การปลูกถ่ายอวัยวะ


1,241 ผู้ชม


การปลูกถ่ายอวัยวะ (organ transplantation) อาจจะเป็นคำใหม่ที่ท่านจะเคยได้ยินครั้งนี้เป็นครั้งแรก แต่ในอนาคตคนไทยทุกคน หรือทั่วโลกจะต้องรู้จักกันมากยิ่งขึ้น เพราะวิวัฒนาการทางการแพทย์เพื่อเอาชนะโรคภัยไข้เจ็บที่เกิดขึ้นกับอวัยวะต่างๆ ในร่างกายคนเรา          การปลูกถ่ายอวัยวะ (organ transplantation) อาจจะเป็นคำใหม่ที่ท่านจะเคยได้ยินครั้งนี้เป็นครั้งแรก แต่ในอนาคตคนไทยทุกคน หรือทั่วโลกจะต้องรู้จักกันมากยิ่งขึ้น เพราะวิวัฒนาการทางการแพทย์เพื่อเอาชนะโรคภัยไข้เจ็บที่เกิดขึ้นกับอวัยวะต่างๆ ในร่างกายคนเรา 

 มีการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง อวัยวะที่เป็นโรค และสูญเสียหน้าที่การทำงานไปจนเกือบหมด ย่อมทำให้ร่างกายของคนนั้นๆ มีชีวิตต่อไปไม่ได้ ถ้าหากเป็นอวัยวะสำคัญๆ เช่น ตับ ไต หัวใจ ปอด เป็นต้น โรคบางโรคไม่สามารถทำให้หาย หรือแม้แต่ดีขึ้นได้ด้วยยา หรือผ่าตัด ดังนั้นทางออกสุดท้ายคือ การเอาอวัยวะนั้นๆ ที่ยังดีอยู่จากผู้ที่เสียชีวิตจากอุบัติเหตุมาเปลี่ยนให้ ที่เรียกว่า การปลูกถ่ายอวัยวะ ซึ่งเปรียบเสมือนการเปลี่ยนอะไหล่รถยนต์นั่นเอง

แต่การปลูกถ่ายอวัยวะนั้น ไม่ได้ง่ายเหมือนการเปลี่ยนอะไหล่รถยนต์ เพราะร่างกายคนเราจะมีปฏิกิริยาตอบสนอง ไม่ยอมรับอวัยวะใหม่เสมอ คนไข้ทุกรายที่รับการปลูกถ่ายอวัยวะจะต้องใช้ยาลดปฏิกิริยาสลัดทิ้งของร่างกาย ที่มีต่ออวัยวะใหม่ซึ่งในปัจจุบันนี้ ยาเหล่านี้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้การปลูกถ่ายอวัยวะประสบความสำเร็จเป็นจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ตลอดจนในปัจจุบันการขออวัยวะกับญาติผู้เสียชีวิตมีการยอมรับกันมากขึ้น การใช้น้ำยาถนอมอวัยวะในระหว่างการขนส่งที่รวดเร็วขึ้น จากการติดต่อสื่อสารที่ทันสมัย

ผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะกลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จนบางคนสามารถเล่นกีฬาได้เหมือนคนปกติ บางคนวิ่งแข่ง 100 เมตร ได้ด้วยความเร็ว 11.6 วินาทีก็เคยมีมาแล้ว ความสามารถของแพทย์ไทยเกี่ยวกับการปลูกถ่ายอวัยวะมีมากขึ้นเรื่อยๆ จนปัจจุบันเทียบได้กับมาตรฐานสากลทั่วโลก ในปัจจุบันแทบทุกสถาบันที่เป็นโรงเรียนแพทย์ โรงพยาบาลทั้งของรัฐบาล และเอกชนบางแห่ง ต่างประสบความสำเร็จในการผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะแทบทั้งสิ้น

