ผลของยาอื่น ๆ ต่อยาเม็ดคุมกำเนิด


1,344 ผู้ชม


ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดรับประทาน (Oral Contraceptives) คงเป็นที่รู้จักกันดี และคงมีหลายๆคนเคยได้ใช้มาบ้างแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการใช้สำหรับคุมกำเนิด, ใช้ลดความมันบนใบหน้าเพื่อลดสิว หรือการใช้เพื่อปรับระดับฮอร์โมนในร่างกายให้สมดุล         ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดรับประทาน (Oral Contraceptives) คงเป็นที่รู้จักกันดี และคงมีหลายๆคนเคยได้ใช้มาบ้างแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการใช้สำหรับคุมกำเนิด, ใช้ลดความมันบนใบหน้าเพื่อลดสิว หรือการใช้เพื่อปรับระดับฮอร์โมนในร่างกายให้สมดุล 

ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดรับประทาน (Oral Contraceptives) คงเป็นที่รู้จักกันดี และคงมีหลายๆคนเคยได้ใช้มาบ้างแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการใช้สำหรับคุมกำเนิด, ใช้ลดความมันบนใบหน้าเพื่อลดสิว หรือการใช้เพื่อปรับระดับฮอร์โมนในร่างกายให้สมดุล

แต่ท่านทราบหรือไม่ว่า การทานยาอื่นๆ ในขณะที่ทานยาคุมกำเนิดอยู่ทุกวัน อาจส่งผลให้ฤทธิ์ของยาคุมกำเนิดลดลงจนอาจถึงขั้นไม่สามารถป้องกันการเกิดการตั้งครรภ์ได้ ดังนั้นในครั้งนี้เราจะมาว่ากันถึงยาที่มีผลทำให้ฤทธิ์ของยาคุมกำเนิดเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งสำคัญสำหรับผู้ที่ทานยาคุมกำเนิดชนิด 21 เม็ด หรือ 28 เม็ด โดยที่หวังผลคุมกำเนิด แต่ไม่ได้ครอบคลุมถึงผู้ที่ทานยาคุมกำเนิดชนิด 21 เม็ด หรือ 28 เม็ด เพื่อหวังผลลดสิว, ปรับฮอร์โมนในร่างกาย หรือผลอื่นๆที่ไม่เกี่ยวกับการคุมกำเนิด

โดยปกติยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดรับประทาน สามารถแบ่งได้หลายประเภทแล้วแต่วิธีการแบ่ง แต่หากแบ่งตามวัตถุประสงค์ในการใช้คุมกำเนิด จะแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

  1. ยาคุมกำเนิดที่รับประทานเป็นช่วงเวลาแน่นอน จะเป็นรูปแบบแผง ทานทุกวัน หรือทานหมดแผงแล้วหยุด 7 วัน จะใช้คุมกำเนิดแบบที่มีการวางแผนคุมกำเนิดไว้แล้ว
  2. ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน หรือยาคุมกำเนิดหลังมีเพศสัมพันธ์ (Postcoital Contraceptives) ซึ่งจะใช้คุมกำเนิดเฉพาะกรณีที่มีเพศสัมพันธ์โดยที่ไม่มีการวางแผนมาก่อน, หรือใช้ป้องกันการตั้งครรภ์กรณีเกิดความผิดพลาดจากวิธีการคุมกำเนิดอื่นๆ เช่น ถุงยางอนามัยรั่ว, ลืมทานยาเม็ดคุมกำเนิด เป็นต้น ซึ่งยาคุมประเภทนี้จะให้ผลในการป้องกันการตั้งครรภ์ได้น้อยกว่าประเภทที่ทานเป็นช่วงเวลาแน่นอน และถึงแม้จะใช้ยาอย่างถูกวิธีทุกประการ ก็ยังอาจเกิดการตั้งครรภ์ได้ ดังนั้นจึงไม่ควรใช้ยาคุมกำเนิดประเภทนี้ตลอด จะใช้เฉพาะกรณีที่จำเป็นจริงๆเท่านั้น และในที่นี้จะไม่ได้กล่าวถึงผลของยาอื่นๆที่มีผลกระทบต่อฤทธิ์ของยาคุมกำเนิดแบบฉุกเฉิน

