โรคเด็กพื้นฐาน..รักษาด้วยสมุนไพร


744 ผู้ชม


หลากหลายโรคที่ลูกน้อยมักเป็น เช่น หวัด เจ็บคอ เป็นไข้ ไอ ท้องเสีย ฯลฯ ล้วนรักษาได้ด้วยสมุนไพร...ภูมิปัญญาไทยที่มีอยู่ในครัว          หลากหลายโรคที่ลูกน้อยมักเป็น เช่น หวัด เจ็บคอ เป็นไข้ ไอ ท้องเสีย ฯลฯ ล้วนรักษาได้ด้วยสมุนไพร...ภูมิปัญญาไทยที่มีอยู่ในครัว 
สมุนไพรไทยที่มีมากมายในประเทศอันอุดมของเรา ได้เคยถูกโจรกรรมโดยประเทศมหาอำนาจทางการค้ามาแล้วนับครั้งไม่ถ้วน โดยอ้างในนามของข้อตกลงทางการค้าและสมาชิกอนุสัญญาที่มีหลักการสวยหรู สมุนไพรเหล่านั้นถูกนำไปวิจัย สังเคราะห์ด้วยกรรมวิธีทางเคมีต่างๆ และผลิตเป็นยาแผนปัจจุบันส่งกลับมาขายให้ประเทศที่มันเคยหยั่งรากลง น่าเสียดายนะคะ...บางทีเราอาจจะทำอะไรได้มากกว่าพูดคำว่า "เสียดาย" ถ้าจะลองค้นหาคุณค่าจากการรักษาโรคด้วยสมุนไพร ด้วยวิธีการที่ตกทอดกันมา อาศัยการประยุกต์เพื่อให้เข้ากับยุคสมัยและสิ่งแวดล้อมอีกเล็กน้อย มาเริ่มจากอาการเบื้องต้นง่ายๆ ที่เกิดกับลูกก็ได้ค่ะ ซึ่งเจ้าหน้าที่จากอายุรแพทย์แผนไทย อ.สุภาวดี ดอนเมือง ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชกรรม และ อ.สิริกานต์ ตูโปร่ง แพทย์แผนไทยด้านเภสัชกรรม มีคำแนะสำหรับพ่อแม่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับลูกเล็กที่บ้านได้ค่ะ แพทย์แผนไทยที่นำมารักษาโรคเด็กมีอะไรบ้าง ที่นี่เราเปิดรักษาโรคทั่วไปสำหรับผู้ใหญ่ก่อน ก็เน้นการรักษาด้วยยาสมุนไพร แต่ตอนนี้เราเปิดคลินิกกวาดยาเด็กขึ้นด้วย บริการตั้งแต่ 16.00-18.00 น. ในวันธรรมดา จันทร์-ศุกร์ ซึ่งเริ่มมาได้ 3 ปีแล้ว ก็เริ่มมีเด็กมาเข้ารับการรักษามากขึ้น กรรมวิธีตรวจรักษาโรค มีขั้นตอนเหมือนแพทย์แผนปัจจุบันค่ะ คือเริ่มด้วยการตรวจวินิจฉัยโรค ซักประวัติ ว่าเด็กจะเข้าข่ายในกลุ่มที่เราต้องกวาดยาหรือไม่ ซึ่งมีทั้ง หมด 18 กลุ่มอาการ กลุ่มอาการที่ใช้การกวาดคอมากที่สุดคือ หวัดธรรมดา ตามมาด้วยอาการไอ เจ็บคอ ลิ้นเป็นฝ้าเบื่ออาหาร เป็นไข้ไม่ทราบสาเหตุ ปวดท้อง เบื่ออาหาร ต่อมทอลซิลอักเสบ ปวดท้อง ร้อนใน ที่พบพอๆ กัน ก็มีพวกหอบหืด ปอดบวม ลิ้นเป็นแผล ท้องผูก ไข้หวัดใหญ่ หรือกวาดคอเพื่อป้องกันโรค นอกจากกวาดยาแล้ว ถ้าเด็กมีไข้ เราก็จะให้ยาลดไข้ด้วย ซึ่งเป็นยาสมุนไพรที่ต้องนำไปชงละลายน้ำให้เด็กดื่ม เราจะมีตำรับยาที่ใช้กับเด็กโดยเฉพาะอยู่แล้ว ซึ่งรวมอยู่ในตำรับยา 28 ชนิด ที่ทางกระทรวงสาธารณสุขประกาศให้ใช้อย่างเป็นทางการ ทั้งที่เป็นสมุนไพรเดี่ยวและสมุนไพรที่เป็นตำรับ ทำไมต้องใช้วิธีกวาดยารักษา