ยากลุ่ม Prokinetic agents ในการรักษาโรคไหลย้อนจากกระเพาะอาหารสู่หลอดอาหาร


910 ผู้ชม


ปัจจุบันมียาหลายชนิดที่ใช้รักษาโรคไหลย้อนจากกระเพาะอาหารสู่หลอดอาหาร เช่น ยาเคลือบกระเพาะอาหารรักษาแผล ได้แก่ ยา antacid ที่มีหลายชนิด ยากลุ่มนี้จะช่วยลดความเป็นกรดในกระเพาะอาหารและใช้ได้ผลในผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรงหรือมีอาการแสบหน้าอกเป็นครั้งคราว         ปัจจุบันมียาหลายชนิดที่ใช้รักษาโรคไหลย้อนจากกระเพาะอาหารสู่หลอดอาหาร เช่น ยาเคลือบกระเพาะอาหารรักษาแผล ได้แก่ ยา antacid ที่มีหลายชนิด ยากลุ่มนี้จะช่วยลดความเป็นกรดในกระเพาะอาหารและใช้ได้ผลในผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรงหรือมีอาการแสบหน้าอกเป็นครั้งคราว 

ยาลดการหลั่งกรดที่สำคัญมี 2 กลุ่ม

  • ยากลุ่มที่ 1 ได้แก่ยา H2 blockers ยากลุ่มนี้สามารถลดการหลั่งกรดได้บางส่วน และลดอาการได้ประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยที่เป็นโรคไหลย้อน
  • ยากลุ่มที่ 2 ได้แก่ยา proton-pump inhibitors ยากลุ่มนี้สามารถลดกรดได้มากกว่ายากลุ่มแรก และลดอาการแสบหน้าอกได้ผลร้อยละ 60-80ของผู้ป่วยและสามารถรักษาแผลหลอดอาหารอักเสบได้ผลร้อยละ 60-75

อีกกลุ่มหนึ่งเป็นยาที่เรียกว่า Prokinetic agents ช่วยเสริมฤทธิ์ประสาทโคลิเนอจิก นิยมใช้ก่อนเริ่มรักษาด้วยยาลดกรดในเด็กที่ไม่พบว่าหลอดอาหารอักเสบ เนื่องจากออกฤทธิ์โดยตรงที่การเคลื่อนไหวของเยื่อบุทางเดินอาหาร ยาในกลุ่มนี้ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันได้แก่ เมโทโคลพราไมด์ Metoclopramide และ ซิสซาไพรด์ Cisapride

  • เมโทโคลพราไมด์ Metoclopramide เป็นยาที่ออกฤทธิ์ต้านสารโดปามีน โดยเพิ่มแรงบีบที่กล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารส่วนปลาย และทำให้อาหารเคลื่อนตัวออกจากกระเพาะเร็วขึ้น กลไกการกระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อเรียบของยานี้ช่วยให้การไหลย้อยเกิดขึ้นน้อยลงมาก ขนาดที่ใช้ ผู้ใหญ่ รับประทาน 10-15 มิลลิกรัม วันลัสี่ครั้ง ในเด็กใช้ขนาด 0.1 มิลลิกรัม/กิโลกรัม/ครั้ง เมื่อเริ่มใช้ยาอาจพิจารณาใช้ในรูปของยารับประทาน ยาฉีดเข้าเส้นเลือด หรือยาฉีดเข้ากล้าม ห้ามใช้ในผู้ป่วยโรคฟีโอโครโมซัยโตมา ผู้ป่วยเลือดออกจากทางเดินอาหาร ลำไส้อุดตัน ลำไส้ทะลุ 
    และผู้ที่มีประวัติของโรคลมชัก
  • ซิสซาไพรด์ Cisapride หรือชื่อการค้า Propulsid ออกฤทธิ์กระตุ้นการหลั่งสารอะซิติลโคลีนจากปลายประสาทที่เยื่อบุทางเดินอาหาร และเพิ่มแรงบีบของกล้ามเนื้อหูรูดที่หลอดอาหารส่วนปลาย ขนาดที่ใช้ ผู้ใหญ่และเด็ก 0.2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม/ครั้ง รับประทานวันละสี่ครั้ง ก่อนอาหารและก่อนนอน การใช้ยาชนิดนี้ต้องระวังผลต่อการเต้นของหัวใจ เนื่องจากเคยมีรายงานผู้ป่วย 341 รายที่มีปัญหาหัวใจเต้นผิดจังหวะ และเสียชีวิต 80 ราย ปัจจุบันในต่างประเทศจะตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจก่อนเสมอ และไม่ใช้ยานี้ในผู้ที่มี ช่วง QT ที่มากเกิน 450 ms ส่วนผลข้างเคียงอื่นๆ ได้แก่ ท้องเสียและปวดท้อง

โรคไหลย้อนจากกระเพาะอาหารสู่หลอดอาหาร หรือ “GERD” (Gastroesophageal Reflux Disease) เป็นภาวะที่น้ำย่อยจากกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับขึ้นไปในหลอดอาหาร ทำให้เกิดอาการสำคัญ ได้แก่ อาการแสบร้อนบริเวณหน้าอก และมีรสเปรี้ยวหรือรสขมไหลย้อนขึ้นมาในปาก การไหลย้อนนี้ถ้าเป็นเรื้อรังอาจทำให้เกิดพยาธิสภาพในหลอดอาหารขึ้น ได้แก่ หลอดอาหารอักเสบ มีเลือดออกจากหลอดอาหาร และถ้าหลอดอาหารอักเสบเรื้อรังและรุนแรง อาจจะทำให้ปลายหลอดอาหารตีบและเกิดการเปลี่ยนแปลงของเซลล์เยื่อบุหลอดอาหารได้ ถ้าการเปลี่ยนแปลงของเซลล์เยื่อบุหลอดอาหารเป็นขั้นรุนแรง อาจกลายเป็นมะเร็งหลอดอาหารได้ในที่สุด

สาเหตุสำคัญของ GERD โรคนี้เกิดได้จากหลายสาเหตุ อาทิเช่น ความผิดปกติของหูรูดส่วนปลายหลอดอาหารที่ทำหน้าที่ป้องกันกรดไหลย้อน จากกระเพาะอาหารมีความดันของหูรูดต่ำ หรือเปิดบ่อยกว่าคนปกติ ความผิดปกติเหล่านี้อาจเกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ และยาบางชนิดเช่น ยารักษาโรคหอบหืดบางตัว นอกจากนี้ความผิดปกติในการบีบตัวของหลอดอาหารทำให้อาหารที่รับประทานลงช้า หรืออาหารที่ไหลย้อนขึ้นมาจากกระเพาะอาหารค้างอยู่ในหลอดอาหารนานกว่าปกติความผิดปกติของการบีบตัวของกระเพาะอาหาร ทำให้อาหารค้างอยู่ในกระเพาะอาหารนานกว่าปกติทำให้เพิ่มโอกาสการไหลย้อนของกรดจากกระเพาะอาหารสู่หลอดอาหารมากขึ้น อาหารประเภทไขมันสูงและช็อกโกแลต จะทำให้กระเพาะอาหารบีบตัวลดลง สำหรับสาเหตุทางพันธุกรรมโรคนี้พบได้บ่อยในคนชาวตะวันตกผิวขาว มากกว่าชาวตะวันตกผิวดำ และคนเอเชีย
ที่มา https://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=207&sub_id=52&ref_main_id=3

อัพเดทล่าสุด