MUGA scan


1,043 ผู้ชม


MUGA scan ย่อมาจาก Multiple Gated Acquisition scan เป็นเทคนิกการสแกนหัวใจชนิดใหม่ที่ใช้ตรวจสมรรถภาพของหัวใจ โดยแสดงภาพเคลื่อนไหวของห้องหัวใจ         MUGA scan ย่อมาจาก Multiple Gated Acquisition scan เป็นเทคนิกการสแกนหัวใจชนิดใหม่ที่ใช้ตรวจสมรรถภาพของหัวใจ โดยแสดงภาพเคลื่อนไหวของห้องหัวใจ 

ทั้งความแรงและจังหวะการเต้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งหัวใจห้องล่างซ้ายและขวา จากการประมวลและแสดงผลที่มีประสทธิภาพดังกล่าว ช่วยให้แพทย์สามารถประเมินสมรรถภาพการทำงานของหัวใจได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังพบว่าการตรวจด้วยเครื่อง MUGA scan มีความแม่นยำ และถูกต้องสูงกว่าการตรวจด้วยคลื่นสะท้อนหัวใจ หรือที่เรียกว่า echocardiogram

หลักการทำงานของเครื่องสแกนชนิดที่เรียกว่า MUGA scan มีดังต่อไปนี้ กล่าวคือ เริ่มด้วยการฉีดเม็ดเลือดแดงชนิดเรืองแสง เข้าไปในกระแสเลือดของผู้ป่วยที่เข้ารับการตรวจ โดยวิธีนำเม็ดเลือดแดงมาทำให้เรืองแสงด้วยการใช้สารกัมมันตรังสีชนิด Technetium 99 ซึ่งเป็นสารที่เรืองแสงได้ ทั้งนี้ Technetium 99 เป็นสารกัมมันตรังสีที่นำมาใช้ทางการแพทย์ อย่างปลอดภัย และไม่มีอันตรายแต่อย่างใด

จากนั้นนำผู้ป่วยเข้ารับการตรวจในห้องสแกนด้วยกล้องชนิดแกมมา ซึ่งเป็นกล้องที่ออกแบบพิเศษ เพื่อใช้สแกนตรวจจับรังสีจากเม็ดเลือดแดงที่ติดฉลากสารกัมมันตรังสี Technetium 99 ความไวของกล้องชนิดแกมมา ทำให้สามารถตรวจจับรังสีได้แม้มีปริมาณเพียงเล็กน้อย จึงทำให้การตรวจชนิดนี้มีความไวมากเป็นพิเศษ ปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับก็ไม่เป็นอันตรายแต่อย่างใด ข้อมูลทางด้านรังสีเทคนิก เปรียบเทียบเท่ากับการได้รับรังสี จากการตรวจเอ็กซเรย์ปอดปกติหนึ่งครั้งเท่านั้น ซึ่งถือว่าน้อยมาก

image

ต่อไปเม็ดเลือดแดงที่ติดฉลากไว้ด้วยสาร Technetium 99 เมื่อถูกฉีดเข้าไปในร่างกาย ก็จะไหลเวียนในกระแสเลือดและเข้าไปอยู่ในห้องหัวใจทั้งสี่ห้อง ภาพที่ได้จากกล้องรังสีแกมมา เมื่อจัดตำแหน่งให้โฟกัสที่หัวใจ จึงบันทึกลักษณะของรูปร่างของห้องหัวใจทั้งสี่ห้อง ได้อย่างชัดเจนและแม่นยำ จากนั้นใช้เทคนิกทางด้านคอมพิวเตอร์ ในการสร้างภาพเคลื่อนไหว บันทึกภาพเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อบุผนังห้องหัวใจ จนในที่สุดปรากฎเป็นภาพการเคลื่อนไหว หรือภาพยนตร์แสดงความแรงและจังหวะเต้นของหัวใจ โดยเฉพาะหัวใจห้องล่างซ้าย (LV) และห้องล่างขวา (RV)

