ฤาษีดัดตนวัดโพธิ์


1,038 ผู้ชม


ดังกระหึ่มโลก  ฮือฮาท่านวดในแผ่นจารึกวัดโพธิ์ดังกระหึ่มไปทั่วโลก “ยูเนสโก” ประกาศขึ้นทะเบียนบัญชีนานาชาติ         ดังกระหึ่มโลก ฮือฮาท่านวดในแผ่นจารึกวัดโพธิ์ดังกระหึ่มไปทั่วโลก “ยูเนสโก” ประกาศขึ้นทะเบียนบัญชีนานาชาติ 

ท่านสามารถทำท่าฤาษีดัดตนตามแบบวีดีโอได้ที่
เว็บไซต์นี้ www.rusiedotton.thai.net/main_page.php
เมื่อวันที่ 15 มิ.ย. คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต ประธานคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยแผนงานความทรงจำแห่งโลกขององค์การศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) เปิดเผยว่า ตามที่คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยแผนงานความทรงจำแห่งโลก ได้เสนอจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์) ต่อยูเนสโก เพื่อพิจารณาขึ้นทะเบียนเป็นมรดกความทรงจำแห่งโลกในระดับนานาชาตินั้น ขณะนี้ได้รับรายงานจาก ม.ร.ว.รุจยา อาภากร กรรมการในคณะกรรมการว่าด้วยแผนงานมรดกความทรงจำของไทย ว่า ยูเนสโกได้ประกาศรับรองจารึกวัดโพธิ์เป็นมรดกความทรงจำแห่งโลกในทะเบียนนานาชาติ (International Register) แล้ว ในการประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษานานาชาติว่าด้วยแผนงานความทรงจำแห่งโลกของยูเนสโก ครั้งที่ 10 เมื่อวันที่ 27 พ.ค.ที่ผ่านมา ณ เมืองแมนเชสเตอร์ สหราชอาณาจักร
คุณหญิงแม้นมาส กล่าวต่อว่า วัดโพธิ์เคยได้รับขึ้นทะเบียนเป็นมรดกความทรงจำของโลกของภูมิภาคเอเซียแปซิฟิก (Regional Register) เมื่อปี 2551 หลังจากนั้นคณะกรรมการแห่งชาติฯ ได้ดำเนินการสำรวจจัดทำทะเบียนและถ่ายภาพแผ่นจารึกวัดโพธิ์ จำนวน 1,440 ชิ้น และจัดทำแผนอนุรักษ์ตามแนวทางของยูเนสโก ซึ่งคณะกรรมการแห่งชาติฯ เห็นว่าควรเสนอจารึกวัดโพธิ์ให้ขึ้นบัญชีนานาชาติด้วย ตนและคณะกรรมการฯ จึงได้เสนอให้ยูเนสโกพิจารณาเมื่อเดือน ม.ค. 2554 ในที่สุดที่ประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษานานาชาติว่าด้วยแผนงานความทรงจำแห่งโลกของยูเนสโก ครั้งที่ 10 ที่เมืองแมนเชสเตอร์ มีมติเอกฉันท์ให้จารึกวัดโพธิ์ เป็นมรดกความทรงจำแห่งโลกในทะเบียนนานาชาติ ทั้งนี้จารึกวัดโพธิ์ มีเรื่องวิชาความรู้ที่มีลักษณะที่เป็นสากล ไม่ใช่ความรู้เฉพาะในประเทศไทย เช่น 
เรื่องพระพุทธศาสนา เรื่องวรรณกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งจารึกเรื่องฤๅษีดัดตนเป็นสากลมาก
“วงการแพทย์หลายประเทศขณะนี้กำลังมองย้อนไปว่าความรู้ที่บรรพบุรุษให้ไว้น่าจะมีประโยชน์มาจนถึงปัจจุบัน ก็อาจจะนำกลับมาใช้โดยที่นำมาปรับปรุงบางสิ่งบางอย่าง และตำราฤๅษีตนมีมาตั้งแต่ก่อนตอนต้นกรุงรัตนโกสินทร์ โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดเกล้าให้รวบรวมความรู้ที่มีตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยานำมาจารึกไว้เพราะเกรงว่าจะสูญหาย” คุณหญิงแม้นมาส กล่าว
คุณหญิงแม้นมาส กล่าวอีกว่า สำหรับประชุมจารึกวัดโพธิ์ ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกความทรงจำแห่งโลก มีจำนวนทั้งสิ้น 1,440 ชิ้น อาทิ หมวดประวัติศาสตร์ ได้แก่ จารึกรัชกาลที่ 1 เรื่องสร้างวัดพระเชตุพนฯ และเรื่องพระธาตุนครน่าน รายการปฎิสังขรณ์วัดพระเชตุพนฯถอดจากโครงดั้น รายการแบ่งด้านปฏิสังขรณ์ถอดจากโครง หมวดพระพุทธศาสนา ได้แก่ จารึกเรื่อง พระสาวกเอกทัคคะ จารึกเรื่องอุบาสกเอกทัคคะ จารึกเรื่องอุบาสิกาเอกทัคคะ จารึกเรื่องอศุภ 10 และญาณ 10 จารึกเรื่องฎีกาพาหุง จารึกเรื่องพระพุทธบาท จารึกเรื่องธุดงค์ 13 จารึกเรื่องชาดก ตอนนิทานกถา จารึกเรื่องมหาวงศ์ จารึกเรื่องนิรยกถา จารึกเรื่องเปรตก หมวดวรรณคดี อาทิ จารึกเรื่องนารายณ์ 10 ปาง และเรื่องเบื้องต้นรามเกียรติ์ จารึกเรื่องสิบสองเหลี่ยม หมวดทำเนียบ ได้แก่ ทำเนียบสมณศักดิ์ ทำเนียบหัวเมืองขึ้นกรุงสยาม และหมวดประเพณี ได้แก่ จารึกเรื่องเมืองมอญกวนข้าวทิพย์ จารึกเรื่องมหาสงกรานต์ จารึกริ้วกระบวนแห่กฐินพยุหยาตราทางสถลมารค อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยแผนงานความทรงจำแห่งโลกจะแถลงข่าวเรื่องนี้วันที่ 16 มิ.ย.นี้ เวลา 14.00 น. ณ ศาลาธรรมปัญญาบดี ที่วัดโพธิ์

