ภาวะเหงื่อออกมากกว่าปกติ(Hyperhidrosis)


788 ผู้ชม


  • การหลั่งเหงื่อ ถือว่าเป็นภาวะปกติของร่างกายที่จำเป็น เพื่อควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย โดยกลไกการหลั่งเหงื่อจะส่งผ��
�านปลายประสาท ของระบบประสาทอัตโนมัติ ที่เรียกว่า Sympathetic nervous system
  • แต่ในบางคน ประมาณ 1 % จะพบว่าระบบการหลั่งเหงื่อดังกล่าว ทำงานมากกว่าปกติ และเกินความจำเป็นในการควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย ภาวะนี้เราจะเรียกว่า Hyperhidrosis ซึ่งบริเวณที่พบเหงื่อออกมากกว่าปกติ ได้บ่อยๆ คือ บริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า รักแร้(พบบ่อยสุด) ใบหน้า ลำตัว
  • สาเหตุของภาวะ hyperhidrosis แบ่งได้เป็น 
        1.Primary cause มักไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริง และพบได้บ่อย แต่มักเกิดเพียงไม่กี่แห่งในร่างกาย เช่น ที่ฝ่ามือ รักแร้ ฝ่าเท้า โดยจะเริ่มมีอาการตั้งแต่วัยรุ่น และมักไม่หายขาดจนเข้าสู่วัยชรา และพบว่าเมื่อมีภาวะวิตกกังวล หรือ ตื่นเต้น เหงื่อจะยิ่งออกมากขึ้น 
        2.Secondary cause มักเกิดจากการมีสาเหตุของโรคอยู่ เช่น โรคทางต่อมไร้ท่อ ( endocrine disease) เช่น ภาวะทัยรอยด์เป็นพิษ โรคทางจิตเวช เช่น โรคซึมเศร้า หรือ โรควิตกกังวล ภาวะใกล้หมดประจำเดือน
  • อาการของภาวะเหงื่อออกปกติ มีได้ดังนี้
  •    ถ้าเกิดที่บริเวณใบหน้า มักพบเหงื่อไหลมาก บริเวณหน้าผาก ทำให้คล้ายคนวิตกกังวล กลัว หรือ ตื่นเต้น แม้จะมีอารมณ์ปกติ ทำให้อาจเสียบุคลิกภาพได้ โดยเฉพาะในผู้นำ หรือนักบริหาร
  •     ถ้าเกิดที่ฝ่ามือ ซึ่งพบได้บ่อย มักมีปัญหามาก โดยเฉพาะในธรรมเนียมของคนตะวันตก ซึ่งมีการจับมือทักทายกันบ่อยๆ เพราะทำให้มือชื้นแฉะ และอาจเป็นที่รังเกียจแก่คนอื่นได้
  •     ถ้าเกิดบริเวณรักแร้ อาจทำให้ซอกแขน ชื้นแฉะตลอดเวลา มีกลิ่นเหงื่อ กลิ่นตัวแรง
  • ลักษณะของการมีเหงื่อมากนี้ อาจไม่เกี่ยวกับฤดูกาล แต่พบว่าในหน้าร้อน จะรุนแรงกว่าในหน้าหนาว อาจเกิดได้ทันทีทันใด หรือ เกิดตลอดเวลา ซึ่งทำให้หลายๆ คนเป็นปัญหาและต้องการการรักษา และป้องกัน
  • แนวทางการรักษา มีดังนี้
  •     1.กรณีที่ทราบสาเหตุ ( secondary cause) ถ้าแก้ไขที่สาเหตุ และรักษาหาย อาการดังกล่าวจะดีขึ้น
  •     2.กรณีที่ไม่ทราบสาเหตุ( primary cause) มักทำการรักษาได้ยาก แต่พอมีแนวทางแก้ไขได้ดีขึ้น ดังนี้ 
       1.การใช้สารป้องกันเหงื่อ ( antiperspirants) ที่ใช้ได้ดี คือ 20-25 % Aluminium chloride in 70 % alcohol แต่มักได้ผลในกรณีที่เป็นไม่มาก และต้องใช้บ่อยๆ 
       2. การทำ ไอออนโตโฟรเรซิส มักทำบริเวณฝ่ามือ แต่ต้องทำบ่อยๆ แต่ไม่เป็นที่นิยม เพราะไม่สะดวกในการต้องไปทำอยู่เรื่อยๆ 
       3. การใช้ยากล่อมประสาท เพื่อแก้ภาวะวิตกกังวล อาจได้ผลบ้าง แต่ไม่ดีนัก หรือ การใช้ยากลุ่ม Atropine ก็มักเกิดผลข้างเคียง ทำให้ปาก คอแห้ง จึงไม่เป็นที่นิยมเช่นกัน 
       4. การผ่าตัดต่อมเหงื่อทิ้ง มักใช้กรณีที่มีภาวะเหงื่อออกมากที่รักแร้ และไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยา โดยการผ่าตัดต่อมเหงื่อที่รักแร้ แต่มักไม่เป็นที่นิยม เพราะต้องลงมีดผ่าตัด กรีดหลายๆ จุด อาจทำให้เกิดแผลเป็นได้หลายๆ ที่ แต่ในปัจจุบัน ได้มีการพัฒนาโดยการผ่าตัดเส้นประสาทบริเวณ ทรวงอก ที่เรียกว่า endoscpoic thoracic sympathectomy ซึ่งพบว่าเป็นวิธีที่ได้ผล และหายขาด เกือบ 100 % และมีความปลอดภัยสูง แต่ต้องทำโดยแพทย์ที่เชี่ยวชาญเฉพาะทาง 
       5.การฉีดสาร botox ( ที่ใช้รักษารอยย่น ริ้วรอย ) มาทำการแก้ไขและรักษา ภาวะ hyperhdrosis เพราะเชื่อว่า ผลของการที่ สารbotox สามารถยับยั้งการหลั่งสารสื่อประสาท Acethylcholine นอกจากจะทำให้กล้ามเนื้อคล้ายเป็นอัมพาตชั่วคราวแล้ว ยังทำให้ต่อมเหงื่อบริเวณดังกล่าวทำงานได้ช้าลงด้วย เหงื่อจึงลดลง ( ดูในภาพประกอบ) มักได้ผล ในการฉีดสารนี้ที่บริเวณ รักแร้ ฝ่ามือ และฝ่าเท้า ซึ่งสามารถลดปัญหาดังกล่าวได้นาน 6-12 เดือน และต้องมาฉีดซ้ำ แต่ก็เป็นที่นิยมในต่างประเทศ มากกว่าการทำการผ่าตัด เพราะเจ็บน้อยกว่า ไม่ต้องนอนรพ. ค่าใช้จ่ายประมาณ 8,000-10,000 บาทต่อครั้ง 
    เรียบเรียงใหม่โดย นพ.จรัสพล รินทระ................................... 15 มกราคม 2548

ที่มา : https://www.clinicneo.co.th/detailcolumn.php?grp=9&sdata=&col_id=7

อัพเดทล่าสุด