ที่ต้องกวาดยาเพราะเด็กไม่สามารถกินยาต้มหรือยาหม้ออย่างผู้ใหญ่ได้ เพราะสมุนไพรไทยจะรสขมมาก รวมทั้งมีกลิ่นฉุน ดังนั้นจึงต้องกวาดยา หรือในกรณีที่เด็กมีเสลดมาก หรือมีอาการไอมากๆ หายใจไม่ออก การกวาดยาจะเป็นการช่วยเคลียร์ทางเดินหายใจให้กับเขา เพราะตัวยาบางอย่างที่เป็นส่วนผสมของยากวาดจะมีฤทธิ์ในการกัดเสมหะ เช่น มะนาว นอกจากนั้น บางทีพอกวาดยาเสร็จเด็กก็จะอาเจียนออกมา ซึ่งทำให้น้ำลายหรือเสมหะไหลออกมา แทนที่จะไหลย้อนลงคอไปทำให้เด็กสำลักได้ พอดีตัวเองก็มีลูกอ่อน อายุ 9 เดือน ก็ได้ใช้ยากวาดตัวนี้กับลูกด้วย เมื่อลูกเริ่มไอแบบมีเสมหะก็เริ่มกวาดยาให้เขา โดยเอาตัวยาไปจากที่นี่ (ปัจจุบันยังไม่มีขายตามท้องตลาด) ผสมยากับน้ำมะนาวประมาณครึ่งซีกและเกลือเล็กน้อย กวาดยาที่ผสมแล้วให้ลูกทั้งเช้าและเย็น อาการของเขาก็ดีขึ้น ถ้าอาการรุนแรงกว่านั้น ถ้าอาการของเด็กรุนแรงเกินความสามารถของเรา เช่น เด็กตาแฉะมาก หรือเป็นตุ่มเห่อไปทั้งตัว หรือพวกกลุ่มติดเชื้อร้ายแรง เราจะส่งต่อให้แพทย์ที่ทำการรักษาโรคนั้นเฉพาะทางต่อไปในการรักษานั้น เราก็จะบันทึกผลการรักษาและติดตามผลตลอด เช่น ลิ้นเป็นฝ้าหรือเชื้อราในปากลดลงหรือไม่ เด็กสามารถดูดนมได้มากขึ้นหรือยัง ถ้าเด็กอาการไม่ดีขึ้นหรือเป็นฝ้ามากขึ้น เราก็ต้องเพิ่มปริมาณยา หรือดูองค์ประกอบอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น แม่บางคนไม่ทำความสะอาดลิ้นให้ลูกหลังให้นม ทำให้เกิดเป็นฝ้าขึ้นมา และไม่สบายต่อเนื่องกันไปเราก็จะแนะนำให้เขาทำความสะอาดลิ้นให้ลูกควบคู่กันไป จะหวังพึ่งหมออย่างเดียวก็ไม่ได้ การกวาดยายังเป็นเรื่องของทักษะด้วย คือเราจะรู้ว่าเด็กเป็นอะไรแค่ไหนจากการสัมผัส เช่น คอเด็กร้อนแค่ไหน ลิ้นเด็กเป็นปุ่มหรือเพดานเด็กเป็นฝ้าแค่ไหน นอกจากนั้น เรายังเรียนด้านกุมารเวชและวิชาผดุงครรภ์มาด้วย จึงได้ใช้ควบคู่กันไป ไม่ใช่จะกวาดคอเด็กอย่างเดียว ความรู้อื่นๆ เช่นการให้วัคซีนเด็ก การเลี้ยงดู และการให้นมเด็ก เราก็จะแนะนำควบคู่กันไป หลักการของการกวาดยา ก็คือหลักการธรรมชาติ นอกจากว่าจะเป็นการติดเชื้อมากๆ เช่น ติดเชื้อแบคทีเรีย เราก็จะใช้ยาปฏิชีวนะช่วย ก็ต้องแนะนำให้ไปหาหมอแผนปัจจุบันต่อไป ไม่ใช่เด็กเป็นอะไรมาก็จะกวาดคอหมด ต้องมีการคัดครองก่อนว่าเป็นโรคที่กวาดยาได้ไหม ไม่ใช่เป็นการกวาดครอบจักรวาล หากพ่อแม่จะประยุกต์ใช้สมุนไพรเองที่บ้าน จะทำได้หรือไม่ สมุนไพรที่เราใช้อยู่ในปัจจุบัน มีทั้งสมุนไพรเดี่ยวและสมุนไพรตำรับ ซึ่งสมุนไพรตำรับจะเป็นส่วนผสมของสมุนไพรตั้งแต่ 2-3 ตัว หรือ 5-10 ตัว ขึ้นไป อย่างตัวยาในการกวาดคอก็เป็นยาตำรับ ปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขก็ได้มีประกาศใช้ยาตำรับ 28 ชนิด ซึ่งผ่านการวิจัยอย่างเป็นระบบแล้ว สามารถใช้เป็นยาสามัญประจำบ้านได้ ในกลุ่มยาเหล่านี้ ก็จะมียาที่ใช้สำหรับเด็กอยู่ด้วย เช่น เด็กลิ้นเป็นฝ้า เป็นแผลในปาก เจ็บคอ เป็นตาลซาง ว่าต้องใช้ในเด็กเท่าไหร่ ในส่วนของการประยุกต์ใช้สมุนไพรในเด็กสำหรับพ่อแม่ น่าจะเป็นสมุนไพรเดี่ยว เพราะการใช้สมุนไพรเดี่ยวจะหาได้ง่าย เพียงแต่ต้องหยิบใช้ให้ถูกเท่านั้น นอกจากนี้การใช้ยาสมุนไพรยังทำให้ได้ใกล้ชิดกับเด็กด้วย ซึ่งบางทีโรคพื้นๆ อย่างเป็นหวัด เป็นไข้ หรือท้องอืดท้องเฟ้อ เราก็สามารถรักษาด้วสมุนไพรได้ โดยไม่ต้องไปเข้าคิวรอรักษาจากแพทย์แผนปัจจุบันอย่างเดียว อย่างลูกสาวอายุ 9 เดือน เขาเคยปวดท้อง ดูแล้วเขามีอาการท้องอืด ก็ได้ใช้สมุนไพรเดี่ยวรักษามาแล้ว โดยใช้กะเพราในตู้เย็นมาประมาณ 10 ใบ หรือประมาณกำมือหนึ่ง ล้างให้สะอาด แล้วชงในน้ำร้อนนำไปป้อนให้เขา ก็ช่วยลดอาการท้องอืดท้องเฟ้อได้ ไม่แนะนำให้ต้ม เพราะกรรมวิธีการต้ม อาจทำให้น้ำมันหอมระเหยบางอย่างซึ่งมีฤทธิ์ขับลมระเหยออกไปได้ อาการปวดท้อง ท้องอืดท้องเฟ้อ อาจบรรเทาด้วยมหาหิงค์ก็ได้ ซึ่งแนะนำให้ใช้มหาหิงค์น้ำที่จะมีขายตามร้านขายยาแผนไทยทั่วไป โดยใช้ประมาณ 1 หยด ผสมในนมให้เด็กดื่ม หรือถ้าเด็กหายใจไม่ออกก็อาจให้เด็กดมก็ได้ อย่างคนโบราณที่เขาไม่มีมหาหิงค์แบบน้ำ เขาก็จะใช้ผ้าห่อก้อนมหาหิงค์ แล้วผูกกับข้อมือเด็ก เด็กตัวเล็กๆ บางทีเขาก็ใช้มือป้ายหน้าป้ายตา ก็จะได้ดมน้ำมันหอมระเหยของมหาหิงค์ไปด้วย ซึ่งยาพวกนี้จะช่วยขับลมได้ดี ในกลุ่มของอาการหวัด อาจใช้หอมแดงที่ใช้ตำพริกแกง ใช้ประมาณ 4-5 หัว ทุบละเอียดใส่ถ้วย วางไว้ที่หัวนอนของลูก เคยใช้ก็รู้สึกว่าลูกจะดีขึ้น คิดเปรียบเทียบว่าถ้าเราไม่มีน้ำยาหอมระเหยที่วางขายตามท้องตลาด พวกน้ำมันยูคาลิปต่างๆ เราก็ใช้สมุนไพรตัวนี้แทนได้ และส่วนใหญ่ก็จะมีทุกครัวเรือน ส่วนใหญ่หลักการของแพทย์แผนไทย และการใช้ยาสมุนไพร จะเป็นขั้นตอนการรักษาที่ใกล้ชิดมาก ซึ่งทำให้สังเกตอาการได้ เช่น การเช็ดตัวให้ไข้ลดเพื่อป้องกันอาการชัก เพราะใช้ยาบางทีก็ไม่ทัน ต้องคอยเฝ้าตลอด เปลี่ยนน้ำเช็ดตัวอยู่ตลอด ความร้อนจะมีผลต่อร่างกายเด็กอย่างมาก ถ้าปากเขาแห้ง ก็ต้องให้ลูกดื่มน้ำมากๆ และเช็ดตัวอยู่เสมอ มีข้อควรระวังอะไรบ้าง จากการใช้ยาสมุนไพร ถ้าเป็นขั้นตอนของการกวาดยา บุคลากรที่ทำการกวาดยาก็ต้องระวังอย่างมาก เกี่ยวกับความสะอาด เราก็ต้องล้างมือทุกขั้นตอน เล็บต้องตัดสั้น หรือไม่มีแผลบริเวณนิ้ว