ธาตุทั้ง 4 กับแพทย์แผนไทย


4,844 ผู้ชม


การแพทย์แผนไทยจะกล่าวถึงสาเหตุของโรคว่า ในตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ “ฉบับหลวง” และตำราเวชศึกษา ได้ระบุเกี่ยวกับทฤษฎียาว่า  องค์ประกอบของร่างกายมนุษย์  ประกอบด้วยธาตุ  4  ธาตุ คือ         การแพทย์แผนไทยจะกล่าวถึงสาเหตุของโรคว่า ในตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ “ฉบับหลวง” และตำราเวชศึกษา ได้ระบุเกี่ยวกับทฤษฎียาว่า องค์ประกอบของร่างกายมนุษย์ ประกอบด้วยธาตุ 4 ธาตุ คือ 
1. ปถวีธาตุ (ธาตุดิน) เป็นธาตุที่ประกอบขึ้นเป็นส่วนต่าง ๆ ของมนุษย์ หรือทำให้ร่างกายมีสิ่งยึดเหนี่ยวเป็นรูปร่างขึ้นมาซึ่งประกอบกันทั้งสิ้น 20 ประการ คือ ผม ขน เล็บ เนื้อ ผิวหนัง เนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ลำไส้น้อย ลำไส้ใหญ่ อาหารเก่า (กาก) อาหารใหม่ และมันสมอง ถ้าจะเปรียบกับแพทย์แผนปัจจุบัน ธาตุดินเปรียบเสมือนเซลล์ หรือเนื้อเยื่อต่าง ๆ ของร่างกาย 2. อาโปธาตุ (ธาตุน้ำ) ถือว่าน้ำเป็นองค์ประกอบที่มีมากที่สุดในร่างกายทั้งในเซลล์และนอกเซลล์ ประกอบด้วย 12 ประการ คือ น้ำดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น มันเหลว น้ำตา น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ น้ำมูตร (น้ำปัสสาวะ) แพทย์แผนปัจจุบันมีความคิดว่าน้ำมีความสำคัญต่อร่างกาย ทำให้ร่างกายทำงานได้ตามปกติ เพราะน้ำเป็นสื่อในการพาอาหารไปตามระบบต่าง ๆ ของร่างกาย ช่วยให้เกิดความอิ่มเอิบ ความตึงตัว ถ้าขาดน้ำผิวหนังจะเหี่ยวย่น ขาดความตึงตัว 3. วาโยธาตุ (ธาตุลม) กำหนดไว้ 6 ประการ คือ ลมสำหรับพัดตั้งแต่ปลายเท้าตลอดศีรษะ ลมพัดตั้งแต่ศีรษะตลอดปลายเท้า ลมพัดตั้งแต่ท้องแต่นอกลำไส้ ลมพัดในลำไส้ถึงกระเพาะ ลมพัดทั่วสรรพางค์กาย ลมหายใจเข้าออก ปัจจุบัน หมายความถึงตัวควบคุมการเคลื่อนไหวทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นการหายใจ การยืดหดของกล้ามเนื้อ การบีบตัว การสูบฉีดเลือดของหัวใจ การไหลเวียนเลือด หรือการเคลื่อนไหวของระบบทางเดินอาหาร การเคลื่อนไหวของเซลล์ หรือกระแสสัญญาณของระบบประสาท 4. เตโชธาตุ (ธาตุไฟ) ประกอบด้วย 4 ประการ คือ ไฟสำหรับอุ่นกาย ไฟสำหรับร้อนระส่ำระสาย ไฟสำหรับเผาให้คร่ำคร่าและไฟสำหรับย่อยอาหาร ธาตุไฟคือกระบวนการเผาผลาญอาหารในร่างกายเพื่อให้เกิดพลังงานขึ้นมา พลังงานนี้จะทำให้ธาตุดิน (เซลล์และเนื้อเยื่อ) และธาตุน้ำ(เลือดและน้ำเหลือง) ให้คงอยู่ ไม่เน่าเสีย ระบบธาตุเป็นความรู้พื้นฐานทางกายภาควิชา และสรีรวิทยา มูลเหตุของโรคต่าง ๆ เกิดจากธาตุทั้ง 4 ถ้าธาตุทั้ง 4 อยู่ในภาวะที่สมดุล ร่างกายก็จะอยู่ในสภาพปรกติ แต่ถ้าธาตุใดหย่อนหรือพิการ หรือกำเริบ สภาวะสมดุลของร่างกายก็หมดไป การรักษาด้วยสมุนไพรจึงใช้ตัวยาประจำธาตุนั้น ๆ เพิ่มหรือลดตามอาการ ความเจ็บป่วย หรือการเกิดโรค นอกจากจะเกิดจากการเสียดุลทางธรรมชาติแล้ว ยังมีความสัมพันธ์เกี่ยวกับ อายุที่เปลี่ยนไปตามวัย ธาตุทั้งสี่ผิดปกติ อายุที่เปลี่ยนไป ถิ่นที่อยู่อาศัย อิทธิพลของกาลเวลาเข้ามาเกี่ยวข้อง การใช้ยาปรับธาตุ มีคำศัพท์เฉพาะที่ปรากฏอยู่ในตำรายา ที่หมอพื้นบ้านต้องเข้าใจและนำมาใช้ให้ถูกต้องคือ คำว่า ธาตุดิน, น้ำ, ลม, ไฟ กำเริบ, หย่อน, พิการ นั้นหมายความว่าอย่างไร และเมื่อเกิดอาการกำเริบ, หย่อน, พิการ ของธาตุต่าง ๆ นั้น จะมีสมุนไพรตัวใดมาช่วยในการปรับธาตุให้เป็นปกติได้บ้างก็เป็นเรื่องที่ควรได้ทราบ แสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาของชาวบ้านที่ได้สั่งสมและถ่ายทอดสืบต่อกันมา และเมื่อการแพทย์แผนปัจจุบันได้ศึกษาก็สามารถที่จะนำมาอธิบายกันได้ถึงเหตุผล ความเป็นได้ของตัวยาต่าง ๆ ที่มีอยู่ในสมุนไพร อาจจะนำมารักษาโรค หรือป้องกันโรคไม่ให้เกิดได้ ดังต่อไปนี้ 1. ธาตุดิน ยาปรับธาตุดิน ประจำยาปถวี (ธาตุดิน 20 กอง) เป็นเหตุเมื่อพระอาทิตย์สถิตในราศรีพฤษภ กันย์ มังกร 1.1 ธาตุดินพิการ หมายถึงสภาพผิดปกติของอวัยวะที่แสดงออก เช่น ผิวหนังพิการ คือ มีตุ่ม ผื่น มีเน่า มีเปื่อย เป็นแผล เป็นต้น ถ้าอวัยวะภายในพิการ เช่น ตับพิการ คือ ตับทำงานผิดปกติ หรือเป็นฝี อักเสบ นั่นเอง ธาตุดินพิการเรียก “กรีสะ(อาหารเก่า) ระคน” จากกลางเดือนอ้าย ถึงกลางเดือนยี่ พระอาทิตย์สถิตราศรีมังกร (มกราคม) ยาแก้ธาตุดินพิการมีดังนี้ 1.2 ธาตุดินกำเริบ คือมากไป ผิดไปจากเดิม เช่น มีขนาดโตขึ้น บวม งอก เนื้องอก