ยาเม็ดคุมกำเนิดทั้งหมดจะประกอบด้วยฮอร์โมน ซึ่งอาจเป็นฮอร์โมนหนึ่ง หรือสองชนิด (แล้วแต่ชนิด และยี่ห้อของยาเม็ดคุมกำเนิด) โดยเมื่อรับประทานเข้าสู่ร่างกาย จะทำให้มีระดับฮอร์โมนในร่างกายเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้เกิดการป้องกันการตั้งครรภ์ แต่ถ้าหากมีปัจจัยใดก็ตามที่ทำให้ระดับฮอร์โมนในร่างกาย (จากยาเม็ดคุมกำเนิด) ไม่สูงขึ้นอย่างเพียงพอหลังจากทานยาเม็ดคุมกำเนิดแต่ละเม็ด ก็จะทำให้ฤทธิ์ในการป้องกันการเกิดการตั้งครรภ์ของยาลดลงไปด้วย

มียาหลายชนิดที่เมื่อได้รับในระหว่างที่รับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดอยู่ จะทำให้ระดับฮอร์โมนในร่างกายจากยาเม็ดคุมกำเนิดเปลี่ยนแปลงไป ส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยาเม็ดคุมกำเนิด และประสิทธิภาพในการคุมกำเนิด ซึ่งอาจส่งผลกระทบได้ตั้งแต่มีเลือดออกกะปริบกะปรอย ไปจนถึงเกิดการตั้งครรภ์ได้ ซึ่งได้รวบรวมไว้ดังตาราง