ส่วนการให้ยาตำรับ ก็จะมีระยะเวลาอย่างน้อย 5-7 วัน ถ้าไม่หายเราก็ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ แสดงว่าเด็กต้องมีปัญหามากกว่านั้น หรือการใช้สมุนไพรเดี่ยวก็ต้องมีความแม่นยำ เช่น ระบุว่าต้องใช้ราก แต่ไปหยิบใบมาใช้ มันก็ไม่ได้ผล นอกจากนั้นสิ่งแวดล้อมและการปฏิบัติดูแลของพ่อแม่ก็มีความสำคัญมาก เช่น เน้นให้ลมเข้าใต้เท้าเด็ก แต่ไปเปิดพัดลมไว้ตรงหัวนอน มันก็จะไม่ได้ผล มันมีหลายปัจจัยนะคะ หรือการใช้สมุนไพรประเภทเดียวกันนั้น เพียงแค่ใช้ผิดขนาดหรือผิดประเภท ผลการรักษาก็จะต่างกันไป อย่างที่คนโบราณเขาจะบอกว่ารู้ปิดรู้เปิด เวลาเด็กท้องเสีย ก็ต้องดูว่าเด็กอาการเป็นอย่างไร ถ้าท้องเสียธรรมดา ไม่มีมูกเหม็น ก็ให้เอาผลฝรั่งดิบ ฝนน้ำให้เด็กดื่ม เป็นสมุนไพรปิด คือให้เด็กหยุดท้องเสียไปเลย เพราะใยฝรั่งดิบจะมีสารแทนนินสูง แต่ถ้าเด็กถ่ายมีกลิ่นเหม็นมาก มีมูก ก็ต้องให้ฝรั่งสุกซึ่งมีฤทธิ์เป็นยาระบาย ขับพิษออกให้หมด ก่อนจะใช้สมุนไพรปิดอีกครั้ง แต่การใช้สมุนไพรบางครั้งก็ต้องพิจารณาให้ดี ว่าเด็กสมควรที่จะใช้ไหม ใช้แล้วเด็กจะหายช้าหรือเร็วเราก็ต้องเปรียบเทียบอีก เช่น ใช้ยาปฏิชีวนะแล้วหายเร็ว ใช้สมุนไพรก็หายเหมือนกันแต่ช้ากว่า ก็ต้องพิจารณากันให้ดีค่ะ อย่างไรก็ตาม การจะประยุกต์ใช้สมุนไพรต้องสังวรณ์ไว้เสมอ ว่าต้องศึกษาข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับสมุนไพรชนิดนั้นๆ จากผู้มีความรู้ก่อนนำไปใช้ ตลอดจนพึงระลึกว่า ยาสมุนไพรไม่สามารถรักษาโรคทุกชนิดได้ การใช้สมุนไพรต้องใช้ให้ถูกชนิด ถูกส่วน เพราะพืชแต่ละส่วน มีสารที่มีฤทธิ์เป็นยาต่างกัน เรียนรู้เกี่ยวกับพิษจากสมุนไพรนั้นๆ และที่สำคัญที่สุด ขั้นตอนการปรุงต้องสะอาดและถูกต้องตามตำรับยา พ่อแม่ยุคใหม่ ไม่พลาดเรื่องพวกนี้อยู่แล้วใช่ไหมคะ สมุนไพรเดี่ยวที่ใช้ในการรักษาโรคพื้นฐานในทางเดินหายใจและทางเดินอาหาร 1.มะนาว - น้ำในผล กัดเสมหะในลำคอ แก้น้ำลายเหนียว เป็นกระสายยากวาดคอเด็ก 2.มะกรูด - ราก แก้ไข้กลับซ้ำ แก้ร้อนในกระหายน้ำ 3.ขิง - เหง้าแห้ง บรรเทาอาการไอแบบมีเสมหะ 4.ตะไคร้ (บ้าน) - ลำต้น ขับเหงื่อในคนเป็นไข้ 5.หอมแดง - หัว แก้หอบหืด หวัด หายใจไม่ออก สมุนไพรเดี่ยวที่ใช้กับอาการในทางเดินอาหาร ส่วนที่ใช้ สรรพคุณ 1.มะม่วง - ผลสุก ยาระบาย 2.กะเพรา - ใบ แก้ปวดท้อง ท้องขึ้น จุกเสียดในท้อง 3.ทับทิม - รากสด ต้มน้ำถ่ายพยาธิตัวตืดผล / ดอก สมานลำไส้ แก้ท้องเสีย / เปลือกและผล แก้บิด ท้องร่วง 4.ชา - ใบ แก้ท้องร่วง ท้องเดิน 5.มะขาม - เนื้อผล ยาระบาย ยาถ่าย / เนื้อในเมล็ด ถ่ายพยาธิไส้เดือน          หลากหลายโรคที่ลูกน้อยมักเป็น เช่น หวัด เจ็บคอ เป็นไข้ ไอ ท้องเสีย ฯลฯ ล้วนรักษาได้ด้วยสมุนไพร...ภูมิปัญญาไทยที่มีอยู่ในครัว 