เรียกว่า “หทัยวาตะ(การเต้นของหัวใจ อารมณ์ จิต)ระคน” จากกลางเดือน 4 ถึงกลางเดือน 5 พระอาทิตย์สถิตในราศรีพฤษภ(พฤษภาคม) ยาแก้ธาตุดินกำเริบมีดังนี้ 1.3 ธาตุดินหย่อน คือ ไม่สมบูรณ์ ไม่เต่งตึง เหี่ยว ยุบ การเสื่อมสลายของอวัยวะน้อยใหญ่ เรียก “อุทริยะ(อาหารใหม่)ระคน” จากกลางเดือน 9 ถึงกลางเดือน 10 พระอาทิตย์สถิตราศรีกันย์ (กันยายน) ยาแก้ธาตุดินหย่อนมีดังนี้ 2. ธาตุน้ำ ประจำอาโปธาตุ (ธาตุน้ำ 12) เป็นเหตุเมื่อพระอาทิตย์สถิตในราศรีกรกฏ พิจิก มีน 2.1 ธาตุน้ำพิการ หมายถึงสภาพของเหลวในร่างกายทำงานที่ผิดปกติไป เช่น เสมหะพิการ คือ มีมูก เมือก เสลด ออกมาเป็นหนอง เป็นเลือด น้ำปัสสาวะพิการ มีปัสสาวะขุ่น เป็นหนอง เป็นเลือด เป็นต้น ธาตุน้ำพิการเรียก “คูถเสมหะระคน” จากกลางเดือน 3 ถึงกลางเดือน 4 พระอาทิตย์สถิตราศรีมีน (มีนาคม) ยาแก้ธาตุน้ำพิการ มีส่วนของตัวยาดังนี้ 2.2 ธาตุน้ำกำเริบ คือ มีอาการมากเกินไป เกินปกติ เช่น มีน้ำมูกมากไหลทั้งวัน ท้องเดิน น้ำในตัวมาก บวม ความดันโลหิตสูง มีเลือดมาก มีน้ำในกระแสเลือดมาก เรียก “ศอเสมหะระคน” จากกลางเดือน 7 ถึงกลางเดือน 8 พระอาทิตย์สถิตราศรีกรกฎ (กรกฎาคม) มีส่วนของตัวยาดังนี้ 2.3 ธาตุน้ำหย่อน คือ ขาดหรือน้อยไป เมื่อน้ำน้อย แสดงให้เห็นถึงความแห้งเหี่ยว ไม่สดใส เช่น น้ำตาแห้ง คอแห้ง ท้องผูก ปัสสาวะน้อย เป็นต้น เรียก “อุระเสมหะ(น้ำบริเวณนอก)ระคน” จากกลางเดือน 11 ถึงกลางเดือน 12 พระอาทิตย์สถิตราศรี พิจิก (พฤศจิกายน) มีส่วนของตัวยาดังนี้ 3. ธาตุลม ประจำวาตะ (ธาตุลม 8 กอง) เป็นเหตุเมื่อพระอาทิตย์สถิตในราศรี เมถุน ตุล กุมภ์ 3.1 ธาตุลมพิการ คือ ภาวะผิดปกติ เดี๋ยวเร็ว เดี๋ยวช้า คือการเคลื่อนไหวที่ไม่เป็นจังหวะ หรือเสื่อมสภาพ ไม่ทำงาน ไม่เคลื่อนไหว เรียกว่า “สุมนาวาตะ(ลมกลางตัว)ระคน” จากกลางเดือน 3 ถึงกลางเดือนยี่ พระอาทิตย์สิตราศรีกันย์ (กันยายน) ยาแก้ธาตุลมพิการ มีส่วนของตัวยาดังนี้ 3.2 ธาตุลมกำเริบ คือภาวะแห่งการเคลื่อนไหวของอวัยวะน้อยใหญ่เกิดเคลื่อนไหวอย่างผิดปกติ เช่น การกระตุก การชัก การเต้นเร็วผิดปกติ การหอบ การบีบตัวอย่างรุนแรง การปวด เป็นต้น เรียกว่า “หทัยวาตะ(การเต้นของหัวใจ,อารมณ์)ระคน” จากกลางเดือน 