จุดที่เจ็บป่วยเพียงจุดเดียว แต่มองว่าร่างกายทุกส่วนมีความสัมพันธ์และเกี่ยวโยงกันหมด ฉะนั้น การรักษาก็ต้องรักษาทั้งระบบ นำมาซึ่งความสมดุลในการบำบัดและทำให้ร่างกายทำหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ ผึ้งบำบัด (Apitherapy) ยังมุ่งเน้นการกระตุ้นพลังงานในร่างกายและเลือดลมให้ไหลเวียนได้ดีขึ้น เมื่อการไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น อาการเจ็บป่วยต่างๆ ก็ค่อยหายไป ซึ่งเป็นหลักการบำบัดรักษาโรคโดยวิถีทางธรรมชาติอย่างแท้จริง
โรคที่เหมาะในการรักษา ด้วยการฝังเข็มด้วยเหล็กไน
  • 1. อาการปวด ได้แก่ ปวดเอว ปวดขา ปวดคอ เอวเคล็ด คอเคล็ด ปวดกล้ามเนื้อ ไมเกรน ปวดประจำเดือน ปวดกระเพาะ ปวดแสบปวดร้อนตามแนวเส้นประสาทหลังจากที่งูสวัดหายแล้ว
  • 2. อาการไขข้อ ได้แก่ ไขข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคเก๊าต์ โรคข้อเข่าเสื่อม นิ้วล็อค โรคเอ็นอักเสบ อาการปวดสะโพก
  • 3. โรค และอาการอื่นๆ เช่น ริดสีดวง เล็บงอผิดปกติ ตะคิวที่น่อง กระดูกงอ แผลที่นูนออกมาผิดปกติ แขนและขาชา ไอเรื้อรัง ถุงน้ำดีอักเสบเรื้อรัง ลำไส้อักเสบเรื้อรัง โรคความดันโลหิตสูง โรคเส้นเลือดตีบ อาการอ่อนเพลียเรื้อรัง เป็นต้น และโรคที่เป็นปัญหามากในขณะนี้ก็คือ การเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ซึ่งมีผู้ที่ป่วยจำนวนมากต้องการรักษา
แนวทางการรักษา
ผอ.ประเสริฐ กล่าวถึงการบำบัดโรคของผู้ป่วยว่า ?เริ่มต้นก่อนทำการรักษา จะทำการวินิจฉัยโรคและซักถามประวัติ บันทึกลงในสมุดประวัติผู้ป่วยทุกครั้ง สำหรับผู้ป่วยที่ต้องการรักษาด้วยวิธีฝังเข็มเหล็กไนผึ้ง ต้องได้รับการทดสอบการแพ้พิษก่อน โดยการนำผึ้งมาต่อยบริเวณท้องแขน ปกติถ้าคนไม่แพ้จะเกิดอาการบวมแดงบนจุดที่โดนต่อย แต่ถ้ามีอาการแพ้ เช่น เกิดผดผื่นตามร่างกาย มีอาการแน่นหน้าอก คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ อ่อนแรง ก็ไม่สามารถรักษาโรคด้วยวิธีผึ้งบำบัดได้ แต่ถ้าร่างกายไม่มีปฏิกิริยาต่อต้านก็สามารถฝังเข็มเหล็กไนผึ้งต่อไป โดยจะกำหนดว่าคนไข้แต่ละรายสมควรจะถูกผึ้งต่อยสักกี่ตัว และควรปล่อยให้พิษและเหล็กไนอยู่ในร่างกายนานเท่าไหร่ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัย บางคนถูกต่อยแค่ครั้งเดียวอาการก็ดีขึ้น แต่บางคนต้องต่อย 4-5 ครั้ง ขึ้นไป อาการป่วยถึงจะทุเลา หรืออาจหายขาดไปเลย 
พิษผึ้ง มาจากไหน?