image

หัวใจ เป็นอวัยวะที่ประกอบไปด้วยกล้ามเนื้อที่แข็งแรง มีขนาดเท่ากำปั้น อยู่ในทรวงอกค่อนไปทางด้านซ้าย หัวใจมีหน้าที่สูบฉีดโลหิตให้ไหลเวียนไปตามหลอดเลือด โดยจะนำอ๊อกซิเจนและสารอาหารไปให้ส่วนต่างๆ ทั่วร่างกาย และรับเอาของเสียและคาร์บอนไดออกไซด์กลับมา ปกติหัวใจจะมีสี่ห้อง แบ่งเป็นสองซีก ได้แก่ ซีกซ้ายและซีกขวา หัวใจทั้งสองซีกไม่มีช่องติดต่อถึงกัน นอกจากในระยะทารกในครรภ์ หัวใจแต่ละซีกจะมีสองห้องเท่ากัน คือ ห้องบนและห้องล่าง ห้องบนและห้องล่างจะมีช่องติดต่อถึงกัน โดยมีลิ้นหัวใจคอยทำหน้าที่กำกับให้กระแสเลือดผ่านจากห้องบนสู่ห้องล่างได้ทิศทางเดียวเท่านั้น ย้อนกลับไม่ได้

หัวใจห้องบนขวารับเลือดดำ จากหลอดเลือดดำใหญ่ที่นำเลือดกลับจากอวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกาย รวมทั้งเลือดดำจากตัวหัวใจเองด้วย เลือดดำจากห้องบนขวาจะถูกส่งลงมาห้องล่างขวา และส่งต่อไปยังปอดทั้งสองข้าง เพื่อแลกเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่อยู่ในเลือดดำกับออกซิเจนจากอากาศที่หายใจเข้าไปสู่ปอด เลือดที่ผ่านปอดแล้วจะเป็นเลือดที่มีออกซิเจนสูง จึงมีสีแดงเรียกว่า เลือดแดง เลือดแดงจะไหลกลับสู่หัวใจทางห้องบนซ้าย ลงสู่ห้องล่างซ้ายและส่งต่อออกไปทางหลอดเลือดแดงใหญ่ ไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกาย

image

ภาพที่บันทึกจาก MUGA scan จึงบ่งบอกให้เห็นความสามารถในการสูบฉีดโลหิตของหัวใจ ซึ่งเป็นหน้าที่หลักและสำคัญที่สุดของระบบไหลเวียนโลหิต ในกรณีที่เกิดความผิดปกติ ไม่ว่าจากสาเหตุใดก็สามารถตรวจวัดได้ด้วยความแม่นยำและถูกต้อง ช่วยในการวินิจฉัยได้อย่างรวดเร็ว มากกว่าการตรวจด้วยคลื่นสะท้อนหัวใจ หรือที่เรียกว่า echocardiogram และที่สำคัญมีความแม่นยำสูงกว่าการตรวจด้วย echocardiogram มาก ซึ่งมีรายงานการศึกษาวิจัยยืนยันมากมายในระยะไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้

ปัจจุบันในต่างประเทศ มีการนำ MUGA scan มาประยุกต์ใช้ในการติดตามสมรรถภาพของหัวใจ ในกรณีผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด ซึ่งบางชนิดเป็นที่ทราบกันดีว่ามีผลข้างเคียงต่อการ ทำหน้าที่สูบฉีดโลหิตของหัวใจ ดังเช่น ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับยาอะเดรียมัยซิน (adriamycin) ซึ่งพบว่าผู้ป่วยจำนวนไม่น้อย ได้ผลดีจากฤทธิ์ฆ่าเซลล์มะเร็งของยาอะเดรียมัยซิน แต่ต้องมาเสียชีวิตในที่สุดจากผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นกับหัวใจ ทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว หลังจากที่แพทย์ได้นำเทคนิก MUGA scan มาใช้ติดตามการประเมินสมรรถภาพของหัวใจ ในกลุ่มผู้ป่วยดังกล่าว ปรากฎว่า ช่วยให้ผลการรักษาโรคมะเร็งดีขึ้นกว่าเมื่อก่อนหน้านี้มาก นับเป็นแนวทางในการรักษาที่ดูแลรักษาที่ได้รับความสนใจมากที่สุดอีกอย่างหนึ่งในปัจจุบัน
ที่มา https://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=687&sub_id=13&ref_main_id=3

อัพเดทล่าสุด