อุปสรรคของการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก |
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * |
สิริกุล จุลคีรี : นักจิตวิทยา |
เด็กยังอ่อนเยาว์ทั้งร่างกาย ความคิดและจิตใจ ยิ่งปกป้องตนเองไม่ได้ ยังรักษาสิทธิของตนไม่ได้ และเรียกร้องสิทธิของตนไม่เป็น หากผู้ใหญ่ไม่ปกป้องคุ้มครองเด็กจะถูกจำกัดความคิดไม่ให้สร้างสรรค์ซึ่งมีอยู่โดยธรรมชาติ จะส่งผลเสียหายต่อการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก ดังนั้น จึงต้องดำเนินการเสริมสร้างให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์ อุปสรรคของการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กแบ่งออกเป็น :- 1. อุปสรรคเชิงรับรู้ (Perceptual block) เด็กจะ “เลือกเรียนรู้” เฉพาะส่วนที่ตนใส่ใจ ถ้าต่างจากการรับรู้ของผู้ใหญ่ก็มีผลเป็นอุปสรรค เช่น พ่อแม่คิดว่า เด็กคนนั้นทำไม่ได้ หรือไม่มีอะไรที่ทำได้ ไม่ฉลาดพ่อ ไม่เก่งพอ เด็กก็ไม่ได้รับมอบหมายให้ทำงาน ทางแก้ พ่อแม่ควรสนใจลูกว่าลูกสนใจอะไร และให้ลูกได้มีโอกาสใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เช่น ลูกอยากให้พ่อแม่ฟังหรือดูสิ่งที่ลูกทำอยู่ไม๊ 2. อุปสรรคเชิงอารมณ์ อารมณ์ที่เป็นอุปสรรคของความคิดสร้างสรรค์ ได้แก่ ความกลัว ความไม่สบายใจต่าง ๆ และมีการวิจัยพบว่า ภาวะทางอารมณ์ที่พร้อมจะผจญภัยกับความไม่รู้ความไม่แน่นอน กล้าลองผิดลองถูก กล้าแหวกกรอบความคิดเดิม ๆ ที่สำคัญ การลองนั้นไม่จำเป็นต้องประสบความสำเร็จเสมอไป ทางแก้ พ่อแม่ควรยอมรับอารมณ์ของตนเอง และเรียนรู้อารมณ์ของลูก ให้ลูกปรับอารมณ์ให้เปลี่ยนทางบวก เช่น ลูกกลัวเปลี่ยนให้ลูกกล้าทดลอง ลูกไม่มั่นใจเปลี่ยนให้ลูกมั่นใจ 3. อุปสรรคเชิงสภาพแวดล้อม ถ้าเด็กอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ถูกทอดทิ้ง ถูกกระทำโดยประมาณ ได้รับแต่ความเกลียดชัง ความรุนแรง ขาดความรัก ความอบอุ่น จะเสริมสร้างเด็กให้มีความก้าวร้าวรุนแรง มีการต่อต้าน ปฏิเสธ คิดหาทางแก้แค้น แก้คืน สู้กลับ ควบคุมความโกรธไม่ได้ หรือในทางตรงกันข้าม เป็นบุคลิกภาพที่ขลาดกลัว ยอมจำนน ประจบเอาใจ ถดถอย เจ้าระเบียบ ขาดความเพียบพร้อมและซึมเศร้า ยอมสงผลให้เด็กไม่ได้มีความคิดสร้างสรรค์ได้ ทางแก้ พ่อแม่ให้ลูกได้ตัดสินใจเลือกสิ่งต่าง ๆ ด้วนตนเอง ให้กำลังใจ พ่อแม่ส่งเสริมให้ค้นพบคำตอบด้วนตนเอง จัดสิ่งแวดล้อมที่สงบเงียบให้กับเด็ก พ่อแม่ควรอำนวยความสะดวก โดยจัดส่งวัสดุที่เด็กจะใช้ในการสร้างสรรค์ผลงานหลายหลาก หรือเป็นของที่ทำให้เด็กใช้จิตนาการต่อได้ เช่น ดินน้ำมัน สี ทราย ชอล์ก แป้ง สร้างบรรยากาศของการคิดอย่างอิสระ ไม่สร้างความวิตกกังวลให้เด็ก ไม่เน้นความถูกต้อง ไม่ตำหนิ หลักจิตวิทยามนุษย์นิยมแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า เด็กวัย 0 – 14 ปี และโดยเฉพาะช่วง 3 – 9 ปี เมื่อได้รับการตอบสนองความต้องการพื้นฐาน เพื่อการมีชีวิตอยู่รอด ขั้นที่ 1 – 2 คือ ความต้องการปัจจัย 4 และความปลอดภัยแล้วขั้นต่อไปเพิ่มความต้องการพื้นฐานที่ขาดไม่ได้ ขั้นที่ 3 – 4 คือ ความต้องการความรักและความภาคภูมใจ เมื่อได้รับการเติมแต่งแล้วจะสร้างกำลังใจที่เข็มแข็ง เชื่อมั่น จิตใจเจริญเติบโต มีวินัยในตน ริเริ่ม คิด ประพฤติปฏิบัติในทางที่ดีงาม ต่อไป เป็นเยาวชนและผู้ใหญ่ที่มีประสิทธิ์ผลทั้งการดำเนินชีวิตและเศรษฐกิจการงานอาชีพ |