พิษของผึ้ง (Bee venom) เป็นสารประกอบโปรตีนที่ผึ้งงานปล่อยออกมาจากต่อมสร้างพิษ ผ่านออกมาทางท่อเหล็กไน เพื่อไว้ใช้ป้องกันรังเวลาที่ศัตรูบุกรุก
ผึ้งที่ทำหน้าที่ป้องกันรังคือ ผึ้งงาน จากการที่ผึ้งงานไม่มีเหล็กไนโดยเฉพาะ จึงวิวัฒนาการอวัยวะวางไข่ให้เป็นเหล็กไน เหล็กไนของผึ้งแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนนอกแข็ง ประกอบด้วยอวัยวะ 3 ชิ้น ประกบกันเป็นท่อปลายแหลม ตามขอบมีรอยหยักคล้ายเบ็ดตกปลา ส่วนด้านในประกอบด้วยเนื้อเยื่ออ่อนๆ มีต่อมผลิตสารพิษ และต่อมกลิ่นสัญญาณเตือนภัย เหล็กไนของผึ้งใช้ในการป้องกันรังเท่านั้น ต่างจาก ต่อ แตน ซึ่งใช้เหล็กไนในการล่าเหยื่อ โดยการต่อยให้เหยื่อตายหรืออัมพาตแล้วนำกลับสู่รัง เหล็กไนไม่ขาดติดกับเหยื่อ ส่วนผึ้งเมื่อต่อยศัตรูแล้วจะทิ้งเหล็กไนปักในเนื้อของศัตรู โคนของเหล็กไนถูกเปิดออกให้ต่อมพิษทำงาน และส่งกลิ่นออกมา ทำให้ผึ้งงานตัวอื่นๆ ตื่นตัวและพร้อมที่จะไปต่อยหรือปกป้องรังทันที กลิ่นของสารเตือนภัยนี้คล้ายกับกลิ่นน้ำนมแมว หรือน้ำมันกล้วยหอม เป็นสารเคมี เรียกว่า Iso pentyl acetate
ธรรมชาติสร้างให้ผึ้งมีเหล็กไนป้องกันตัวและรังของมันเท่านั้น ไม่เคยไปรุกรานใคร น้ำพิษที่ผึ้งงานผลิตขึ้นถูกเก็บไว้ในถุงน้ำพิษที่อยู่ส่วนปลายของช่องท้อง โดยมีท่อต่อเชื่อมกับอวัยวะที่เรียกว่า เหล็กไน ผึ้งงานมีกล้ามเนื้อที่ควบคุมการทำงานของถุงน้ำพิษและเหล็กไน ผึ้งงานต้องกินเกสรและน้ำผึ้ง เพื่อนำไปผลิตน้ำพิษ ผึ้งงานเมื่อเกิดขึ้นมาในระยะแรกนั้นยังสร้างพิษไม่ได้ หลังจากอายุ 10-14 วัน ปริมาณพิษผึ้งมีเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และทำหน้าที่ในการป้องกันรังจากศัตรู (ในช่วงที่มีเกสรและน้ำหวานอุดมสมบรูณ์ จะทำให้น้ำพิษเพิ่มขึ้นและมีความเข้มข้นมากขึ้น) ถุงน้ำพิษของผึ้งพันธุ์ ถุงหนึ่งบรรจุน้ำพิษได้ประมาณ 0.3 มิลลิกรัม
องค์ประกอบทางเคมีของพิษผึ้งมีคุณค่าทางการแพทย์ เช่น ฮีสตามีน (Histamine) เซอโรโตนิน (Serotonin) โดพามิน (Dopamine) ฯลฯ และนอกจากนี้ยังมีกรดอะมิโน และเอ็นไซม์เป็นองค์ประกอบเล็กน้อย
พิษผึ้งมีลักษณะเป็นของเหลวใส มีรสขม มีกลิ่นของสารอโรมาติก คล้ายกลิ่นนมแมว มีฤทธิ์เป็นกรด และมีความถ่วงจำเพาะ 1.313 เป็นสารอินทรีย์เคมี ที่ออกฤทธิ์เร็วและรุนแรง ทำให้แมลงบางชนิดตาย พิษจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เมื่อผึ้งงานอายุ 10-14 วัน และมีปริมาณคงที่ เมื่อผึ้งงานอายุ 15 วัน ขึ้นไป โดยจะมีปริมาณ 0.05-0.30 มิลลิกรัม 
สารในพิษผึ้ง
  • Melitin เป็นสารโปรตีน และเปปไทด์ ทำให้เจ็บปวดและอักเสบบวม
  • Apamin เป็นสารโพลีเปปไทด์ ทำให้เกิดอาการกระสับกระส่าย หรือชัก
  • Histamine เป็นสารที่ทำให้เกิดอาการบวม แดง และปวดของเนื้อเยื่อ
  • Dopamine เป็นสารเอมีนที่มีฤทธิ์ทางสรีรวิทยา ทำให้ปวด บวมแดง        
  • Mast cell degranulating peptide ทำลายเซลล์
  • Phospholipase A2 ทำให้เกิดอาการแพ้ และช็อค
  • Hyaluronidase ทำให้สารอื่นมีพิษเข้าทำลายเนื้อเยื่อ
การใช้พิษผึ้งเพื่อบำบัดโรค หากใช้ในปริมาณมากเกินไปจะทำให้เกิดอาการวิงเวียน คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย ไม่มีแรง อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้น และง่วงนอน ดังนั้น หากต้องการใช้พิษผึ้งเพื่อการรักษา หรือบำบัดโรค ควรอยู่ในความดูแลของแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น
ที่มา  https://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=2070&sub_id=12&ref_main_id=3

อัพเดทล่าสุด