มะเร็งเต้านม ให้ยาคีโม(เคมีบำบัด) มากไปก็ไม่มีประโยชน์


799 ผู้ชม


มะเร็งเต้านม เป็นหนึ่งในมะเร็งที่มีผลการรักษาดีมาก ทำให้การรักษาได้ผลดี เป็นที่น่าพอใจ หลายๆคนหายจากโรคได้และส่วนใหญ่ มีอัตราการหายสูง เนื่องมาจากการพัฒนายาเคมีบำบัด หรือ คีโม ที่ใช้ร่วมกับการผ่าตัด หรือฉายแสง

โดยที่เนื้อเยื่อของมะเร็ง ตอบสนองของการรักษาด้วยยาดีมาก ทำให้แพทย์หลายคนสงสัยว่า เราจะสามารถให้ยาขนาดที่สูงกว่านี้ได้หรือไม่ ในมะเร็งระยะลุกลามไปต่อมน้ำเหลืองแล้วเพื่อช่วยให้คนไข้รอดชีวิตมากขึ้น

การศึกษา จากมหาวิทยาลัยเทกซัส เกี่ยวกับการให้ยาเคมีบำบัด ขนาดสูงมากกว่าปกติ โดยหวังว่าจะช่วยให้หายขาดจากการเป็นมะเร็งที่อยู่ในระยะลุกลามไปต่อมน้ำเหลือง ซึ่งโดยขนาดที่มาก จะทำให้ไขกระดูกไม่ทำงาน จนต้องใช้ร่วมกับเสต็มเซลล์ของตัวคนไข้เอง หรือการปลุกถ่ายไขกระดูก ไปสร้างเม็ดเลือดใหม่ พบว่า ไม่ได้ผลดีไปกว่า การให้ยาเคมีบำบัด ในขนาดปกติที่เหมาะสม ในแง่ของอัตราการรอดชีวิตของคนไข้

นพ. เบอร์รี่ ผู้วิจัย กล่าวว่า ปริมาณยาที่ให้กันอยู่ทั่วไป ปัจจุบัน ก็ได้ระดับที่สูงที่สุดและผลดีที่สุดอยู่แล้ว การให้มากไป มีแต่ผลเสีย และผู้ป่วยบางคนที่ไม่ตอบสองต่อยาในขนาดนี้ ก็คงจะไม่ดีขึ้นไม่ว่าคุณจะให้ยามากขนาดไหนก็ตาม
ที่มา https://www.thaihealth.net/h/article669.html

อัพเดทล่าสุด