
“มะรุม” เป็นพืชพื้นบ้านที่มีทั่วทุกภาคของประเทศไทย ทำให้มีการเรียกชื่อมะรุมแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น คำว่ามะรุมนี้ เป็นคำเรียกขานของคนภาคกลาง ในขณะที่ฝั่งอีสานบ้านเฮาเอิ้นว่า “ผักอีฮุม หรือ บักฮุ้ม” ส่วนหมู่เฮาจาวเหนืออู้ว่า “บะค้อนก้อม” ส่วนชาวกะเหรี่ยงแถบกาญจนบุรีเรียก “กาแน้งเดิง” ด้านชายขอบจังหวัดแม่ฮ่องสอนกลับให้ชื่อแก่มันอย่างชวนให้ลิ้มรสว่า “ผักเนื้อไก่”
ครัวไทยแต่โบราณนำมะรุมมาปรุงเป็นอาหารหลากรสหลายตำรับ ในขณะที่ภูมิปัญญาด้านการแพทย์แผนไทยก็นำแทบทุกส่วนของมะรุม ไม่ว่าจะเป็นใบ ดอก ฝัก เมล็ด เปลือก ราก ฝัก ฯลฯ โดยสรรพคุณทางสมุนไพรในแต่ละส่วนก็มีต่างๆ กันไป...


สรุปสรรพคุณต่าง ๆ ของมะรุม
1. ใช้ปรุงอาหารชนิดเดียวกับน้ำมันมะกอก แต่ดีกว่าเพราะไม่มีกลิ่นหืนภายหลัง
2. ช่วยบำรุงรักษาผิวที่แห้งให้ชุ่มชื้น อ่อนนุ่ม และช่วยชะลอความเหี่ยวย่นของผิว
3. ช่วยรักษาโรคเชื้อราตามผิวหนัง เช่น โรคน้ำกัดเท้า เชื้อราตามซอกเล็บ และผิวแห้งเพราะเชื้อรา
4. ช่วยรักษาแผลถูกมีดบาด หรือแผลสดเล็ก ๆ น้อย ๆ
5. ลดอาการผื่นคันตามผิวหนัง และอาการแพ้ผ้าอ้อมของเด็กอ่อน
6. ลดอาการปอดบวมของโรคไขข้ออักเสบ โรคเก๊าท์
7. ช่วยรักษาแผลในปากหรือแผลของโรคปากนกกระจอก
8. ใช้นวดกระชับกล้ามเนื้อ และบรรเทาอาการปวดเมื่อยของกล้ามเนื้อได้เป็นอย่างดี
9. ช่วยบรรเทาอาการสิวบนใบหน้า
10. ช่วยลบรอยจุดด่างดำของผิวอันเป็นผลจากการโดนแดด หรือการเสื่อมตามวัย
11. ใช้นวดศีรษะ รักษาโรคเชื้อราบนหนังศีรษะ บรรเทาอาการผมร่วงง่าย และอาการคันศีรษะ
12. ช่วยถอนพิษแมลงสัตว์กัดต่อย ผู้เขียนประสบโดยตรงกับตนเองคนในบ้าน 2 คนถูกผึ้งต่อย หลังจากทาน้ำมันมะรุม อาการปวดหายไปทันที ส่วนอาการบวมลดลงอย่างรวดเร็ว
13. บรรเทาอาการปวดเมื่อยตามบั้นเอวและขา เนื่องจากการยืนนาน ๆ อาการปวดเมื่อยตามไหล่ และปวดศีรษะ
14. ใช้เป็นน้ำมันหล่อลื่นต่าง ๆ ประจำบ้านทำให้สิ่งของไม่เป็นสนิท
ที่มา https://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=1976&sub_id=11&ref_main_id=3
ที่มา https://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=1976&sub_id=11&ref_main_id=3