การปลูกถ่ายอวัยวะในอดีต

การปลูกถ่ายอวัยวะในอดีต มีปัญหาสำคัญมากสองประการ คือ

  1. ปัญหาการผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะ
  2. ปัญหาการที่ผู้ได้รับอวัยวะต่อต้านอวัยวะที่ให้เข้าไปใหม่

ปัญหาการผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะ

  1. ส่วนใหญ่จำเป็นต้องทำการผ่าตัดเอาอวัยวะที่เสียออกไป แล้วนำเอาอวัยวะที่ดีใส่เข้ามาแทนที่ การผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะนี้เป็นการผ่าตัดใหญ่ กระทำได้ยาก และจำเป็นต้องกระทำโดยศัลยแพทย์ที่มีความชำนาญสูง
  2. อวัยวะที่จะนำไปปลูกถ่ายนี้ อาจได้จากผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ถ้าอวัยวะนั้นมีมากกว่า หนึ่งข้าง เช่น ไต แต่อวัยวะใหม่ส่วนใหญ่นี้ มักได้จากผู้ที่เพิ่งเสียชีวิต หรือผู้ป่วยที่สมองตาย การผ่าตัดนี้ต้องทำอย่างรวดเร็ว เนื่องจากไม่สามารถจะเก็บรักษาอวัยวะที่ได้มานี้ไว้นอกร่างกายได้นาน
  3. นอกจากนี้มีผู้ป่วยที่รอการปลูกถ่ายอวัยวะ มากกว่าจำนวนอวัยวะที่จะนำมาปลูกถ่าย ทำให้ผู้ป่วยแต่ละรายต้องรอรับการรักษาเป็นเวลานาน ผู้ป่วยจำนวนมากต้องเสียชีวิตก่อนได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ
  4. ในปัจจุบันมีความก้าวหน้าในการผ่าตัด และในการเก็บรักษาอวัยวะได้นานขึ้น ทำให้การผ่าตัดทำได้สะดวกขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถนำเอาอวัยวะแต่ละส่วน จากผู้บริจาคอวัยวะที่เสียชีวิตหนึ่งราย ไปให้ผู้ป่วยที่รอรับการปลูกถ่ายอวัยวะหลายรายได้

ปัญหาการที่ผู้ได้รับอวัยวะต่อต้านอวัยวะที่ให้เข้าไปใหม่

  1. ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายมนุษย์ทำหน้าที่ป้องกันร่างกายจากสิ่งแปลกปลอมต่างๆ โดยเฉพาะต่อเชื้อจุลชีพต่างๆ เช่น เชื้อแบคทีเรีย และเชื้อไวรัส รวมทั้งเซลล์แปลกปลอมอื่นๆ ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายนั้นจะไม่ถือว่าอวัยวะของตนเองเป็นสิ่งแปลกปลอม แต่ถือว่าอวัยวะใหม่ที่ได้มาจากผู้อื่นนี้เป็นสิ่งแปลกปลอม จึงทำการต่อต้าน และไม่ยอมรับอวัยวะนี้ ทำให้เกิดการทำลาย และการอักเสบของอวัยวะใหม่ จนไม่สามารถทำงานได้เกิดอันตรายต่อตัวผู้ได้รับอวัยวะเองด้วย (graft rejection)
  2. อาจมีเซลล์ของระบบภูมิคุ้มกันของผู้ให้อวัยวะใหม่ที่ใส่เข้าไป อาจจะถือว่าอวัยวะของร่างกายผู้รับเป็นสิ่งแปลกปลอมเช่นกัน และทำให้เกิดการพยาธิสภาพต่ออวัยวะต่างๆ ของผู้รับ (graft versus host disease)
    การเข้ากันไม่ได้ระหว่างผู้รับอวัยวะกับอวัยวะใหม่ เกิดเนื่องจากการที่ผู้ได้รับอวัยวะมีสารโปรตีนบนผิวเซลล์ที่เรียกว่าแอนติเจน เอช แอล เอ (HLA antigen) แตกต่างจากผู้ให้อวัยวะแอนติเจนนี้เป็นลักษณะจำเพาะของคนแต่ละคน และแตกต่างจากคนอื่น
     
