เตือนใจ...เมื่อใช้ยา


1,131 ผู้ชม


ในชีวิตประจำวันเมื่อเราเจ็บไข้ได้ป่วยเพียงเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่สามารถหายาทานเอง หรือกรณีที่ยังไม่สามารถไปพบแพทย์ได้ เราจำเป็นต้องพึ่งยาที่มีติดบ้านไว้ประจำ เพื่อรักษา         ในชีวิตประจำวันเมื่อเราเจ็บไข้ได้ป่วยเพียงเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่สามารถหายาทานเอง หรือกรณีที่ยังไม่สามารถไปพบแพทย์ได้ เราจำเป็นต้องพึ่งยาที่มีติดบ้านไว้ประจำ เพื่อรักษา 

หรือบรรเทาอาการก่อนไปพบแพทย์ ยาพื้นฐานที่ทุกครอบครัวมักมีไว้ติดบ้านประจำเผื่อไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน เช่น พาราเซตามอล คลอร์เฟนิรามีน ยาแก้ไอน้ำดำ เป็นต้น ท่านทราบข้อบ่งใช้ วิธีใช้ และข้อควรระวังของยาเหล่านี้หรือไม่ และยาเหล่านี้บางตัวแม้ว่าจะมีประโยชน์อย่างมากและมีความปลอดภัยสูง แต่หากใช้ไม่ถูกต้อง ก็อาจเป็นอันตรายร้ายแรงได้เช่นกัน

พาราเซตามอล เป็นยาลดไข้แก้ปวดที่ใช้แพร่หลายกันมากที่สุด ใช้ลดไข้และแก้ปวด เช่น ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดประจำเดือน เป็นต้น ยาตัวนี้ถือว่ามีความปลอดภัย ไม่ระคายเคืองต่อกระเพาะอาหารเหมือนแอสไพริน ยาชนิดนี้มีขายอยู่ในท้องตลาดทั้งชนิดเม็ดสำหรับผู้ใหญ่ และชนิดน้ำเชื่อมสำหรับเด็ก ในผู้ใหญ่แนะนำให้ใช้ยาพาราเซตามอล ขนาด 500 มิลลิกรัม 1 – 2 เม็ด ทุก ๆ 4 – 6 ชั่วโมง แต่ไม่ความกินยาเกิน 8 เม็ดต่อวัน สำหรับเด็ก เนื่องจากยาที่มีจำหน่ายมีหลายขนาดตามอายุ จึงควรใช้ยาตามขนาดที่แจ้งอยู่ในฉลากยา แต่ทั้งนี้ขนาดที่แนะนำใช้ในเด็กจะเป็น 10 – 15 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักตัวเด็ก 1 กิโลกรัม แต่อย่างไรก็ตาม หากไม่แน่ใจในขนาดยาที่ใช้ หรือเด็กอายุน้อยกว่า 3 ปี ก็ควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรก่อนใช้ยา และหากใช้ยานี้แล้วอาการไม่ดีขึ้นหรือไข้ไม่ลดก็ควรพบแพทย์

ข้อควรระวัง : ถ้าใช้ยาเกินขนาดมากๆ เช่น 20 เม็ด ก็จะเป็นพิษต่อตับ หรือตับวาย ถึงตายได้เช่นกัน

คลอร์เฟนิรามีน เป็นยาที่จัดได้ว่าสารพัดประโยชน์ และราคาค่อนข้างถูก ใช้ลดน้ำมูกใส ๆ และบรรเทาอาการแพ้ต่างๆ หรืออาการคัน มีจำหน่ายทั้งชนิดเม็ด และชนิดน้ำ รับประทานตามขนาดที่ระบุไว้ โดยปกติครั้งละ 1 เม็ด วันละ 2 – 3 ครั้ง

ข้อควรระวัง : ยานี้มักทำให้ง่วงนอน มึนงง หากต้องขับรถหรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ควรระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง อาจมีอาการปากคอแห้ง ใจสั่น อาจทำให้เสมหะเหนียว ขับออกยาก จึงไม่ควรใช้ในผู้ป่วยที่มีอาการไอมีเสมหะร่วมด้วย

ยาแก้ไอน้ำดำ เป็นยาอีกตัวหนึ่งที่นิยมกันมาก และมีราคาถูก ใช้รักษาอาการไอแห้ง ๆ ไม่มีเสมหะ การรับประทานยานี้ที่ถูกต้อง ควรรับประทานตามเวลาที่กำหนด คือวันละ 3 – 4 ครั้ง แต่พบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่มักนิยมจิบบ่อย ๆ เวลาไอ ซึ่งอาจเป็นอันตรายได้ เนื่องจากได้รับทิงเจอร์ ฝิ่นมากเกินไป อาจทำให้ง่วง มึนงง คลื่นไส้ ท้องผูก ยานี้ยังห้ามใช้ในเด็กเล็ก หญิงมีครรภ์ และในคนที่ไอมีเสมหะเหนียวหรือไอจากความผิดปกติอื่น ๆ เช่น หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ จะทำเสมหะเหนียว อุดตันทางเดินหายใจเป็นอันตรายได้

วิธีระงับอาการไอที่ดีที่สุด คือ

  • การดื่มน้ำอุ่นบ่อยๆ
  • การใช้ยาอม เช่น ยาอมมะแว้ง สามารถช่วยลดอาการไอได้ ยาแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ใช้ขับลม แก้ท้องอืด แก้ปวดท้องเนื่องจากมีลมในกระเพาะอาหาร เป็นยาที่มีความปลอดภัย มีทั้งชนิดน้ำ เช่น ยาธาตุน้ำแดง และชนิดเม็ด เช่น ยาเม็ดโซดามินต์ นอกจากนี้ น้ำขิง (ขิงแก่ต้มน้ำตาล) ก็สามารถแก้ท้องอืดท้องเฟ้อได้

รู้ถึงสรรพคุณและข้อควรระวังในการใช้ยาเหล่านี้กันแล้ว ก็ควรเพิ่มความระมัดระวังการใช้ให้มากขึ้น ใช้ยาให้ถูกโรค ถูกเวลา และถูกขนาด แต่ถ้าหากใช้ยาถูกต้องตามนี้แล้วอาการยังไม่ดีขึ้นก็ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

อัพเดทล่าสุด