สมุนไพรไทยที่มีมากมายในประเทศอันอุดมของเรา ได้เคยถูกโจรกรรมโดยประเทศมหาอำนาจทางการค้ามาแล้วนับครั้งไม่ถ้วน โดยอ้างในนามของข้อตกลงทางการค้าและสมาชิกอนุสัญญาที่มีหลักการสวยหรู สมุนไพรเหล่านั้นถูกนำไปวิจัย สังเคราะห์ด้วยกรรมวิธีทางเคมีต่างๆ และผลิตเป็นยาแผนปัจจุบันส่งกลับมาขายให้ประเทศที่มันเคยหยั่งรากลง น่าเสียดายนะคะ...บางทีเราอาจจะทำอะไรได้มากกว่าพูดคำว่า "เสียดาย" ถ้าจะลองค้นหาคุณค่าจากการรักษาโรคด้วยสมุนไพร ด้วยวิธีการที่ตกทอดกันมา อาศัยการประยุกต์เพื่อให้เข้ากับยุคสมัยและสิ่งแวดล้อมอีกเล็กน้อย มาเริ่มจากอาการเบื้องต้นง่ายๆ ที่เกิดกับลูกก็ได้ค่ะ ซึ่งเจ้าหน้าที่จากอายุรแพทย์แผนไทย อ.สุภาวดี ดอนเมือง ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชกรรม และ อ.สิริกานต์ ตูโปร่ง แพทย์แผนไทยด้านเภสัชกรรม มีคำแนะสำหรับพ่อแม่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับลูกเล็กที่บ้านได้ค่ะ แพทย์แผนไทยที่นำมารักษาโรคเด็กมีอะไรบ้าง ที่นี่เราเปิดรักษาโรคทั่วไปสำหรับผู้ใหญ่ก่อน ก็เน้นการรักษาด้วยยาสมุนไพร แต่ตอนนี้เราเปิดคลินิกกวาดยาเด็กขึ้นด้วย บริการตั้งแต่ 16.00-18.00 น. ในวันธรรมดา จันทร์-ศุกร์ ซึ่งเริ่มมาได้ 3 ปีแล้ว ก็เริ่มมีเด็กมาเข้ารับการรักษามากขึ้น กรรมวิธีตรวจรักษาโรค มีขั้นตอนเหมือนแพทย์แผนปัจจุบันค่ะ คือเริ่มด้วยการตรวจวินิจฉัยโรค ซักประวัติ ว่าเด็กจะเข้าข่ายในกลุ่มที่เราต้องกวาดยาหรือไม่ ซึ่งมีทั้ง หมด 18 กลุ่มอาการ กลุ่มอาการที่ใช้การกวาดคอมากที่สุดคือ หวัดธรรมดา ตามมาด้วยอาการไอ เจ็บคอ ลิ้นเป็นฝ้าเบื่ออาหาร เป็นไข้ไม่ทราบสาเหตุ ปวดท้อง เบื่ออาหาร ต่อมทอลซิลอักเสบ ปวดท้อง ร้อนใน ที่พบพอๆ กัน ก็มีพวกหอบหืด ปอดบวม ลิ้นเป็นแผล ท้องผูก ไข้หวัดใหญ่ หรือกวาดคอเพื่อป้องกันโรค นอกจากกวาดยาแล้ว ถ้าเด็กมีไข้ เราก็จะให้ยาลดไข้ด้วย ซึ่งเป็นยาสมุนไพรที่ต้องนำไปชงละลายน้ำให้เด็กดื่ม เราจะมีตำรับยาที่ใช้กับเด็กโดยเฉพาะอยู่แล้ว ซึ่งรวมอยู่ในตำรับยา 28 ชนิด ที่ทางกระทรวงสาธารณสุขประกาศให้ใช้อย่างเป็นทางการ ทั้งที่เป็นสมุนไพรเดี่ยวและสมุนไพรที่เป็นตำรับ ทำไมต้องใช้วิธีกวาดยารักษา ที่ต้องกวาดยาเพราะเด็กไม่สามารถกินยาต้มหรือยาหม้ออย่างผู้ใหญ่ได้ เพราะสมุนไพรไทยจะรสขมมาก รวมทั้งมีกลิ่นฉุน ดังนั้นจึงต้องกวาดยา หรือในกรณีที่เด็กมีเสลดมาก