รายการยาที่มีผลทำให้ฤทธิ์ของยาคุมกำเนิดลดลง

ชื่อยา หรือกลุ่มยาที่ให้ร่วมกัน กลไกที่ทำให้ฤทธิ์ของยาเม็ดคุมกำเนิดลดลง หมายเหตุ
1. Carbamazepine (Tegretol) เหนี่ยวนำให้เอนไซม์ที่ทำหน้าที่ขับยาฮอร์โมนออกจากร่างกายมีปริมาณมากขึ้น ทำให้มียาฮอร์โมนที่ถูกขับออกจากร่างกายมากขึ้น ผลเหนี่ยวนำที่ทำให้เอนไซม์เพิ่มขึ้นอาจยังคงอยู่แม้จะหยุดยาที่เหนี่ยวนำไปแล้ว 4 สัปดาห์
2. Oxcarbazepine (Trileptal) เหนี่ยวนำให้เอนไซม์ที่ทำหน้าที่ขับยาฮอร์โมนออกจากร่างกายมีปริมาณมากขึ้น ทำให้มียาฮอร์โมนที่ถูกขับออกจากร่างกายมากขึ้น ผลเหนี่ยวนำที่ทำให้เอนไซม์เพิ่มขึ้นอาจยังคงอยู่แม้จะหยุดยาที่เหนี่ยวนำไปแล้ว 4 สัปดาห์
3. Phenytoin (Dilantin) เหนี่ยวนำให้เอนไซม์ที่ทำหน้าที่ขับยาฮอร์โมนออกจากร่างกายมีปริมาณมากขึ้น ทำให้มียาฮอร์โมนที่ถูกขับออกจากร่างกายมากขึ้น ผลเหนี่ยวนำที่ทำให้เอนไซม์เพิ่มขึ้นอาจยังคงอยู่แม้จะหยุดยาที่เหนี่ยวนำไปแล้ว 4 สัปดาห์
4. Phenobarbital เหนี่ยวนำให้เอนไซม์ที่ทำหน้าที่ขับยาฮอร์โมนออกจากร่างกายมีปริมาณมากขึ้น ทำให้มียาฮอร์โมนที่ถูกขับออกจากร่างกายมากขึ้น และทำให้โปรตีนในเลือดมีความสามารถจับกับยาฮอร์โมนได้เพิ่มมากขึ้น ทำให้มีฮอร์โมนอิสระที่ออกฤทธิ์ได้ลดลง ผลเหนี่ยวนำที่ทำให้เอนไซม์เพิ่มขึ้นอาจยังคงอยู่แม้จะหยุดยาที่เหนี่ยวนำไปแล้ว 4 สัปดาห์
5. Primidone เหนี่ยวนำให้เอนไซม์ที่ทำหน้าที่ขับยาฮอร์โมนออกจากร่างกายมีปริมาณมากขึ้น ทำให้มียาฮอร์โมนที่ถูกขับออกจากร่างกายมากขึ้น ผลเหนี่ยวนำที่ทำให้เอนไซม์เพิ่มขึ้นอาจยังคงอยู่แม้จะหยุดยาที่เหนี่ยวนำไปแล้ว 4 สัปดาห์
6. Topiramate (Topamax) เหนี่ยวนำให้เอนไซม์ที่ทำหน้าที่ขับยาฮอร์โมนออกจากร่างกายมีปริมาณมากขึ้น ทำให้มียาฮอร์โมนที่ถูกขับออกจากร่างกายมากขึ้น ผลเหนี่ยวนำที่ทำให้เอนไซม์เพิ่มขึ้นอาจยังคงอยู่แม้จะหยุดยาที่เหนี่ยวนำไปแล้ว 4 สัปดาห์
7. Rifampicin เหนี่ยวนำให้เอนไซม์ที่ทำหน้าที่ขับยาฮอร์โมนออกจากร่างกายมีปริมาณมากขึ้น ทำให้มียาฮอร์โมนที่ถูกขับออกจากร่างกายมากขึ้น ผลเหนี่ยวนำที่ทำให้เอนไซม์เพิ่มขึ้นอาจยังคงอยู่แม้จะหยุดยาที่เหนี่ยวนำไปแล้ว 4 สัปดาห์
8. Griseofulvin เหนี่ยวนำให้เอนไซม์ที่ทำหน้าที่ขับยาฮอร์โมนออกจากร่างกายมีปริมาณมากขึ้น ทำให้มียาฮอร์โมนที่ถูกขับออกจากร่างกายมากขึ้น ผลเหนี่ยวนำที่ทำให้เอนไซม์เพิ่มขึ้นอาจยังคงอยู่แม้จะหยุดยาที่เหนี่ยวนำไปแล้ว 4 สัปดาห์
9. ยาฆ่าเชื้อรากลุ่ม Azole เช่น Fluconazole (Diflucan), Itraconazole (Sporal), Ketoconazole (Nizoral) ไม่ทราบกลไกที่แน่ชัด พบว่าอาจทำให้เกิดเลือดออกกะปริบกะปรอยได้
10. ยาต้านไวรัสกลุ่ม Protease Inhibitors บางตัว เช่น Ritonavir (Norvir), Nelfinavir (Viracept), Lopinavir (Kaletra), Saquinavir (Fortovase) เหนี่ยวนำให้เอนไซม์ที่ทำหน้าที่ขับยาฮอร์โมนออกจากร่างกายมีปริมาณมากขึ้น ทำให้มียาฮอร์โมนที่ถูกขับออกจากร่างกายมากขึ้น ผลเหนี่ยวนำที่ทำให้เอนไซม์เพิ่มขึ้นอาจยังคงอยู่แม้จะหยุดยาที่เหนี่ยวนำไปแล้ว 4 สัปดาห์
11. Nevirapine (Viramune) เหนี่ยวนำให้เอนไซม์ที่ทำหน้าที่ขับยาฮอร์โมนออกจากร่างกายมีปริมาณมากขึ้น ทำให้มียาฮอร์โมนที่ถูกขับออกจากร่างกายมากขึ้น ผลเหนี่ยวนำที่ทำให้เอนไซม์เพิ่มขึ้นอาจยังคงอยู่แม้จะหยุดยาที่เหนี่ยวนำไปแล้ว 4 สัปดาห์
12. สมุนไพร St John’s Wort เหนี่ยวนำให้เอนไซม์ที่ทำหน้าที่ขับยาฮอร์โมนออกจากร่างกายมีปริมาณมากขึ้น ทำให้มียาฮอร์โมนที่ถูกขับออกจากร่างกายมากขึ้น แม้จะไม่มีข้อมูลที่มีคุณภาพดี ที่ยืนยันผลของ St John’s Wort ที่มีต่อฤทธิ์ยาคุมกำเนิด แต่แนะนำให้ระมัดระวังเช่นเดียวกับยาที่มีผลเหนี่ยวนำเอนไซม์
13. ยากลุ่ม Penicillins เช่น Ampicillin, Amoxicillin ฯลฯ รบกวนเชื้อแบคทีเรียในลำไส้ที่มีหน้าที่เพิ่มการดูดซึมกลับของยาฮอร์โมนจากลำไส้ใหญ่เข้าสู่กระแสเลือดอีกครั้ง ทำให้ระดับยาฮอร์โมนในร่างกายลดลง มีผลต่อยาคุมกำเนิดชนิดที่เป็นยาผสมระหว่างเอสโตรเจน และโปรเจสโตเจนเท่านั้น (ไม่มีผลต่อยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนโปรเจสโตเจนเดี่ยวๆ)
14. ยากลุ่ม Tetracyclines เช่น Tetracycline, Doxycycline รบกวนเชื้อแบคทีเรียในลำไส้ที่มีหน้าที่เพิ่มการดูดซึมกลับของยาฮอร์โมนจากลำไส้ใหญ่เข้าสู่กระแสเลือดอีกครั้ง ทำให้ระดับยาฮอร์โมนในร่างกายลดลง มีผลต่อยาคุมกำเนิดชนิดที่เป็นยาผสมระหว่างเอสโตรเจน และโปรเจสโตเจนเท่านั้น (ไม่มีผลต่อยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนโปรเจสโตเจนเดี่ยวๆ)

