โรคสมาธิสั้น ADHD สาระสำคัญโดยย่อ


886 ผู้ชม


โรคสมาธิสั้นหรือ ADHD Attention deficit hyperactivity disease เป็นภาวะที่ผู้ป่วยบกพร่องทางสมาธิแบบต่อเนื่อง ไม่สามารถจดจ่อกับงานที่ทำได้นาน บางทีทำก่อนคิด หรือมีภาวะไม่สามารถนิ่งเฉยได้ อาการอาจเกิดในระยะเด็กและมาถึงผู้ใหญ่ ถ้าไม่รักษาอาจเกิดปัญหาในการอยู่ร่วมกับสังคมและการดำเนินชีวิตได้

อะไรทำให้เกิด ADHD

ไม่ทราบสาเหตุ อาจจะเกิดจากสารเคมีในสมองไม่สมดุล แต่มักมีพันธุกรรมในครอบครัวเป็น

อาการของโรคสมาธิสั้น ADHD

มีสามอาการที่สำคัญ

  1. ปัญหาในการมีสมาธิและจดจ่อในงานที่ทำ จะมีปัญหาทำงานไม่เสร็จ มีอะไรรบกวนสมาธิง่าย
  2. ปัญหาในการอยู่เฉยๆ เรียกว่า hyperactive ในเด็กอาจลุกเดินวิ่งปีนไปมา ในผู้ใหญ่อาจมีปัญหาทำงานไม่ต่อเนื่อง ทำงานเงียบๆไม่ได้
  3. ทำก่อนค่อยคิด บางทีพูดโพล่งออกมา พูดเสียงดัง หัวเราะดังๆ เล่นกับเด็กคนอื่นไม่ได้ ตัดสินใจเร็วใจร้อนโดยเฉพาะในวัยรุ่น ถ้าเป็นในผู้ใหญ่อาจมีลักษณะใช้เงินมือเติบ เปลี่ยนงานบ่อย

วินิจฉัยอย่างไร

มักจะวินิจฉัยได้ในเด็กอายุช่วง 6-12 ปี โดยเฉพาะครูจะเป็นผู้พบความผิดปกตินี้ โดยแพทย์ต้องวินิจฉัยแยกโรค การเรียนรู้ช้าหรือบกพร่องหรือ LD learning disability และโรคซึมเศร้า ออกไปก่อน โดยใช้การวินิจฉัยจากไกด์ไลน์ของสมาคมจิตเวช จากบันทึกของผู้ปกครอง และครู

การรักษา

แม้ว่าจะไม่หายขาด แต่การรักษาโดยการปรับสิ่งแวดล้อม และยาจะช่วยให้เด็กสามารถปรับตัว มีความฉลาด และเรียนรู้ได้ตามปกติ ต้องระวังเวลาให้ยาอาจมีปัญหาผลข้างเคียงได้บ้างเช่น กินได้น้อย ปวดหัว ปวดท้อง คลื่นไส้ นอนไม่หลับ สั่นกระตุก หลังจากนั้นอาการเหล่านี้จะดีขึ้น
ที่มา https://www.thaihealth.net/h/article743.html

อัพเดทล่าสุด