6 ถึงกลางเดือน 7 พระอาทิตย์สถิตราศรีเมถุน (มิถุนายน) ยาแก้ธาตุลมกำเริบ มีส่วนของตัวยาดังนี้ 3.3 ธาตุลมหย่อน คือภาวะแห่งการเคลื่อนไหวที่น้อยไป หย่อนสมรรถภาพไป เชื่องช้า หงอยเหงา ไม่กระตือรือล้น เรียกว่า “สัตถกะวาตะ(ลมที่เหมือนอาวุธ)ระคน” จากกลางเดือน 9 ถึงกลางเดือน 10 ส่วนของตัวยาแก้ธาตุลมหย่อนมีดังนี้ 4. ธาตุไฟ ประจำธาตุไฟ (ธาตุไฟ 4 กอง) เป็นเหตุเมื่อพระอาทิตย์สถิตในราศีเมษ สิงห์ ธนู 4.1 ธาตุไฟกำเริบ คือ ภาวะความร้อนที่เกินไป การเผาผลาญที่มากไป เช่น ภาวะที่เป็นไข้ ภาวะที่กินอาหารบ่อย ๆ ภาวะที่ร้อนรุ่มกระสับกระส่าย กลัดกลุ้ม เร่าร้อนทางอารมณ์ เป็นต้น เรียกธาตุไฟกำเริบว่า “พัทธปิตตะ(ดีในฝัก)ระคน” จากกลางเดือน 4 ถึงกลางเดือน 5 พระอาทิตย์สถิตในราศรีเมษ (เมษายน) ยาแก้ธาตุกำเริบ มีส่วนของตัวยาดังนี้ 4.2 ธาตุไฟหย่อน คือภาวะที่ความร้อนในตัวน้อย รู้สึกเย็นเยือก หนาวสั่น ถ้าไฟย่อยอาหารน้อยไปก็จะท้องอืดเฟ้อ อาหารไม่ย่อย เรียกว่า “อพัทธปิตตะ(ดีในฝัก)ระคน” ยาแก้ธาตุไฟหย่อน มีส่วนของตัวยาดังนี้ 4.3 ธาตุไฟพิการ หมายถึงความร้อนในร่างกายผิดปกติไป เดี๋ยวหนาว เดี๋ยวร้อน ระบบย่อยอาหารผิดปกติ หรือบางครั้งมีไข้ตัวร้อน บางครั้งรู้สึกหนาวสั่น เป็นต้น เรียก “กำเดา(องค์แห่งความร้อน)ระคน” ธาตุไฟพิการยาแก้ธาตุไฟพิการ มีส่วนของตัวยาดังนี้ ยาปรับธาตุตามฤดกาล 1. ตรีผลา ได้แก่ ลูกสมอพิเภก ลูกสมอไทย ลูกมะขาป้อม เป็นยาประจำฤดูร้อน 2. ตรีกูฏ ได้แก่ เหง้าขิงแห้ง เมล็ดพริกไทย ดอกดีปลี เป็นยาประจำฤดูฝน 3. ตรีสาร ได้แก่ รากเจตมูลเพลิง เถาสะค้าน รากช้าพลู เป็นยาประจำฤดูหนาว ในตำราแพทย์แผนปัจจุบันได้สรุปถึงความเสื่อมตามธรรมชาติโดยสัมพันธ์กับอายุเอาไว้ดังนี้ อายุ สภาพความเสื่อม อายุ 0 – 1 ปี อ่อนตัวที่สุด อายุ 25 ปี กล้ามเนื้อเริ่มถดถอยลง อาย 30 – 40 ปี พละกำลังลด สมรรถภาพการจับออกซิเจนลดผิวบางลง เริ่มมีไฝฝ้า อายุ 40 – 50 ปี สายตา ข้อ หัวใจ ปอด ถุงลม ต่อมไร้ท่อ น้ำย่อย ประจำเดือน จิต ประสาท และฮอร์โมน เริ่มถดถอย อายุ 50 –60 ปี ตา หู ประสาท กระดูด เสื่อมถอย อายุ 75 ปี เซลล์สมอง (neurone) ค่อย ๆ ตาย อายุ 85 ปี ขึ้นไป น้ำหนักสมองลดลง 150 - 200 กรัม ส่วนสูงลดลง 3 – 5 ซ.