แทมิฟลู โอเซลทามิเวีย ฟอสเฟต (Tamiflu Oseltamivir phosphate)


965 ผู้ชม


ยายับยั้งเชื้อไวรัส  สารออกฤทธิ์ : โอเซลทามิเวีย ฟอสเฟต (Oseltamivir phosphate) หนึ่งแคปซูลมี โอเซลทามิเวีย ฟอสเฟต 98.5 มก. เทียบเท่าโอเซลทามิเวีย 75 มก.         ยายับยั้งเชื้อไวรัส สารออกฤทธิ์ : โอเซลทามิเวีย ฟอสเฟต (Oseltamivir phosphate) หนึ่งแคปซูลมี โอเซลทามิเวีย ฟอสเฟต 98.5 มก. เทียบเท่าโอเซลทามิเวีย 75 มก. 

คุณสมบัติและผลของยา

โอเซลทามิเวีย ฟอสเฟต เป็นสารเริ่มต้น (pro-drug) ของสารเมตะบอไลท์ที่ออกฤทธิ์ โดยสารเมตะบอไลท์ที่ออกฤทธิ์จะเป็นสารยับยั้งที่แรงและจำเพาะเจาะจงต่อเอนไซม์ neuraminidase ของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ ซึ่งเอนไซม์นี้เป็นไกลโคโปรตีนที่พบที่ผิวไวรัส เอนไซม์ neuraminidase ของไวรัสนี้จำเป็นต่อการปล่อยกระจาย ส่วนของไวรัสจากเซลล์ที่ติดเชื้อทำให้เชื้อไวรัสกระจายไปทั่วร่างกาย

สารเมตะบอไลท์ที่ออกฤทธิ์นี้จะยับยั้งเอนไซม์ neuramidase ของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ทั้งชนิดเอ และชนิดบี (type A, B) ความเข้มข้นที่ออกฤทธิ์ยับยั้งนี้วัดจากหลอดทดลองมีค่าต่ำในระดับนาโนโมลาร์ สารเมตะบอไลท์ที่ออกฤทธิ์ยังสามารถยับยั้งการเจริญของไวรัสไข้หวัดใหญ่ในหลอดทดลอง ยับยั้งการแบ่งตัว และการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม (pathogenicity) ของเชื้อไข้หวัดใหญ่ในร่างกายด้วย

แทมิฟลูลดจำนวน (shedding) ของไวรัสไข้หวัดใหญ่ทั้งชนิดเอและบี โดยการยับยั้งการปลดปล่อยไวรัสจากเซลล์ที่ติดเชื้อ

จากการศึกษาทางคลินิก phase III ผู้ป่วยจะได้รับแทมิฟลูภายใน 60 ชั่วโมงหลังมีอาการ พบว่าภายใน เวลา 45 ชั่วโมงระยะเวลาของอาการไข้หวัดใหญ่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อให้แทมิฟลูแก่ผู้ป่วยที่ได้รับการตรวจ ยืนยันว่าเป็นไข้หวัดใหญ่ความรุนแรงของโรคจะลดลงประมาณ 40% เมื่อเปรียบกับผู้ที่ได้รับยาหลอก ยิ่งกว่านั้น แทมิฟลูยังช่วยลดอุบัติการณ์ของโรคแทรกซ้อนซึ่งมักเป็นเนื่องจากโรคไข้หวัดใหญ่ เช่น หลอดลมอักเสบ ปอดบวมและไซนัสอักเสบ ซึ่งทำให้ต้องได้รับยาปฏิชีวนะ โดยเมื่อเปรียบเทียบผลในผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรง กลุ่มที่ มีอายุน้อยและผู้สูงอายุการติดโรคแทรกซ้อนจะลดลง 50% และ 75% ตามลำดับ

จากการศึกษาการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ทั้งโดยธรรมชาติหรือในห้องทดลอง การรักษาด้วยแทมิฟลูไม่ เปลี่ยนแปลงระบบภูมิคุ้มกันของคนที่มีต่อการติดเชื้อ รวมถึงไม่มีผลต่อการตอบสนองของแอนตี้บอดี้ต่อวัคซีน

มีการศึกษาอย่างมากถึงโอกาสที่จะเกิดเชื้อที่ดื้อต่อการรักษา อุบัติการณ์ของการเกิดเชื้อที่ดื้อต่อการ รักษาที่พบจากตัวอย่างที่แยกได้จากการศึกษาทางคลินิกมีประมาณ 2% ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดย่อยของไวรัส (viral subtype) ผู้ป่วยที่มีเชื้อที่ดื้อต่อการรักษา (การตอบสนองต่อการรักษาลดลง) จะกำจัดไวรัสออกตามปกติ และ ไม่มีผลทางคลินิก เชื้อที่ดื้อต่อการรักษาพบน้อยในผู้ชาย

