| - Q10 คืออะไร Q10 มีชื่อเรียกกันอยู่มากมายไม่ว่าจะเป็น Co-enzyme Q10 หรือ CoQ10 หรือ Ubiquinone หรือ Ubiquinole หรือ Ubidecarenone หรือ Ubiquitous หรือ Coenzyme quinone มีชื่อเ��
|
�ียกทางเคมีว่า “2 ,3-dimethoxy-5-methyl-6-decaprenyl benzoquinone.” - จากการศึกษารายละเอียดพบว่า Q10 เป็นสารที่ร่างกายสามารถผลิตได้เองโดยธรรมชาติและมีความจำเป็นต่อร่างกาย Q10 เป็นสารประกอบคล้ายวิตามินที่มีคุณสมบัติในการละลายในไขมัน (Fat-Soluble Vitamin-like Substance) พบในเซลล์ทุกเซลล์ที่มีชีวิตในร่างกายโดยจะอยู่ที่ส่วนเยื่อหุ้ม (Membrane) ของไมโตคอนเดรีย ซึ่งไมโตคอนเดรีย (Mitochondrial) นี้ทำหน้าที่ในการผลิตพลังงานให้กับเซลล์ โดยพลังงานดังกล่าวจะอยู่ในรูปของ ATP (Adenosine Triphosphate) ซึ่งเป็นพลังงานพื้นฐานของเซลล์ Q10 ถูกพบมากในอวัยวะที่ต้องการพลังงานสูง ซึ่งจะมีจำนวนไมโตคอนเดรีย (Mitochondrial) มาก เช่น หัวใจ ตับ กล้ามเนื้อ สมอง ส่วนอวัยวะอื่นๆ ก็พบ Q10 เช่นกันแต่พบค่อนข้างน้อยเนื่องจากอวัยวะดังกล่าวต้องการพลังงานน้อยจึงมีจำนวนไมโตคอนเดรีย (Mitochondrial) น้อยตามไปด้วย
- Q10 ที่ผลิตในร่างกายนี้ สังเคราะห์มาจากกรดอะมิโนที่ชื่อ ไทโรซีน (Tyrosine) และฟีนีลอะลานิน (Phenylalanine) โดยกรดอะมิโนทั้ง 2 ตัวนี้ จะสร้างส่วนวงแหวนควิโนน (Quinone Ring) ส่วนสายยาว (side chain) สร้างมาจากอะซีติลโคเอ (Acetyl CoA)โดยอาศัยกระบวนการในร่างกายหลายขั้นตอนร่วมกันกับวิตามิน 7 ชนิด คือ วิตามินบี 2 (Riboflavin) วิตามินบี 3 (Niacinamide) วิตามินบี 6 กรดโฟลิก (Folic Acid) วิตามินบี 12 วิตามินซี และกรดแพนโททีนิก (Pantothenic Acid) ไทโรซีน (Tyrosine) ช่วยให้เซลล์แก่ช้าและควบคุมศูนย์กลางความรู้สึกหิวในไฮโปแธลลามัสส่วนใต้ของสมอง ฟีนีลอะลานิน (Phenylalanine) ช่วยการทำงานของต่อมธัยรอยด์ให้กระตุ้นการเผาผลาญอาหารของร่างกาย เป็นฮอร์โมนที่ประกอบด้วยไอโอดีนทำให้รู้สึกสดชื่นตื่นตัว อารมณ์ดี ลดความซึมเศร้า ช่วยให้ความจำดีขึ้น ช่วยไม่ให้ผมหงอก และผิวแห้งตกกระ รวมทั้งป้องกันผิวหนังอักเสบจากการแพ้แสงแดด มีรายงานเกี่ยวกับ Q10 ว่ามีประสิทธิภาพสูงในการรักษาโรค กระตุ้นภูมิคุ้มกัน และสิ่งสำคัญคือมีผลต่อการทำงานของระบบหัวใจ พบว่า Q10 ช่วยเพิ่มประสิทธิการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจอย่างชัดเจน จึงทำให้มีการจ่าย Q10 ให้กับผู้ป่วยโรคหัวใจอย่างมากมาย