หรือมีอาการไอมากๆ หายใจไม่ออก การกวาดยาจะเป็นการช่วยเคลียร์ทางเดินหายใจให้กับเขา เพราะตัวยาบางอย่างที่เป็นส่วนผสมของยากวาดจะมีฤทธิ์ในการกัดเสมหะ เช่น มะนาว นอกจากนั้น บางทีพอกวาดยาเสร็จเด็กก็จะอาเจียนออกมา ซึ่งทำให้น้ำลายหรือเสมหะไหลออกมา แทนที่จะไหลย้อนลงคอไปทำให้เด็กสำลักได้ พอดีตัวเองก็มีลูกอ่อน อายุ 9 เดือน ก็ได้ใช้ยากวาดตัวนี้กับลูกด้วย เมื่อลูกเริ่มไอแบบมีเสมหะก็เริ่มกวาดยาให้เขา โดยเอาตัวยาไปจากที่นี่ (ปัจจุบันยังไม่มีขายตามท้องตลาด) ผสมยากับน้ำมะนาวประมาณครึ่งซีกและเกลือเล็กน้อย กวาดยาที่ผสมแล้วให้ลูกทั้งเช้าและเย็น อาการของเขาก็ดีขึ้น ถ้าอาการรุนแรงกว่านั้น ถ้าอาการของเด็กรุนแรงเกินความสามารถของเรา เช่น เด็กตาแฉะมาก หรือเป็นตุ่มเห่อไปทั้งตัว หรือพวกกลุ่มติดเชื้อร้ายแรง เราจะส่งต่อให้แพทย์ที่ทำการรักษาโรคนั้นเฉพาะทางต่อไปในการรักษานั้น เราก็จะบันทึกผลการรักษาและติดตามผลตลอด เช่น ลิ้นเป็นฝ้าหรือเชื้อราในปากลดลงหรือไม่ เด็กสามารถดูดนมได้มากขึ้นหรือยัง ถ้าเด็กอาการไม่ดีขึ้นหรือเป็นฝ้ามากขึ้น เราก็ต้องเพิ่มปริมาณยา หรือดูองค์ประกอบอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น แม่บางคนไม่ทำความสะอาดลิ้นให้ลูกหลังให้นม ทำให้เกิดเป็นฝ้าขึ้นมา และไม่สบายต่อเนื่องกันไปเราก็จะแนะนำให้เขาทำความสะอาดลิ้นให้ลูกควบคู่กันไป จะหวังพึ่งหมออย่างเดียวก็ไม่ได้ การกวาดยายังเป็นเรื่องของทักษะด้วย คือเราจะรู้ว่าเด็กเป็นอะไรแค่ไหนจากการสัมผัส เช่น คอเด็กร้อนแค่ไหน ลิ้นเด็กเป็นปุ่มหรือเพดานเด็กเป็นฝ้าแค่ไหน นอกจากนั้น เรายังเรียนด้านกุมารเวชและวิชาผดุงครรภ์มาด้วย จึงได้ใช้ควบคู่กันไป ไม่ใช่จะกวาดคอเด็กอย่างเดียว ความรู้อื่นๆ เช่นการให้วัคซีนเด็ก การเลี้ยงดู และการให้นมเด็ก เราก็จะแนะนำควบคู่กันไป หลักการของการกวาดยา ก็คือหลักการธรรมชาติ นอกจากว่าจะเป็นการติดเชื้อมากๆ เช่น ติดเชื้อแบคทีเรีย เราก็จะใช้ยาปฏิชีวนะช่วย ก็ต้องแนะนำให้ไปหาหมอแผนปัจจุบันต่อไป ไม่ใช่เด็กเป็นอะไรมาก็จะกวาดคอหมด ต้องมีการคัดครองก่อนว่าเป็นโรคที่กวาดยาได้ไหม ไม่ใช่เป็นการกวาดครอบจักรวาล หากพ่อแม่จะประยุกต์ใช้สมุนไพรเองที่บ้าน จะทำได้หรือไม่ สมุนไพรที่เราใช้อยู่ในปัจจุบัน มีทั้งสมุนไพรเดี่ยวและสมุนไพรตำรับ ซึ่งสมุนไพรตำรับจะเป็นส่วนผสมของสมุนไพรตั้งแต่ 2-3 ตัว หรือ 5-10 ตัว ขึ้นไป อย่างตัวยาในการกวาดคอก็เป็นยาตำรับ ปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขก็ได้มีประกาศใช้ยาตำรับ 28 ชนิด ซึ่งผ่านการวิจัยอย่างเป็นระบบแล้ว