รายการยาที่มีผลทำให้ฤทธิ์ของยาคุมกำเนิดเพิ่มขึ้น

ชื่อยา หรือกลุ่มยาที่ให้ร่วมกัน กลไกที่ทำให้ฤทธิ์ของยาเม็ดคุมกำเนิดเพิ่มขึ้น หมายเหตุ
1. Ascorbic acid (Vitamin C) เกิดการแข่งขันแย่งกันทำปฏิกิริยาซึ่งทำให้ยาฮอร์โมนหมดฤทธิ์ ทำให้มียาฮอร์โมนที่เกิดปฏิกิริยาแล้วหมดฤทธิ์ในร่างกายมีน้อยลง และมีฮอร์โมนที่ยังอยู่ในรูปที่ออกฤทธิ์สูงมากขึ้น ไม่มีความสำคัญในแง่ฤทธิ์ยา แต่มีความสำคัญคืออาจทำให้เกิดอาการข้างเคียงจากยาฮอร์โมนที่มีระดับเพิ่มขึ้นได้ เช่น คลื่นไส้, อาเจียน, เวียนศีรษะ
2. Acetaminophen (Paracetamol) เกิดการแข่งขันแย่งกันทำปฏิกิริยาซึ่งทำให้ยาฮอร์โมนหมดฤทธิ์ ทำให้มียาฮอร์โมนที่เกิดปฏิกิริยาแล้วหมดฤทธิ์ในร่างกายมีน้อยลง และมีฮอร์โมนที่ยังอยู่ในรูปที่ออกฤทธิ์สูงมากขึ้น ไม่มีความสำคัญในแง่ฤทธิ์ยา แต่มีความสำคัญคืออาจทำให้เกิดอาการข้างเคียงจากยาฮอร์โมนที่มีระดับเพิ่มขึ้นได้ เช่น คลื่นไส้, อาเจียน, เวียนศีรษะ
3. Atazanavir (Reyataz) เกิดการยับยั้งเอนไซม์ที่ทำหน้าที่ขับยาฮอร์โมนออกจากร่างกาย ทำให้มีระดับยาฮอร์โมนในร่างกายสูงขึ้น ไม่มีความสำคัญในแง่ฤทธิ์ยา แต่มีความสำคัญคืออาจทำให้เกิดอาการข้างเคียงจากยาฮอร์โมนที่มีระดับเพิ่มขึ้นได้ เช่น คลื่นไส้, อาเจียน, เวียนศีรษะอาจต้องพิจารณาเปลี่ยนเป็นยาฮอร์โมนโดสต่ำ ๆ หรือเลือกใช้การคุมกำเนิดวิธีอื่นแทน

แนวทางในการปฏิบัติเมื่อจำเป็นต้องใช้ยาที่มีผลทำให้ฤทธิ์ของยาเม็ดคุมกำเนิดลดลง

  • ให้ใช้วิธีการคุมกำเนิดอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ถุงยางอนามัย
  • กรณีที่จะต้องใช้ยาที่ทำให้ฤทธิ์ยาคุมกำเนิดลดลง ติดต่อกันเป็นเวลานานไม่สามารถเปลี่ยนยาได้ แนะนำให้เปลี่ยนวิธีการคุมกำเนิดเป็นวิธีที่ไม่ได้รับผลกระทบจากยา เช่น ห่วงคุมกำเนิด แต่ทั้งนี้ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางก่อน
  • ในกรณีที่ยาที่มีผลทำให้ฤทธิ์ของยาคุมกำเนิดลดลง เป็นกลไกเกี่ยวกับการเหนี่ยวนำเอนไซม์ให้ขับยาฮอร์โมนออกจากร่างกายเพิ่มขึ้น (ยากันชักเข่น Carbamazepine, Oxcarbazepine, Phenytion, Phenobarbital, Primidone, Topiramate, ยาต้านไวรัสกลุ่ม Protease เช่น Ritonavir, Nelfinavir, Lopinavir, Saquinavir, ยาต้านเชื้อไวรัส Nevirapine, ยาต้านเชื้อรา Griseofulvin, ยาต้านเชื้อ Rifampicin) ผลของการเหนี่ยวนำเอนไซม์อาจยั� 
ที่มา https://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=110&sub_id=13&ref_main_id=3

อัพเดทล่าสุด