- Q10 ทำงานอย่างไร Q10 ที่ร่างกายสังเคราะห์ขึ้นนี้จะทำหน้าที่เป็นเอนไซม์หลัก (Key Enzyme) ในวงจรเครป หรือวงจรกรดซิตริก (Kreb ’s or Citric Acid Cycle) ซึ่งเป็นกระบวนการที่ทำการเปลี่ยนแปลงอาหารพวกคาร์โบไอเดรตและไขมันให้อยู่ในรูปของพลังงานที่ร่างกายสามารถนำไปใช้ได้ โดยหน้าที่ของเอนไซม์ทั่วไป ก็คือจะเข้าไปช่วยเร่งปฏิกิริยาภายในร่างกาย โดยตัวของเอนไซม์เองไม่ถูกทำลาย หรือถูกเปลี่ยนแปลงเมื่อปฏิกิริยาดังกล่าวสิ้นสุดลง เนื่องจาก Q10 มีหน้าที่สำคัญในกระบวนการสร้างพลังงานให้แก่ร่างกาย ดังนั้นเมื่อระดับของ Q10 มีการเปลี่ยนแปลงไปก็จะส่งผลกระทบต่อระบบต่างๆ ของร่างกาย โดยสรุป Q10 ทำหน้าที่เกี่ยวกับการให้พลังงานแก่เซล ดังนั้นเซลที่ยังมีชีวิตก็จะมีความต้องการพลังงานเพื่อขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆ ก็จะต้องการ Q10 เช่นกัน อีกทั้งเซลที่ต้องการพลังงานสูงก็จะต้องการ Q10 มากกว่าเซลที่ต้องการพลังงานน้อย จึงเป็นเหตุที่เราจะพบ Q10 มากในเซลหัวใจ ดังนั้นหากขาด Q10 ก็จะมีผลให้การทำงานในเซลผิดปกติ ส่งผลให้เซลตายได้
- ประโยชน์ของ Q10 มีการกล่าวเกินจริงเกี่ยวกับ Q10 มากมายทั้งๆ ที่ยังอยู่ในขั้นการทดลองและยังไมได้สรุปผลออกมา เช่น หาว่าช่วยชลออาการโรคพาร์กินสัน เพิ่มแข็งแรงของผู้ป่วยโรคเอดส์ ควบคุมระดับน้ำตาลในผู้ป่วยโรคเบาหวาน เพิ่มพละกำลังในพวกนักกีฬา เป็นต้น แต่ในทางกลับกัน ก็มีหลักฐานยืนยันอย่างชัดเจนที่แสดงให้เห็นว่า Q10 ช่วยให้กล้ามเนื้อหัวใจทำงานได้ดียิ่งขึ้น ถ้าหากขาด Q10 กล้ามเนื้อหัวใจจะอ่อนแรงลงและทำงานได้ไม่ดี ทำให้มีการใช้ Q10 เกี่ยวกับการช่วยบำรุงหัวใจอย่างกว้างขวาง และในญี่ปุ่น 10%ของคนญี่ปุ่นมีการรับประทาน Q10 เป็นประจำ
1.โรคหัวใจและหลอดเลือด ในผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับปริมาณ คลอเลสเตอรอล ในเลือดสูงเกินไป จนทำให้ไปอุดตามหลอดเลือดต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเส้นเลือดไปเลี้ยงหัวใจ ทำให้หัวใจทำงานผิดปกติเนื่องจากเลือดไปเลี้ยงไม่พอ หรือกล้ามเนื้อหัวใจตายไปบางส่วน ซึ่ง Q10 ช่วยแก้ปัญหาได้โดยไปยับยั้งไม่ให้ คลอเลสเตอรอล จับเป็นก้อนอุดตันเส้นเลือด ใช้รักษา โรคหัวใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหัวใจล้มเหลวเนื่องจากเส้นเลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่เพียงพอ (congestive heart failure) ทั้งนี้ผู้ป่วย โรคหัวใจ ดังกล่าวจะมีแน้วโน้มที่จะสัมพันธ์กับการขาด Q10 ดังนั้นเมื่อผู้ป่วย โรคหัวใจ ได้รับ Q10 จึงทำให้หัวใจทำงานได้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งด้วยคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระคล้ายกับวิตามินอี Q10 จะทำหน้าที่ช่วยยับยั้งอุดตันของเส้นเลือดของ คลอเลสเตอรอล เคยมีการศึกษาในผู้ป่วย โรคหัวใจ เนื่องจากเส้นเลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่เพียงพอ (congestive heart failure) มากกว่า 2,500 คนแบ่งผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่ม โดยให้ผู้ป่วยโรคหัวใจกลุ่มหนึ่งได้รับ Q10 อีกกลุ่มหนึ่งให้ยาหลอกเพื่อดูว่า