ม. ด้วยความเสื่อมดังกล่าวทำให้มนุษย์ต้องเผชิญกับโรคภัยไข้เจ็บและปัญหาจากสุขภาพมากมาย ได้แก่ ปัญหาโรคอ้วน เบาหวาน ความดัน ไขมัน หัวใจ อัมพาต ข้ออักเสบ กระเพาะลำไส้ ประสาท ภูมิแพ้ เป็นหวัดบ่อย ๆ อ่อนเพลีย และอื่น ๆ อีกมากมาย แต่คนไทยมีความเชื่อในทฤษฎีธาตุทั้งสี่ เชื่อว่าการสมดุลของธาตุทั้งสี่ จะทำให้สุขภาพแข็งแรง ปัจจัยหรือมูลเหตุที่จะทำให้ธาตุทั้งสี่ เสียสมดุลเกิดจากการเจ็บป่วยคือธาตุสมุฏฐานเอง คือการเสียสมดุลที่มีมาโดยธาตุเจ้าเรือน ประกอบกับพฤติกรรมการกิน การอยู่ หลับนอน และตกใจ นอกจากนี้ยังมีที่อยู่อาศัยและสิ่งสมบูรณ์ต้องผจญกับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม ฤดูกาล จักรวาล คือกาลสมุฏฐาน ความเสื่อมตามอายุขัยคืออายุสมุฏฐาน เป็นธรรมชาติที่มนุษย์หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่มีสิ่งที่เป็นประสบการณ์ของคนไทย คือการใช้ธาตุ 4 ของตนให้สมดุล จึงเกิดเป็นตำรายาต่าง ๆ มากมายมาบำบัดยามป่วยไข้ และด้วยความสังเกตอย่างดียิ่งจึงล่วงรู้ถึงกลไกของธรรมชาติว่า ต้นไม้ที่ขึ้นในฤดูที่ต่างกัน สถานที่ต่างกัน ก็มีสรรพคุณต่างกันออกไป จึงเกิดการใช้ยาตามฤดูกาลต่าง ๆ เกิดตำรับยาหลายหลากตามสาเหตุของโรคว่า เกิดช่วงใด ฤดูใด แม้ในรอบ 1 วัน 24 ชั่วโมง เช้า สาย บ่าย ค่ำ ธาตุทั้งสี่ก็ยังคงเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติตลอดเวลา ดังนั้นการทำยาต้องให้สอดคล้องกับธรรมชาติ ต้องรู้กลไกธรรมชาติ แล้วใช้ธรรมชาติรักษาตน มาปรุงแต่งธาตุของตน เป็นการป้องกันไม่ให้เจ็บป่วย เรียกว่าเป็น “ยาอายุวัฒนะ” หมายถึงยาที่กินแล้วทำให้อายุยืน แพทย์แผนปัจจุบันได้วิเคราะห์ถึงปัญหาความเสื่อมของร่างกายตามอายุขัยอันเป็นไปตามปกติแล้ว พบว่ายังมีปัญหาความผิดปกติของเซลล์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้อีกเสมอ เนื่องจากยีนที่เรียกว่า C-oncogene เปลี่ยนแปลงไป กลายพันธุ์ไปเป็น V- oncogene เกิดเซลล์ผิดปกติกลายเป็นมะเร็งในอวัยวะต่าง ๆ ก่อให้เก 
ที่มา https://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=318&sub_id=13&ref_main_id=3

อัพเดทล่าสุด