ประวัติความเป็นมา "ฤาษีดัดตน "
ฤาษี หรือฤษี   ความหมายตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 หมายถึง นักบวชพวกหนึ่ง มีมาก่อนพุทธกาล สละบ้านเรือนออกไปบำเพ็ญพรตแสวงหาความสงบ
ปรากฏหลักฐานครั้งแรกในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ใน พ.ศ.2331 เมื่อทรงปฏิสังขรณ์วัดโพธาราม (ปัจจุบัน คือ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร หรือวัดโพธิ์ ) และข้อมูลของโรงเรียนแพทย์แผนโบราณวัดพระเชตุพน ระบุว่า มีเขาฤาษีดัดตน ซึ่งก็คือ สวนสุขภาพแห่งหนึ่ง อยู่ใกล้พระวิหารทิศใต้ เป็นพระราชประสงค์ของรัชกาลที่ 1 ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รวบรวมการแพทย์แผนโบราณและศิลปะวิทยาการครั้งกรุงศรีอยุธยาไว้ ทรงพระราชดำรินำเอาท่าดัดตนอันเป็นการพักผ่อนอิริยาบถแก้เมื่อยตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย และประยุกต์กับคติไทยที่ยกย่องฤษีเป็นครูผู้ประสิทธิ์ประสาทวิทยาการต่างๆ เป็นรูปฤาษีดัดตน แสดงท่าไว้ที่วัดเพื่อให้ราษฎรทั่วไปได้ศึกษาเล่าเรียนและรักษาโรคได้อย่างกว้างขวาง สมัยแรกสร้างนั้นปั้นด้วยดิน ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 3 ในปี พ.ศ.2379 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิสังขรณ์ใหม่ทั้งวัด และโปรดเกล้าฯให้กรมหมื่นณรงค์หริรักษ์ (พระราชโอรสในรัชกาล ที่ 1 พระนามเดิม พระองค์เจ้าดวงจักร) เป็นแม่กอง กำกับช่าง หล่อรูปฤาษีแสดงท่าดัดตน ด้วยสังกะสีผสมดีบุก (เรียกว่า ชิน) จำนวน 80 ท่า เสร็จแล้วโปรดเกล้าฯ ให้พระราชวงศ์เสนาอำมาตย์ และนักปราชญ์ราชบัณฑิต ร่วมกันแต่งโคลงประกอบรูปฤาษีดัดตน โดยพระองค์เองก็ทรงพระราชนิพนธ์ด้วย และจารึกโคลงเหล่านั้นลงบนแผ่นศาลาติดไว้ตามผนังศาลารายรอบวัด (ก่องแก้ว วีระประจักษ์ สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร)

ที่มา https://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=1454&sub_id=11&ref_main_id=3

อัพเดทล่าสุด