Q10 มีประโยชน์กับผู้ป่วยจริงหรือไม่ เป็นเวลา 12 เดือน ผลปรากฎว่า 80% มีอาการดีขึ้นอย่างชัดเจน อาการบวมของข้อเท้าลดลง อาการหายใจถี่ๆ ลดลง การนอนหลับดีขึ้น เมื่อผู้ป่วยที่ได้รับ Q10 ทุกวันๆ ละ 100 มิลลิกรัม ในขณะที่ผู้ป่วยที่ได้รับยาหลอกกลับมีอาการแย่ลงต้องเข้าในโรงพยาบาลมากกว่าผู้ที่ได้รับ Q10 ทั้งนี้อัตราการเสียชีวิตก็ไม่แตกต่างกัน ไม่ใช่ทุกการศึกษาที่แสดงถึงประโยชน์ของ Q10 เมื่อไม่นานนี้มีการศึกษาในผู้ป่วย โรคหัวใจ ดังกล่าวระดับปานกลางถึงรุนแเรงจำนวน 46 คน ให้รับประทาน Q10 (ไม่มีใครได้รับประทานยาหลอด) เป็นเวลา 6 เดือนพบว่าอาการต่างๆ ไม่ได้ดีขึ้น อย่างไรก็ตามยังคงต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลของ Q10 กับประสิทธิภาพในการลดอัตราการเสียชีวิตจาก โรคหัวใจ ในการรักษาอาการปวดร้าวบริเวณหน้าอก (angina) และอาการหัวใจเต้นผิดปกติ พบว่าอาการปวดร้าวบริเวณหน้าอดจะลดลงเมื่อผู้ป่วยได้รับ Q10 อีกทั้งผู้ป่วยที่มีปัญหามีอาการทำงานและการเต้นของหัวใจผิดปกติก็พบว่า Q10 มีส่วนช่วยในอาการดังกล่าวเช่นกัน นอกจากนี้ในผู้ป่วยที่มีปัญหาโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งปัจจุบันประชาชนประมาณ 1 ใน 3 มีปัญหาเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง และโรคดังกล่าวถือว่าเป็นภัยเงียบต่อกลุ่มคนดังกล่าว และก็เชื่อกันว่าผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมักมีอาการขาด Q10 การรับประทาน Q10 อาจจะช่วยให้อาการความดันโลหิตสูงดีขึ้น และยังช่วยอาการแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นอีกด้วย จะเห็นได้ว่า Q10 มีประโยชน์กับผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับ โรคหัวใจ และหลอดเลือดอย่างชัดเจน 2.โรคอัลไซเมอร์ โรค อัลไซเมอร์ เป็นโรคของการเสื่อมทางสติปัญญาที่พบได้เมื่อวัยมากขึ้น อาการของโรคนี้ คือ ความจำเสื่อม หลงลืมตัวเองและคนในครอบครัว ซึมเศร้า สับสน นอนไม่หลับ ไม่สามารถควบคุมการทำงานของร่างกายได้ สาเหตุเกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรม ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม เช่น การได้รับบาดเจ็บ เลือดคลั่งในศรีษะ และความเสียหายที่เกิดจากการทำลายโดยอนุมูลอิสระ (free radical) การรับ Q10 เข้าไปในร่างกายสามารถช่วยป้องกันโรคอัลไซเมอร์ได้เนื่องจากใน Q10 มี ฟีนีลอะลานิน (Phenylalanine) ช่วยการทำงานของต่อมไทรอยด์ให้กระตุ้นการเผาผลาญอาหารของร่างกาย เป็นฮอร์โมนที่ประกอบด้วย ไอโอดีนทำให้รู้สึกสดชื่นตื่นตัว อารมณ์ดี ลดความซึมเศร้า ช่วยให้ความจำดีขึ้น และเนื่องจากคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระของ Q10 ที่สามารถช่วยปกป้องการทำลายของอนุมูลอิสระในสมอง และโรคชรา