เคล็ดลับ สุขอนามัยช่องปากที่ดีประจำวัน


700 ผู้ชม


สวัสดีวันนี้มีเคล็ดลับดีๆ เกี่ยวกับช่องปากของคุณ อยากจะบอกว่าช่องปากเราสำคัญมาก หลายคนละเลย ไม่สนใจ พอถึงวันที่เจอปัญหาเกี่ยวกับปากและฟันก็จะคิดได้  ถึงเวลานั้นมันอาจสายไปแล้ว ฉะนั้นอย่าให้สายถึงตอนที่แก้ไขไม่ได้แล้ว แล้วสุขอนามัยช่องปากที่ดีประจำวันคืออะไร มาดูกัน         สวัสดีวันนี้มีเคล็ดลับดีๆ เกี่ยวกับช่องปากของคุณ อยากจะบอกว่าช่องปากเราสำคัญมาก หลายคนละเลย ไม่สนใจ พอถึงวันที่เจอปัญหาเกี่ยวกับปากและฟันก็จะคิดได้ ถึงเวลานั้นมันอาจสายไปแล้ว ฉะนั้นอย่าให้สายถึงตอนที่แก้ไขไม่ได้แล้ว แล้วสุขอนามัยช่องปากที่ดีประจำวันคืออะไร มาดูกัน 

แบคทีเรียสามารถอาศัยอยู่ในปากของคุณในรูปแบบของแผ่นที่ติดฟันอยู่ และยังก่อให้เกิดโรคเหงือกอักเสบ

เพื่อที่จะให้ปากของคุณสะอาด คุณต้องปฏิบัติตามสุขอนามัยช่องปากเพื่อให้ฟันของคุณมีสุขภาพที่ดีทุกๆวัน
ในแต่ละวันคุณทานอะไรเข้าไปมากมาย ไม่ว่าจะเป็นแกง ข้าว ก๋วยเตี๋ยว ขนม นมเนย ผัก อื่นๆอีกนับไม่ถ้วน แล้วปากเราจะเป็นอย่างไรหากเราไม่ได้ดูแลรักษา
แน่นอนที่สุด หากปล่อยทิ้งไว้ไม่ดีแน่นอน ง่ายๆที่คุณก็รู้ คือการแปรงฟัน ....
เราควรแปรงวันละสองครั้ง เป็นวิธีที่ง่ายที่สุดเพื่อหลีกเลี่ยงการฟันผุและโรคเหงือก แต่ต้องแปรงอย่างถูกต้องด้วยนะคะ
(อ่านต่อได้ที่ ที่นี่)
อีกวิธีที่แนะนำหลังการแปรงฟันคือการใช้ไหมขัดฟันเพื่อสุขภาพที่ดีของเหงือก เพราะว่าเวลาแปรงฟันเสร็จ เราอาจรู้สึกว่าสะอาดแล้ว แต่จริงๆ ยังมีเศษที่แปรงเข้าไปไม่ถึงซอกฟัน
นั่นเป็นทางที่ดีของการใช้ไหมเพื่อขัดฟัน ขนัดสิ่งที่ติดอยู่ตามซอกฟัน และเสร็จจากการขัดฟันแล้ว อย่าลืมไปบ้วนปากกันด้วยนะ
(แต่ไม่แนะนำให้ใช้น้ำยาบ้วนปาก เพราะว่าล่าสุด)
 ท.ญ.นพมณี วงษ์กิตติไกรวัล ทันตแพทย์กลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลราชวิถี กล่าวว่า ประชาชนส่วนใหญ่เข้าใจผิดว่า การใช้น้ำยาบ้วนปากมีไว้เพื่อกำจัดกลิ่นปาก แต่ที่จริงแล้ว เป็นเพียงการกลบกลิ่นปาก ด้วยกลิ่นของน้ำยาในระยะสั้นเท่านั้น จากนั้นไม่นานก็กลับมามีกลิ่นปากเช่นเดิม
 การใช้น้ำยาบ้วนปากติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ๆ จะทำให้ไปทำลายเชื้อแบคทีเรียที่ดี ที่อาศัยอยู่ในปากให้ตายไปด้วย อาจนำมาซึ่งเชื้อราในช่องปาก ทำให้ตุ่มรับรสของลิ้นเพี้ยนไป มีสีเคลือบผิวฟันที่เปลี่ยนแปลง หรือทำให้เกิดหินปูนได้ง่าย
แต่ใครที่ใช้อยู่ แนะนำให้เลือกน้ำยาบ้วนปากที่เชื่อถือได้ หรือสามารถนำยี่ห้อของน้ำยาปว้นปากไปปรึกษาหมอฟันที่ใกล้เคียง
ที่มา : https://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=2840&sub_id=108&ref_main_id=2

อัพเดทล่าสุด