การเสียสมดุลภายในร่างกาย อาจทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บตามมา เชื้อโรคหรือสภาพแวดล้อมทำให้มีหยิน และหยางมากจนเกินไป เมื่อร่างกายเสียสมดุลจะส่งผลให้อารมณ์เสียสมดุลไปด้วย
เมื่อเรารู้ว่าโรคภัยไข้เจ็บคืออะไร เราก็จะรู้ถึงวิธีการรักษาได้โดยอัตโนมัติ โดยปกติแล้วร่างกายจะมีสุขภาพดีถ้าหากอวัยวะต่างๆ ทำงานอยากถูกต้อง ร่างกายของเราถูกสร้างมาอย่างสมบรูณ์แบบ ทำให้เราใช้ชีวิตด้วยความประมาทจนทำให้ร่างกายเจ็บป่วยขึ้น หากเราสังเกตุสัตว์ต่างๆ เราจะพบว่าพวกมันมีสุขภาพดี เมื่อมันมีชีวิตอยู่ในธรรมชาติอย่างอิสระ โดยไม่ถูกจับมาขังเป็นสัตว์เลี้ยง พวกมันจะกินเมื่อมันหิว และ หยุดกิน เมื่อมันอิ่มไม่ว่าอาหารที่มันกินจะน่ากินหรืออร่อยมากเพียงใด มันจะไม่กินจนเกินพอดี และจะไม่กินอาหารถ้ามันรู้สึกไม่สบาย สัญชาตญาณตามธรรมชาติสอนให้สัตว์ทำเช่นนั้น มนุษย์เราก็มีสัญชาตญาณเช่นนี้เหมือนกัน แต่ชีวิตของมนุษย์ในปัจจุบันไม่เป็นไปตามธรรมชาติ ทำให้สัญชาตญาณบางอย่างหายไป
การแพทย์แผนจีนมี ประวัติมายาวนานมากว่าห้าพันปี เกิดจากการเรียนรู้และเข้าใจธรรมชาติ มีชีวิตอยู่สอดคล้องกับธรรมชาติ และมีการวิวัฒนาการมาตลอด แพทย์จีนในแต่ละยุคได้ทำการค้นคว้า ปฏิบัติ จดบันทึก สรุปเรียบเรียงจนกลายเป็นทฤษฏีที่ค่อยๆ มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น จนกลายเป็นคลังทางปัญญาให้กับชนรุ่นหลังได้ศึกษาสืบต่อกันมา
การแพทย์แผนจีนได้วางแนวทางหลักในการรักษาผู้เจ็บป่วยไว้ 2 ประการ ดังนี้
1. การรักษาแบบองค์รวม เป็นการรักษาที่ครอบคลุม เช่น หากมีอาหารอ่อนเพลีย หน้าตาซีดเซียว ปากซีด หมอจีนสมัยก่อนจะให้กินสมุนไพรที่มี สรรพคุณบำรุงเลือด หัวใจ และม้ามไปพร้อม ๆ กัน
2. การรักษาที่ดูจาก สภาพแวดล้อมภายนอกที่มากระทบ ลักษณะพื้นฐานของสุขภาพเดิมของแต่ละคน ซึ่งโดยปกติแล้วแพทย์จีนจะแบ่งพื้นฐานสุขภาพของคนออกเป็น 4 แบบ คือ
- พวกหยางแข็งแรง คนกลุ่มนี้จะเป็น คนขี้ร้อน คล่องแคล่ว ตื่นเต้นได้ง่าย ชีพจรเต้นเร็ว ลิ้นมีสีแดง
- พวกหยินแข็งแรง คนกลุ่มนี้จะเป็น คนขี้หนาว มีนิสัยเรียบ ๆ ดูสงบนิ่ง อาจมีอาการอ่อนเปลี้ยเพลียแรง
- พวกหยางอ่อนแอ คนกลุ่มนี้จะมีลักษณะนิสัยเป็น คนเก็บกดหน้าตาซีดเซียวเหมือนไม่ค่อยมีเลือด
- พวกหยินอ่อนแอ คนกลุ่มนี้จะรูปร่างผอมบาง อารมณ์ไม่คงที่ หงุดหงิดขี้โมโหง่าย
แพทย์จีน ได้กล่าวไว้ว่า การที่ร่างการเกิดอาการเจ็บป่วยเป็นเพราะการเสียสมดุล เนื่องจากเชื้อโรคหรือสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง จนทำให้ร่างกายมีหยินหรือหยางมากเกินไป เมื่อร่างกายเสียสมดุลจะส่งผลให้อารมณ์เสียสมดุลตามไปด้วย ดังนั้น การรักษาของแพทย์จีนจึงเน้นไปที่การปรับสมดุล เพราะสมดุลเปรียบเสมือนกุญแจสำคัญของการมีสุขภาพดี การปรับสมดุูลของแพทย์แผนจีนมีหลายวิธี แต่วิธีที่เราคุ้นเคยและรู้จักกันดี เช่น
การฝังเข็ม เป็นวิธีการใช้เข็มเล่มเล็ก ๆ บาง ๆ ฝังลงไปตามจุดต่าง ๆ ของร่างกาย การฝังเข็มแบบนี้จะช่วยบำบัดอาการปวดหัวเรื้อรังแบบไม่รู้สาเหตุ ปวดไมเกรน ปวดเส้นประสาท ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดประจำเดือนในบางรายยังอาจช่วยรักษาภูมิแพ้ หอบหืด ท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องผูก ทำให้คลายเครียด และนอนหลับได้ดีขึ้น นอกจากนี้ การฝังเข็มยังช่วยให้เลือดลมเดินดี ผิวพรรณผ่องใส ลบเลือนริ้วรอยอีกด้วย
การใช้สมุนไพร ชาวจีนโบราณได้ชื่อว่าเป็นสุดยอดแห่งการใช้สมุนไพรบำบัดโรค การใช้สมุนไพรของชาวจีนมีทั้งแบบที่ใช้เดี่ยว ๆ เช่น การชงเป็นชา หรือใช้สมุนไพรหลาย ๆ ตัวมาเข้าเป็นตำรับยา หรือใช้ประกอบลงในอาหารหรือดองเหล้า การใช้สมุนไพรหลาย ๆ ตัวมาประกอบกัน ก็เพื่อปรับฤทธิ์และสรรพคุณของสมุนไพรให้สมดุล เพื่อให้ได้สรรพคุณตามต้องการใช้สมุนไพรเพื่อปรับสมดุลของร่างกาย นอกจากจะช่วยฟื้นฟูระบบไหลเวียนของเลือดลมแล้ว ยังช่วยปรับสภาวะร้อนหรือเย็นเกินไปของร่างกายอีกด้วย จึงอาจพูดได้ว่า สมุนไพรจีนให้สรรพคุณทั้งการบำบัดและบำรุงในขณะเดียวกัน
การใช้สมุนไพรปรุงร่วมกับอาหาร การปรับสมดุลโดยวิธีนี้จะช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วขึ้น เพราะรสชาติอาหารจะทำให้กินยาหรือสมุนไพรได้ง่ายขึ้น
ที่มา https://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=2009&sub_id=12&ref_main_id=3
ที่มา https://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=2009&sub_id=12&ref_main_id=3