จะเห็นได้ว่าหมอบางคนแนะนำให้กับผู้ป่วยที่อายุเกินกว่า 50 ปีขึ้นไปให้รับประทาน Q10 เพื่อที่จะช่วยอาการขี้หลงขี้ลืม และช่วยชลอการทำลายของเซลสมองอันเนื่องมาจากโรค อัลไซเมอร์ และโรคชรา แต่อาการจะมากหรือน้อยก็ขึ้นกับผู้ป่วยแต่ละคนด้วย 3. ลดริ้วรอย ชะลอการเสื่อมของเซลล์ผิวหนัง Q10 เป็นสารต้านออกซิเดชั่น (Antioxidant) และเป็นสารธรรมชาติที่ร่างกายมนุษย์สามารถสังเคราะห์ขึ้นได้เอง ดังนั้นจึงนำ Q10 มาใช้เป็นเครื่องสำอางสำหรับลดการเกิดริ้วรอย ชะลอการเสื่อมของเซลล์ผิวหนังจากแสงแดด (Photoaging)กล่าวคือ ผิวหนังจะมีหน้าที่ในการป้องกันสารพิษ เชื้อโรค และรังสีอุลตราไวโอเลต (Ultraviolet) จากแสงอาทิตย์ โดยรังสีอุลตราไวโอเลต (UV) มี 2 ชนิด คือ UVA และ UVB แต่ที่เกี่ยวข้องกับการเกิดริ้วรอยจะเป็นรังสี UVA โดย UVA สามารถทะลุผ่านชั้นผิวหนังถึงชั้นหนังแท้ และจะเริ่มต้นในการผลิตอนุมูลอิสระ (Free Radical) ซึ่งอนุมูลอิสระดังกล่าวนี้ผลิตจากกระบวนการออกซิเดชั่น (Oxidation) และอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นนี้ก็จะทำอันตรายต่อไขมัน โปรตีน และสารพันธุกรรม (DNA) ในเซลล์ผิวหนัง ทำให้เกิดริ้วรอย หมองคล้ำได้ แต่ร่างกายก็จะมีกระบวนการป้องกันอันตรายจากอนุมูลอิสระดังกล่าวโดยกระบวนการทางธรรมชาติ กล่าวคือ ที่ผิวหนังจะมีสารที่มีคุณสมบัติเป็นสารต้านออกซิเดชั่น (Antioxidant) เช่น วิตามินอี วิตามินซี โดยสารที่มีฤทธิ์ (Antioxidant) ดังกล่าวจะป้องกันไม่ให้เกิดกระบวนการออกซิเดชั่นที่จะทำให้เกิดอนุมูลอิสระ ซึ่งจะทำอันตรายต่อผิวหนัง มีงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับผลของ Q10 ต่อการลดริ้วรอยว่าสามารถทำให้ความลึกของริ้วรอยลดลง ซึ่งหมายถึง ทำให้ริ้วรอยนั้นตื้นขึ้นได้ โดยให้กลุ่มทดลองใช้ครีมที่มีส่วนผสมของ Q10 อยู่ 0.3% ทารอบดวงตาเป็นเวลานาน 6 เดือน พบว่า ความลึกของริ้วรอยลดลงถึง 27% เมื่อเปรียบเทียบกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุมซึ่งไม่ได้ใช้ครีมที่มีส่วนผสมของ Q10 อยู่ ดังนั้น Q10 จึงมีส่วนช่วยลดริ้วรอยและชะลอการเสื่อมของเซลล์ผิวหนังได้เป็นอย่างดี 4.โรคเกี่ยวกับเหงือก โรคเหงือก ใช้เรียกโรคที่เกิดขึ้นกับอวัยวะที่อยู่โดยรอบฟันหรือที่เรียกว่า อวัยวะปริทันต์ ซึ่งทำหน้าที่ในการยึดและพยุงฟันให้คงอยู่ในช่องปาก โรคเหงือกที่เป็นปัญหาและพบได้บ่อยๆ เกิดจากคราบจุลินทรีย์ที่ถูกปล่อยให้สะสมอยู่บนตัวฟัน คราบจุลินทรีย์นี้ประกอบด้วย เชื้อแบคทีเรียหลายชนิดและสารพิษต่างๆ ที่แบคทีเรียสร้างขึ้นมา ซึ่งจะกระตุ้นให้เกิดการอักเสบของเนื้อเยื่อต่างๆ ขึ้น ในระยะแรกของการอักเสบอาจจะเกิดเฉพาะที่ของเหงือก ทำให้เหงือกเปลี่ยนสีจากสีชมพูซีดเป็นสีแดง มีเลือดออกจากเหงือกเวลาแปรงฟัน เหงือกที่มีลักษณะติดกันจะมีลักษณะบวมฉุ ไม่ยิดติดกับตัวฟัน ทำให้เกิดกลิ่นปาก ในกรณีที่ปล่อยให้การอักเสบดำเนินต่อไปเรื่อยๆ โดยไม่รักษาต่อไป จะสังเกตว่ามีหนองออกมาจากช่องระหว่างเหงือกกับฟัน หรืออาจเป็นฝีที่เหงือก เหงือกจะแยกตัวออกจากฟันและมีการละลายของกระดูกเบ้ารากฟัน ถ้านานๆเข้าฟันจะโยกห่างและรวนผิดที่ หรืออาจจะหลุดออกมาได้ การรับ Q10 เข้าไปในร่างกายจะช่วยลดและบรรเทาอาการเหงือกบวม ฟันโยก (Periodontitis) ได้ 5.อื่นๆ เนื่องคุณสมบัติของการมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของ Q10 จึงทำให้เชื่อว่า Q10 สามารถช่วยป้องกันและรักษาโรค มะเร็ง ได้ แต่ก็เป็นการศึกษาเล็กๆ หลายๆ ชิ้นเท่านั้นที่แสดงประโยชน์ของ Q10 ในเรื่องดังกล่าว และไม่เพียงเรื่องมะเร็ง ยังมีการศึกษาบางชิ้นที่แสดงว่า Q10 ให้ผลดีต่อการกระตุ้นภูมิคุ้มกันในร่างกาย อย่างไรก็ดียังคงต้องการการศึกษามากกว่านี้เพื่อยืนยันผลดังกล่าว อีกทั้งในผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับระดับคลอเลสเตอรอลสูงในกระแสเลือด และได้รับยากลุ่ม Statin drugs ผู้ป่วยดังกล่าวควรจะถูกแนะนำให้รับประทาน Q10 เพราะยากลุ่มดังกล่าวส่งผลต่อการยับยั้งสร้าง Q10 ในร่างกาย แหล่งของ Q10 Q10 นอกจากสังเคราะห์ขึ้นจากร่างกายมนุษย์แล้ว ในสัตว์และพืชบางชนิดก็เป็นแหล่งอุดมของ Q10 เช่นกัน มีในน้ำมันปลา ปลาทะเลลึก เช่น ปลาซาดีน อาหารทะเล เครื่องในสัตว์ส่วน หัวใจ ตับ ไตของสัตว์ เนื้อสัตว์ รำข้าว ผลิตภัณฑ์จากถั่ว น้ำมันถั่วเหลือง บรอคคอลี่ ปลาซาร์ดีน ปลาแมคเคอเรล ปลาแซลมอน เป็นต้น จากการศึกษาพบว่า Q10 เป็นสารอาหารคล้ายวิตามิน ที่ทำหน้าที่เป็นเอนไซม์ในร่างกาย มีปฏิกิริยาทางชีวเคมี เปรียบเสมือนกุญแจสำคัญในการสร้างพลังงานในทุกเซลล์ของร่างกาย ถ้าระดับของ Q10 ลดลง ร่างกายจะไม่สามารถแปลงพลังงานจากอาหารให้อยู่ในสภาพที่ร่างกายจะนำไปใช้ได้เลย ทำให้เกิดการเจ็บป่วย ร่างกายอ่อนเพลีย ระบบภูมิคุ้มกันเสื่อมสภาพตามมาได้ ขนาดรับประทาน ขนาดที่แนะนำคือ 30 มิลลิกรัมต่อวัน แต่สำหรับคนที่มีอาการโรคชรา หรือโรคอื่นๆ ควรรับประทานในขนาดมากขึ้นคือ 50–100 มิลลิกรัมต่อวัน เพื่อผลในการรักษาโรค ข้อแนะนำในการรับประทาน เนื่องจาก Q10 เป็นสารอาหารที่ละลายได้ดีในไขมันได้ ดังนั้นมันจะถูกดูดซึมได้ดีหากรับประทานพร้อมกับอาหารที่มีไขมัน เช่น ถั่ว เนย หรือจะเห็นได้ว่าแค๊ปซูลที่บรรจุ Q10 มักจะเป็นแค๊ปซูลที่ทำมาจากไขมัน เก็บในที่ปราศจากแสง และที่เย็นแต่ห้ามแช่แข็ง ควรรับประทานติดต่อกันนานกว่า 2 เดือนขึ้นไป เนื่องจากต้องใช้เวลากว่าจะเริ่มเห็นผลของ Q10 เรียบเรียงและค้นคว้าใหม่โดย นพ.จรัสพล รินทระ ...ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด...6 August,2005 |
ที่มา : https://www.clinicneo.co.th/detailcolumn.php?grp=10&sdata=&col_id=138