สามารถใช้เป็นยาสามัญประจำบ้านได้ ในกลุ่มยาเหล่านี้ ก็จะมียาที่ใช้สำหรับเด็กอยู่ด้วย เช่น เด็กลิ้นเป็นฝ้า เป็นแผลในปาก เจ็บคอ เป็นตาลซาง ว่าต้องใช้ในเด็กเท่าไหร่ ในส่วนของการประยุกต์ใช้สมุนไพรในเด็กสำหรับพ่อแม่ น่าจะเป็นสมุนไพรเดี่ยว เพราะการใช้สมุนไพรเดี่ยวจะหาได้ง่าย เพียงแต่ต้องหยิบใช้ให้ถูกเท่านั้น นอกจากนี้การใช้ยาสมุนไพรยังทำให้ได้ใกล้ชิดกับเด็กด้วย ซึ่งบางทีโรคพื้นๆ อย่างเป็นหวัด เป็นไข้ หรือท้องอืดท้องเฟ้อ เราก็สามารถรักษาด้วสมุนไพรได้ โดยไม่ต้องไปเข้าคิวรอรักษาจากแพทย์แผนปัจจุบันอย่างเดียว อย่างลูกสาวอายุ 9 เดือน เขาเคยปวดท้อง ดูแล้วเขามีอาการท้องอืด ก็ได้ใช้สมุนไพรเดี่ยวรักษามาแล้ว โดยใช้กะเพราในตู้เย็นมาประมาณ 10 ใบ หรือประมาณกำมือหนึ่ง ล้างให้สะอาด แล้วชงในน้ำร้อนนำไปป้อนให้เขา ก็ช่วยลดอาการท้องอืดท้องเฟ้อได้ ไม่แนะนำให้ต้ม เพราะกรรมวิธีการต้ม อาจทำให้น้ำมันหอมระเหยบางอย่างซึ่งมีฤทธิ์ขับลมระเหยออกไปได้ อาการปวดท้อง ท้องอืดท้องเฟ้อ อาจบรรเทาด้วยมหาหิงค์ก็ได้ ซึ่งแนะนำให้ใช้มหาหิงค์น้ำที่จะมีขายตามร้านขายยาแผนไทยทั่วไป โดยใช้ประมาณ 1 หยด ผสมในนมให้เด็กดื่ม หรือถ้าเด็กหายใจไม่ออกก็อาจให้เด็กดมก็ได้ อย่างคนโบราณที่เขาไม่มีมหาหิงค์แบบน้ำ เขาก็จะใช้ผ้าห่อก้อนมหาหิงค์ แล้วผูกกับข้อมือเด็ก เด็กตัวเล็กๆ บางทีเขาก็ใช้มือป้ายหน้าป้ายตา ก็จะได้ดมน้ำมันหอมระเหยของมหาหิงค์ไปด้วย ซึ่งยาพวกนี้จะช่วยขับลมได้ดี ในกลุ่มของอาการหวัด อาจใช้หอมแดงที่ใช้ตำพริกแกง ใช้ประมาณ 4-5 หัว ทุบละเอียดใส่ถ้วย วางไว้ที่หัวนอนของลูก เคยใช้ก็รู้สึกว่าลูกจะดีขึ้น คิดเปรียบเทียบว่าถ้าเราไม่มีน้ำยาหอมระเหยที่วางขายตามท้องตลาด พวกน้ำมันยูคาลิปต่างๆ เราก็ใช้สมุนไพรตัวนี้แทนได้ และส่วนใหญ่ก็จะมีทุกครัวเรือน ส่วนใหญ่หลักการของแพทย์แผนไทย และการใช้ยาสมุนไพร จะเป็นขั้นตอนการรักษาที่ใกล้ชิดมาก ซึ่งทำให้สังเกตอาการได้ เช่น การเช็ดตัวให้ไข้ลดเพื่อป้องกันอาการชัก เพราะใช้ยาบางทีก็ไม่ทัน ต้องคอยเฝ้าตลอด เปลี่ยนน้ำเช็ดตัวอยู่ตลอด ความร้อนจะมีผลต่อร่างกายเด็กอย่างมาก ถ้าปากเขาแห้ง ก็ต้องให้ลูกดื่มน้ำมากๆ และเช็ดตัวอยู่เสมอ มีข้อควรระวังอะไรบ้าง จากการใช้ยาสมุนไพร ถ้าเป็นขั้นตอนของการกวาดยา บุคลากรที่ทำการกวาดยาก็ต้องระวังอย่างมาก เกี่ยวกับความสะอาด เราก็ต้องล้างมือทุกขั้นตอน เล็บต้องตัดสั้น หรือไม่มีแผลบริเวณนิ้ว ส่วนการให้ยาตำรับ ก็จะมีระยะเวลาอย่างน้อย 5-7 วัน ถ้าไม่หายเราก็ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ แสดงว่าเด็กต้องมีปัญหามากกว่านั้น หรือการใช้สมุนไพรเดี่ยวก็ต้องมีความแม่นยำ เช่น ระบุว่าต้องใช้ราก แต่ไปหยิบใบมาใช้ มันก็ไม่ได้ผล นอกจากนั้นสิ่งแวดล้อมและการปฏิบัติดูแลของพ่อแม่ก็มีความสำคัญมาก เช่น เน้นให้ลมเข้าใต้เท้าเด็ก แต่ไปเปิดพัดลมไว้ตรงหัวนอน มันก็จะไม่ได้ผล มันมีหลายปัจจัยนะคะ หรือการใช้สมุนไพรประเภทเดียวกันนั้น เพียงแค่ใช้ผิดขนาดหรือผิดประเภท ผลการรักษาก็จะต่างกันไป อย่างที่คนโบราณเขาจะบอกว่ารู้ปิดรู้เปิด เวลาเด็กท้องเสีย ก็ต้องดูว่าเด็กอาการเป็นอย่างไร ถ้าท้องเสียธรรมดา ไม่มีมูกเหม็น ก็ให้เอาผลฝรั่งดิบ ฝนน้ำให้เด็กดื่ม เป็นสมุนไพรปิด คือให้เด็กหยุดท้องเสียไปเลย เพราะใยฝรั่งดิบจะมีสารแทนนินสูง แต่ถ้าเด็กถ่ายมีกลิ่นเหม็นมาก มีมูก ก็ต้องให้ฝรั่งสุกซึ่งมีฤทธิ์เป็นยาระบาย ขับพิษออกให้หมด ก่อนจะใช้สมุนไพรปิดอีกครั้ง แต่การใช้สมุนไพรบางครั้งก็ต้องพิจารณาให้ดี ว่าเด็กสมควรที่จะใช้ไหม ใช้แล้วเด็กจะหายช้าหรือเร็วเราก็ต้องเปรียบเทียบอีก เช่น ใช้ยาปฏิชีวนะแล้วหายเร็ว ใช้สมุนไพรก็หายเหมือนกันแต่ช้ากว่า ก็ต้องพิจารณากันให้ดีค่ะ อย่างไรก็ตาม การจะประยุกต์ใช้สมุนไพรต้องสังวรณ์ไว้เสมอ ว่าต้องศึกษาข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับสมุนไพรชนิดนั้นๆ จากผู้มีความรู้ก่อนนำไปใช้ ตลอดจนพึงระลึกว่า ยาสมุนไพรไม่สามารถรักษาโรคทุกชนิดได้ การใช้สมุนไพรต้องใช้ให้ถูกชนิด ถูกส่วน เพราะพืชแต่ละส่วน มีสารที่มีฤทธิ์เป็นยาต่างกัน เรียนรู้เกี่ยวกับพิษจากสมุนไพรนั้นๆ และที่สำคัญที่สุด ขั้นตอนการปรุงต้องสะอาดและถูกต้องตามตำรับยา พ่อแม่ยุคใหม่ ไม่พลาดเรื่องพวกนี้อยู่แล้วใช่ไหมคะ สมุนไพรเดี่ยวที่ใช้ในการรักษาโรคพื้นฐานในทางเดินหายใจและทางเดินอาหาร 1.มะนาว - น้ำในผล กัดเสมหะในลำคอ แก้น้ำลายเหนียว เป็นกระสายยากวาดคอเด็ก 2.มะกรูด - ราก แก้ไข้กลับซ้ำ แก้ร้อนในกระหายน้ำ 3.ขิง - เหง้าแห้ง บรรเทาอาการไอแบบมีเสมหะ 4.ตะไคร้ (บ้าน) - ลำต้น ขับเหงื่อในคนเป็นไข้ 5.หอมแดง - หัว แก้หอบหืด หวัด หายใจไม่ออก สมุนไพรเดี่ยวที่ใช้กับอาการในทางเดินอาหาร ส่วนที่ใช้ สรรพคุณ 1.มะม่วง - ผลสุก ยาระบาย 2.กะเพรา - ใบ แก้ปวดท้อง ท้องขึ้น จุกเสียดในท้อง 3.ทับทิม - รากสด ต้มน้ำถ่ายพยาธิตัวตืดผล / ดอก สมานลำไส้ แก้ท้องเสีย / เปลือกและผล แก้บิด ท้องร่วง 4.ชา - ใบ แก้ท้องร่วง ท้องเดิน 5.มะขาม - เนื้อผล ยาระบาย ยาถ่าย / เนื้อในเมล็ด ถ่ายพยาธิไส้เดือน 
ที่มา https://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=531&sub_id=11&ref_main_id=3

อัพเดทล่าสุด