ยาสลายลิ่มเลือดรักษาโรคหลอดเลือดสมองตีบตัน


923 ผู้ชม


โรคหลอดเลือดในสมองตีบตันพบมากในคนสูงอายุ เนื่องจากหลอดเลือดแดงมีการแข็งตัวหรือเสื่อม ทำให้มีโอกาสตีบตันได้ง่ายขึ้น         โรคหลอดเลือดในสมองตีบตันพบมากในคนสูงอายุ เนื่องจากหลอดเลือดแดงมีการแข็งตัวหรือเสื่อม ทำให้มีโอกาสตีบตันได้ง่ายขึ้น 

โรคหลอดเลือดในสมองตีบตันพบมากในคนสูงอายุ เนื่องจากหลอดเลือดแดงมีการแข็งตัวหรือเสื่อม ทำให้มีโอกาสตีบตันได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง, เบาหวาน, ภาวะไขมันในเลือดสูง, คนที่สูบบุหรี่จัด หรือดื่มเหล้าจัด หรือคนอ้วน ก็มีโอกาสเป็นโรคนี้ได้มากกว่าคนปกติ เนื่องจากผู้ป่วยเหล่านี้มักมีการเสื่อมและตีบของหลอดเลือดแดงเร็วขึ้น


การรักษาด้วยยาในกลุ่มละลายไฟบรินที่นิยมใช้มากที่สุด
 คือ โปรตีนชนิดหนึ่งที่สร้างจากเซลล์เยื่อบุหลอดเลือด ทำหน้าที่กระตุ้นไฟบริโนเจนในเนื้อเยื่อ โดยธรรมชาติแล้วโปรตีนดังกล่าวจะเป็นเอ็นซัยม์ชนิดที่เรียกว่า ซีรีน โปรตีเอส (serine protease) ซึ่งเอ็นซัยม์นี้จะเปลี่ยนสารพลาสมิโนเจนไปเป็นพลาสมิน แต่ถ้ามีปริมาณของไฟบรินอยู่น้อย เอ็นซัยม์นี้จะไม่ทำงาน เมื่อนำมาใช้เป็นยาละลายไฟบริน ในขนาดที่พอเหมาะ ก็จะจับกับไฟบรินที่ก้อนเลือดอุดตัน แล้วเปลี่ยนพลาสมิโนเจนให้เป็นพลาสมิน ด้วยกลไกดังกล่าวจะเริ่มกระบวนการสลายไฟบริน การสลายก้อนเลือดด้วยเอ็นซัยม์นี้ มีผลต่ออวัยวะอื่นน้อยมาก

ชื่อการค้าของยานี้ คือ แอคติเวส Activase หรือ แอคติลัยส์ Actylise ตัวยาเป็นเอ็นซัยม์อัลติพลาส บริษัทที่ผลิตออกมาจำหน่ายทำเป็นโปรตีนสังเคราะห์ นำมาใช้รักษาโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน โรคหลอดเลือดสมองอุดตันเฉียบพลัน และโรคหลอดเลือดปอดอุดตัน

ขนาดที่ใช้ : 0.9 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัวหนึ่งกิโลกรัม ไม่เกิน 90 มิลลิกรัมต่อครั้งที่ฉีด ให้ยาทางหลอดเลือดโดยวิธีหยดช้าๆ ใน 60 นาที ให้คำนวนณยา 10% ของทั้งหมดฉีดเข้าเส้นทันทีเมื่อเริ่มต้นการรักษา

ขนาดยาในเด็ก : ไม่แนะนำให้ใช้

ข้อห้าม : ห้ามใช้ในกรณีผู้ป่วยมีประวัติแพ้ยา ผู้ป่วยที่มีประวัติเลือดออกในสมองภายในสามเดือน ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงที่จะมีปัญหาจากภาวะเลือดออกผิดปกติ และผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงมาก

ปฏิกิริยาระหว่างที่สำคัญ : ต้องระวังการใช้ร่วมกับยาที่มีผลต่อการทำหน้าที่ของเกล็ดเลือด เช่น แอสไพริน ไดไพริดาโมล คลอพิโดเจรล แอ็พซิสิแม็บ เป็นต้น

โดยทั่วไปผู้ป่วยที่เป็นอัมพาต เนื่องจากโรคหลอดเลือดในสมองตีบตัน มักมีประวัติเป็นคนสูงอายุ หรือไม่ก็อาจเป็นโรคความดันโลหิตสูง หรือเบาหวาน สูบบุหรี่จัดหรือดื่มเหล้าจัดอยู่ก่อน แล้วอยู่ๆ ก็มีอาการแขนขาซีกหนึ่งอ่อนแรงลงทันทีทันใด ผู้ป่วยอาจสังเกตพบอาการอัมพาตขณะตื่นนอน หรือขณะเดินหรือทำงานอยู่ก็รู้สึกทรุดล้มลงไป ผู้ป่วยอาจมีอาการชาตามแขนขา ตามัว ตาเห็นภาพซ้อน พูดไม่ได้ หรือพูดอ้อแอ้ ปากเบี้ยว หรือกลืนไม่ได้ร่วมด้วยบางคนอาจมีอาการปวดศีรษะ วิงเวียน หรือมีความรู้สึกสับสนนำมาก่อนที่จะมีอาการอัมพาตของแขนขา ผู้ป่วยมักจะมีความผิดปกติที่ซีกใดซีกหนึ่งของร่างกายเพียงซีกเดียวเท่านั้น กล่าวคือ ถ้าการตีบตันของหลอดเลือดเกิดขึ้นในสมองซีกซ้าย ก็จะมีอาการอัมพาตที่ซีกขวา ถ้าเกิดขึ้นในสมองซีกขวาก็จะเกิดอัมพาตที่ซีกซ้าย ผู้ป่วยส่วนมากจะรู้สึกตัวดี หรืออาจจะซึมลงเล็กน้อย ยกเว้นในรายที่เป็นรุนแรง อาจมีอาการหมดสติร่วมด้วยอาการอัมพาตมักจะเป็นอยู่นานกว่า 24 ชั่วโมงขึ้นไป และจะเป็นอยู่นานแรมเดือนแรมปี หรือตลอดชีวิตผู้ป่วยที่เป็นอัมพาต
ที่มา https://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=211&sub_id=52&ref_main_id=3

อัพเดทล่าสุด