Biotin สารอาหารสำหรับเส้นผมและเล็บ


778 ผู้ชม


  • Biotin คือ สารอาหารที่อยู่ในตระกูลวิตามินบี และมีอยู่ในอาหารหลายชนิด เช่น ไข่แดง ตับ บรูเวอร์ยีสต์ ข้าวกล้อง ถั่วชนิดต�
��างๆ โดย Co-enzyme ที่อยู่ในไบโอติน เป็นองค์ประกอบที่สำคัญในขบวนการสร้างและเผาผลาญไขมัน คาร์โบไฮเดรต และโปรตีน รวมไปถึงการสร้างสาร Pyrimidine ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของ DNA,RNA ซึ่งเกี่ยวกับสายยีน และพันธุกรรมด้วย
  • Biotin เป็นสารที่มีประโยขน์ ในการชะลอการเกิดผมหงอก และลดผมร่วง ทำให้เส้นผมแข็งแรง ไม่แตกเปราะง่าย จึงใช้รักษาปัญหาเส้นผมแตกปลาย หรือผมร่วง ผมขาดการบำรุง ดังนั้นจึงถือเป็นวิตามินตัวหนึ่ง ในหลายๆ ตัว ที่ใช้เป็นส่วนประกอบของโลชั่น หรือ วิตามินบำรุงเส้นผม และหนังศรีษะ
  • นอกจากนี้ Biotin ยังช่วยในการรักษาปัญหาเล็บ เปราะ หักง่าย โดยได้มีการทดลองสนับสนุน โดย Lisa G.Hochman และคณะ ซึ่งเป็นแพทย์ประจำมหาวิทยาลัยแพทย์ เพนซิลวาเนีย สหรัฐอเมริกา ได้ทำการทดลองให้คนไข้ที่มีปัญหาเล็บเปราะ หักง่าย ( Brittle nail) จำนวน 22 ราย พบว่าได้ผลดี ทำให้เล็บหนาขึ้น และแข็งแรงขึ้น ถึง 63 %
  • จากประโยชน์ในเรื่องการเผาผลาญไขมัน และปรับสมดุลของการไขมัน ทั้งในแง่การรับประทานเข้าไป หรือเผาผลาญให้เป็นพลังงาน จึงพบว่า บางคนจะนำ ไบโดติน บรรจุอยู่ในยา เพื่อใช้ในโปรแกรมลดน้ำหนัก นอกจากนี้ในบางคนยังใช้ในคนไข้เบาหวาน เพื่อลดน้ำตาลในเลือดด้วย
  • ปกติร่างกายของเราจะได้รับสาร ไบโอติน ในปริมาณที่ไม่เพียงพอ แต่โชคดีที่ภายในร่างกายมี แบคทีเรียที่ชื่อ Lactobacillin ในลำไส้ ที่สามารถผลิตสารไบโอตินได้ แต่ถ้าผู้ที่ชอบรับประทานไข่ดิบ ซึ่งจะไปรวมตัวกับสารไบโอตินที่แบคทีเรียผลิตออกมา หรือรับประทาน ยาแก้อักเสบกลุ่มยาปฏิชีวนะนานๆ อาจทำลายแบคทีเรีย ทำให้สารไบโอตินที่ร่างกายผลิตออกมา ไม่เพียงพอ จึงต้องรับประทานยา หรือวิตามินที่มีไบโอตินผสมอยู่ทดแทน
  • Biotin เป็นวิตามินที่ละลายได้ในน้ำ จึงไม่สะสมภายในร่างกาย ไม่พบผลข้างเคียงใดๆ จึงมีความปลอดภัยในการรับประทานอย่างต่อเนื่อง โดยขนาดที่รับประทาน ถ้าเพื่อป้องกันการขาด Biotin หรือดูแลสุขภาพเส้นผมและเล็บโดยทั่วไป ประมาณ 600 ไมโครกรัมต่อวัน และในขนาดที่ใช้รักษาปัญหาเส้นผมแตกปลาย ผมร่วง เล็บเปราะ หักง่าย แนะนำให้รับประทาน1,000-2,500 ไมโครกรัมต่อวัน
  • บางผลงานวิจัย ได้มีการนำ Biotin มารักษาปัญหาโรคผื่นอักเสบ ในภาวะเซ็บเดิร์ม ( Seborrheic dermatits ) ได้ด้วย 
    เรียบเรียงและค้นคว้าใหม่โดย นพ.จรัสพล รินทระ ...ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด...6 August,2005

ที่มา : https://www.clinicneo.co.th/detailcolumn.php?grp=7&sdata=&col_id=145

อัพเดทล่าสุด