เภสัชจลนศาสตร์

การดูดซึม : โอเซลทามิเวียจะถูกดูดซึมอย่างรวดเร็วจากทางเดินอาหารหลังการกินยาในรูปของโอเซลทามิเวียฟอส-เฟต จากนั้นจะถูกเปลี่ยนอย่างรวดเร็วโดยเอนไซม์ esterases จากตับและ/หรือลำไส้ไปเป็นเมตะบอไลท์ที่ออก ฤทธิ์ ยาที่รับประทานอย่างน้อย 75% จะเข้าไปในกระแสเลือดในรูปของเมตะบอไลท์ที่ออกฤทธิ์ สารเริ่มต้นจะมี เหลือน้อยกว่า 5% เมื่อเทียบกับเมตะบอไลท์ที่ออกฤทธิ์ ความเข้มข้นในพลาสมาของทั้งสารเริ่มต้นและเมตะบอ-ไลท์ที่ออกฤทธิ์จะเป็นสัดส่วนกับขนาดยาและไม่ถูกรบกวนโดยอาหารที่ได้รับพร้อมกัน (ดูขนาดยาและวิธีใช้)

การกระจายยา : ในคนปริมาตรการกระจายยาโดยเฉลี่ย (Vss) ของสารเมตะบอไลท์ที่ออกฤทธิ์มีค่าประมาณ 23 ลิตร การออกฤทธิ์จะเกิดที่บริเวณติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ที่สำคัญทั้งหมดดังที่แสดงจากผลการศึกษาที่ทำในตัวเฟอเร็ท (ferret) หนูและกระต่าย ในการศึกษานี้เมื่อให้สัตว์ทดลองกินโอเซลทามิเวียฟอสเฟตจะตรวจพบความเข้มข้น ของสารเมตะบอไลท์ที่มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อไวรัสที่ปอด brochioalveolar lavage เยื่อเมือกจมูก หูชั้นกลางและ trachea สารเมตะบอไลท์ที่ออกฤทธิ์จะจับกับพลาสมาโปรตีนของคนน้อยมาก (ประมาณ 3%)

การเมตะบอลิสม : โอเซลทามิเวียฟอสเฟต จะถูกเปลี่ยนอย่างรวดเร็วโดยเอนไซม์ esterases ซึ่งอยู่ที่ตับและลำไส้ไปเป็น สารเมตะบอไลท์ที่ออกฤทธิ์ ทั้งโอเซลทามิเวียและสารเมตะบอไลท์ที่ออกฤทธิ์จะไม่แทนที่หรือยับยั้ง cytochrome isoforms ดังนั้น จึงไม่น่าจะเกิดปฏิกิริยาต่อกันอันเนื่องจากการแย่งที่จับของเอนไซม์เหล่านี้ (ดูหัวข้อปฏิกิริยา ต่อกัน)

การกำจัดออก : โอเซลทามิเวียที่ถูกดูดซึมเข้าไปมากกว่า 90% จะถูกกำจัดออกโดยการเปลี่ยนไปเป็นสารเมตะบอไลท์ที่ ออกฤทธิ์ซึ่งจะไม่ถูกเปลี่ยนแปลงต่อไปและจะถูกขับออกทางปัสสาวะ ในผู้ป่วยส่วนใหญ่ค่าความเข้มข้นของสาร เมตะบอไลท์ที่ออกฤทธิ์ในพลาสมาจะลดลงโดยมีค่าครึ่งชีวิต 6-10 ชั่วโมง สารออกฤทธิ์จะถูกขับออกมาทางไตเกือบหมด (>99%) ค่าการกำจัดออกทางไต (Renal clearance = 18.8 ลิตร/ชั่วโมง) มากกว่าอัตราการกรองผ่านกรวยไต (7.5 ลิตร/ชั่วโมง) แสดงว่าเกิดการหลั่งผ่านท่อไตเสริม กับการกรองผ่านกรวยไต ยาที่กินเข้าไปน้อยกว่า 20% จะถูกขับออกทางอุจจาระ