  3. ถ้ามีความแตกต่างของแอนติเจนนี้มากก็จะเกิดการต่อต้านมาก ถ้าผู้ให้ และผู้รับอวัยวะมีแอนติเจนนี้คล้ายคลึงกันก็จะมีการต่อต้านน้อย การต่อต้านอวัยวะใหม่นี้เป็นปัญหาสำคัญที่สุด ที่ทำให้การปลูกถ่ายอวัยวะไม่ได้ผล
  4. เพื่อให้สามารถปลูกถ่ายอวัยวะได้ผลดีที่สุด จึงจำเป็นต้องตรวจก่อนทำการปลูกถ่ายอวัยวะ ว่าผู้ให้ และผู้รับมีความเข้ากันได้ คือ มีแอนติเจน เอช แอล เอ เหมือนกัน อย่างไรก็ตามมีโอกาสน้อยมากที่ผู้ให้ และผู้รับจะมีแอนติเจน เอช แอล เอ เหมือนกันทุกประการ จึงจำเป็นต้องเลือกผู้ที่มีแอนติเจนคล้ายคลึงกันมากที่สุด

ปัญหาการขาดแคลนอวัยวะ

  1. ปัจจุบันเป็นยุคข้อมูลข่าวสาร การสื่อสารในเรื่องต่างๆ กระทำได้อย่างรวดเร็วทั้งในและต่างประเทศ ทำให้ได้ทราบข่าวความ สำเร็จอย่างสูงของศัลยกรรมปลูกถ่ายอวัยวะ ซึ่งไม่เพียงแต่ทำให้ชีวิต ยืนยาวขึ้นเท่านั้นแต่ยังมีคุณภาพชีวิตที่ดีด้วย บุคคลย่อมมีสิทธิที่จะ ได้รับการรักษาพยาบาลเท่าเทียวกันทุกคนไม่ว่าคนรวย
  2. คนจนต่างก็อยากมีชีวิตอยู่ด้วยกันทั้งนั้น ปัญหาใหญ่คือ อวัยวะที่จะนำมาปลูกถ่ายมีจำกัด ไม่สามารถสร้างหรือผลิตขึ้นเองเหมือนอะไหล่รถยนต์ ต้องได้จากการบริจาคของผู้ที่มีชีวิต หรือผู้เสียชีวิตแล้วเท่านั้น
  3. การให้การศึกษาประชาสัมพันธ์ต่อสาธารณชน และบุคลากรทางการแพทย์ ผ่านสื่อมวลชน องค์กรศาสนา กลุ่มวิชาชีพ งานกุศล แม่บ้าน ให้ทราบถึงความสำเร็จ ของการปลูกถ่ายอวัยวะ ภาวะการขาดแคลนอวัยวะ รวมทั้งผลเสียของการขาดแคลนอวัยวะ การปฏิเสธที่จะให้อวัยวะของญาติผู้เสียชีวิตจะทำให้มีผลกระทบหลายประการ
  4. อวัยวะของผู้เสียชีวิตย่อมเสื่อมสลายไปในไม่ช้า ยังประโยชน์อื่นใดไม่ได้เลย ถ้านำไปปลูกถ่ายอวัยวะให้ผู้อื่นจะช่วยเพื่อนร่วมโลกให้มีชีวิตอยู่อีก 5-6 คน รวมทั้ง 2 คน ที่จะมองเห็นเมื่อเปลี่ยนดวงตา คือ จะได้บุญกุศลอย่างยิ่ง แม้จะนำมาใช้ชาตินี้ไม่ได้ ก็คงได้รับผลบุญในชาติหน้า
  5. ญาติผู้เสียชีวิตขาดโอกาสที่จะได้ร่วมทำกุศล และยินดีที่อวัยวะหลายอย่าง ยังคงสภาพเดิมอยู่แม้จะอยู่กับผู้อื่น ซึ่งยังคงเป็นประโยชน์ต่อสังคม ไม่เช่นนั้นผู้ป่วยที่รอรับอวัยวะเหล่านี้ ก็จะเสียชีวิตไปอย่างน่าเสียดาย นับว่าเป็นการให้ทานรองจากปรมัตถ์ทาน
  6. บัตรประจำตัวผู้แสดงความจำนงบริจาคอวัยวะ บัตรนี้เป็นสื่อ และกระจายความรู้เรื่อง การบริจาคอวัยวะจากบุคคลไปยังครอบครัวโดยเน้นให้แจ้งวัตถุประสงค์ที่จะบริจาคแก่ญาติไว้ สำหรับประเทศเราอีกแนวทางหนึ่งที่จะให้มีผู้แสดงความจำนงบริจาคอวัยวะมากขึ้นคือ ให้ใช้ด้านหลังของบัตรประชาชน สำหรับผู้ที่ต้องการบริจาคอวัยวะได้กรอกข้อความ ซึ่งปกติประชาชนจะพกบัตรนี้ติดตัวอยู่เสมอ
  7. การสร้างแรงจูงใจให้แก่ญาติด้วยสิ่งตอบแทนต่างๆ ในรูปแบบเป็นเงิน เช่น จ่ายเงินประกันชีวิต ค่าเล่าเรียน บุตร ผ่อนบ้าน ค่าทำศพหรืออาจในรูปแบบไม่ใช่เงิน เช่น สัญญาจะเลื่อนตำแหน่ง ย้ายมาอยู่ที่ดีขึ้น การชดเชยนี้มีข้อเสียคือ อาจทำลายระบบคุณธรรม ศีลธรรมแก่ผู้นิยมทำประโยชน์ให้แก่ผู้อื่นโดยไม่หวังผลตอบแทน ทำให้การกระจาย ของอวัยวะไม่เสมอภาคคือ จะไปสู่คนมั่งมีหรือนำไปสู่การบังคับขู่เข็ญรุนแรงการแสวงหา ผลประโยชน์ส่วนตัว

มุมมองในแง่การออกกฎหมาย

  1. ควรบังคับให้แพทย์หรือพยาบาลโดยเฉพาะในไอ ซี ยู ขอบริจาคอวัยวะแก่ญาติของผู้เสียชีวิต เพื่อนำเอาอวัยวะมาใช้ปลูกถ่ายทุกครั้ง ถ้าไม่ขอมีความผิด
  2. ออกกฎหมายให้ถือว่าทุกคนยินยอมให้อวัยวะไว้เมื่อสิ้นชีวิต ยกเว้น บุคคลได้แจ้งไว้ก่อนว่าไม่ยินยอม เช่น ประเทศเบลเยี่ยม ทำให้ได้อวัยวะเพิ่ม โดยเฉพาะไตมากขึ้นถึง 2 เท่า

การซื้อขายอวัยวะ

การซื้อขายอวัยวะมีปัญหาทางศีลธรรมมากเป็นอันตรายก่อให้เกิดคอรัปชั่น และอาชญากรรรมขึ้นได้ อวัยวะจะเป็นเหมือนสินค้าขาดแคลนที่หายาก เมื่อ 200 ปีก่อน มีการฆาตกรรมเพื่อนำร่างกายมาแลกกับเงินเพื่อจะได้นำร่างกายไปศึกษากายวิภาค คนรวยจ่ายเงินเพื่อซื้ออวัยวะ คนจนทำให้ช่องว่างในสังคมยิ่งห่าง ตลาดการขายอวัยวะจะรุนแรง จนอาจถึงขายชีวิต เพื่อแลกกับความเป็นอยู่ทางการเงินที่ดีขึ้นของครอบครัว ปัจจุบันเป็นการผิดกฎหมาย
ที่มา https://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=584&sub_id=13&ref_main_id=3

อัพเดทล่าสุด