เภสัชจลนศาสตร์ในสภาวะพิเศษทางคลินิก

ผู้ป่วยที่ไตเสื่อม : เมื่อให้แทมิฟลู 100 มก. วันละสองครั้งเป็นเวลาห้าวันแก่ผู้ป่วยที่มีไตเสื่อมในระดับต่างๆ พบว่าการได้ รับสารเมตะบอไลท์ที่ออกฤทธิ์จะเป็นสัดส่วนผกผันกับความเสื่อมของไต ควรปรับขนาดยาในผู้ป่วยที่มีค่าครีเอ-ตินินเคลียแรนซ์ต่ำกว่า 30 มล./นาที ยังไม่มีข้อมูลในผู้ป่วยที่ไตวาย (ค่าครีเอตินินเคลียแรนซ์ต่ำกว่า 10 มล./ นาที) ดังนั้นจึงควรให้ความระมัดระวังเมื่อให้ยากับผู้ป่วยกลุ่มนี้ (ดูข้อควรระวังและคำแนะนำในขนาดยาพิเศษ)

ผู้ป่วยที่ตับเสื่อม : จากการศึกษาในหลอดทดลองพบว่าในผู้ป่วยที่ตับเสื่อมการได้รับโอเซลทามิเวียไม่เพิ่มอย่างมีนัยสำคัญ หรือสารเมตะบอไลท์ที่ออกฤทธิ์ไม่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ (ดูคำแนะนำในขนาดยาพิเศษ)

ผู้สูงอายุ : ในผู้ป่วยสูงอายุ (อายุระหว่าง 65-78 ปี) เมื่อได้รับแทมิฟลูในขนาดที่เท่ากับผู้ใหญ่ที่อายุน้อย พบว่าผู้ สูงอายุจะมีสารเมตะบอไลท์ที่ออกฤทธิ์ที่ภาวะคงที่สูงกว่าที่พบในผู้ใหญ่ที่อายุน้อยประมาณ 25-35% ค่าครึ่งชีวิต ของยาที่พบในผู้สูงอายุคล้ายคลึงกับที่พบในผู้ใหญ่ที่อายุน้อย จากหลักการของการได้รับยาและการทนต่อยา จึงไม่จำเป็นต้องปรับขนาดยาในผู้สูงอายุ (ดูคำแนะนำในขนาดยาพิเศษ)

เด็ก : มีการศึกษาเภสัชจลนศาสตร์ของแทมิฟลูในเด็กอายุ 5 ถึง 18 ปีโดยการให้ยาเพียงครั้งเดียวในรูปของ ผงสำหรับละลายเพื่อใช้ดื่มในขนาดยา 2 มก./กก. ข้อมูลทางเภสัชจลนศาสตร์แสดงว่าในเด็กที่อายุน้อยจะ สามารถขับสารตั้งต้นและสารเมตะบอไลท์ที่ออกฤทธิ์ได้เร็วกว่าเด็กที่อายุมากเป็นผลให้ได้รับยาน้อยกว่าขนาดยาที่ให้เป็นในขนาดเป็นมิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัม ขนาดยา 2 มก./กก.ที่ให้กับเด็กอายุ 5-8 ปีจะเทียบ เท่ากับยาที่ผู้ใหญ่ได้รับในขนาดหนึ่งแคปซูลขนาด 75 มก. (ประมาณ 1 มก./กก.) เมื่อเด็กอายุมากขึ้น ความแตกต่างของการได้ยาในเด็กและผู้ใหญ่ (เทียบเป็นค่าขนาดยา มก./กก.) จะน้อยลง เช่น เด็กอายุมากกว่า 12 ปีจะได้รับยาในขนาดที่ใกล้เคียงกับที่พบในผู้ใหญ่

ขนาดยาและการให้

ขนาดยาที่แนะนำของแทมิฟลู คือ 75 มก.วันละสองครั้งเป็นเวลา 5 วัน การรักษาควรเริ่มภายในหนึ่ง หรือสองวันที่มีอาการโรคไข้หวัดใหญ่ แทมิฟลูอาจให้พร้อมอาหารหรือไม่ก็ได้ (ดูเภสัชจลนศาสตร์) อย่างไรก็ ตามการกินยาพร้อมอาหารอาจช่วยให้ผู้ป่วยทนยาได้ดีขึ้น

คำแนะนำขนาดยาพิเศษ

ผู้ป่วยที่มีไตเสื่อม : ไม่จำเป็นต้องปรับขนาดยาในผู้ป่วยที่มีค่าการกำจัดครีเอตินินเกิน 30 มล./นาที ในผู้ป่วยที่มีค่าการ กำจัดครีเอตินินน้อยกว่า 30 มล./นาที ควรลดขนาดยาแทมิฟลูลงเป็น 75 มก.วันละครั้งติดต่อกัน 5 วัน ยังไม่มี การศึกษาการใช้ยาในผู้ป่วยที่ไตวาย (ค่าการกำจัดครีเอตินินต่ำกว่า 10 มล./นาที) ดังนั้นจึงควรใช้ความระมัด ระวังเมื่อจะให้ยาในผู้ป่วยกลุ่มนี้ (ดูเภสัชจลนศาสคร์ในสภาวะคลินิกพิเศษและข้อควรระวัง)

ผู้ป่วยที่มีตับเสื่อม : ไม่จำเป็นต้องปรับขนาดยาในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของตับ (ดูเภสัชจลนศาสตร์ในสภาวะคลินิกพิเศษ)

ผู้สูงอายุ : ไม่จำเป็นต้องปรับขนาดยาในผู้ป่วยสูงอายุ (ดูเภสัชจลนศาสตร์ในสภาวะคลินิกพิเศษ)

เด็ก : ยังไม่ทราบแน่ชัดถึงความปลอดภัยและประสิทธิภาพของแทมิฟลูในเด็ก ขณะนี้ยังมีข้อมูลด้านเภสัช- จลนศาสตร์จำกัดในเด็กบางกลุ่ม (ดูเภสัชจลนศาสตร์ในสภาวะคลินิกพิเศษ)

ข้อห้ามใช้

ผู้ที่ไวรับต่อโอเซลทามิเวียฟอสเฟต หรือสารประกอบอื่นใดในยานี้

ข้อควรระวัง

ควรปรับขนาดยาในผู้ป่วยที่มีค่าการกำจัดครีเอตินินต่ำกว่า 30 มล./นาที ยังไม่มีข้อมูลในผู้ป่วยที่ไตวาย (ค่าการกำจัดครีเอตินินต่ำกว่า 10 มล./นาที) ดังนั้นจึงควรใช้ความระมัดระวังเมื่อใช้ยาในผู้ป่วยกลุ่มนี้ (ดูเภสัชจลนศาสตร์ในสภาวะคลินิกพิเศษและคำแนะนำขนาดยาพิเศษ)

หญิงมีครรภ์และแม่ที่ให้นมลูก

การศึกษาการสืบพันธุ์ในหนูและกระต่ายไม่พบผลต่อการเกิดทารกวิรูป มีการศึกษาความเป็นพิษต่อการ ปฏิสนธิและการสืบพันธุ์ในหนู ไม่พบอุบัติการณ์ของผลต่อการปฏิสนธิที่ขนาดยาโอเซลทามิเวียในขนาดต่างๆ การตายในหนูและกระต่ายมีประมาณ 15-20% ขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลเพียงพอที่จะประเมินผลของโอกาสเสี่ยงที่โอเซลทามิเวียฟอสเฟตอาจทำให้เกิดความ ผิดปกติของตัวอ่อนหรือความเป็นพิษต่อตัวอ่อนในหญิงมีครรภ์ ดังนั้นการใช้แทมิฟลูในหญิงมีครรภ์จึงควรใช้ เฉพาะเมื่อผลการรักษาที่ได้คุ้มกับความเสี่ยงต่ออันตรายที่เกิดขึ้นกับตัวอ่อน ในหนูที่ให้นมลูกโอเซลทามิเวียและสารเมตะบอไลท์ที่ออกฤทธิ์จะถูกขับออกมาทางน้ำนม ยังไม่ทราบ แน่ว่าโอเซลทามิเวียหรือสารออกฤทธิ์จะถูกขับออกมาทางน้ำนมของคนหรือไม่ แต่จากการประเมินผลจากข้อมูลที่ พบจากสัตว์อาจประมาณได้ว่าโอเซลทามิเวียและสารออกฤทธิ์จะถูกขับออกมาในขนาด 0.01 มก./วัน และ 0.3 มก./วันตามลำดับ ดังนั้นการใช้แทมิฟลูในแม่ที่ให้นมลูกจึงควรใช้เฉพาะเมื่อผลการรักษาที่ได้คุ้มค่ากับความเสี่ยง ต่ออันตรายต่อทารก

อาการไม่พึงประสงค์

จากการศึกษาทางคลินิก ผู้ป่วย 943 รายที่ได้รับโอเซลทามิเวียฟอสเฟต พบว่า อาการไม่พึงประสงค์ที่ พบบ่อยที่สุด คือ คลื่นไส้และอาเจียน อาการ
ที่มา https://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=210&sub_id=52&ref_main_id=3

อัพเดทล่าสุด