| - ปัจจุบันนี้ วงการแพทย์ได้พิสูจน์และวิจัยแล้วว่า แสงแดดเป็นสาเหตุหลักสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้เกิดปัญหาหลายอย่างต่อผ�
|
��วหน้า เช่น ทำให้เกิดฝ้า กระ รอยหมองคล้ำ มะเร็งผิวหนัง ริ้วรอยแก่ก่อนวัย ฯลฯ จึงเห็นว่า การใช้ครีมกันแดดทุกวัน เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับทุกเพศทุกวัย แพทย์บางท่านแนะนำให้เด็กอายุ ตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป ทาครีมกันแดด โดยให้ผู้ปกครองทาให้ เพื่อสร้างนิสัยการทาครีมกันแดด - ประสิทธิภาพของครีมกันแดด แต่ละยี่ห้อ มีหลักการพิจารณาในการเลือกซื้อคือ ต้องดูที่ค่าSPF=Sun Protective Factor ซึ่งหมายถึง ค่าที่ใช้วัดในการกันแดด ว่าเป็นกี่เท่าของผิวที่ไม่ได้ทากันแดด ในเวลาและบริเวณเดียวกัน โดยมีวิธีคิดดังนี้ SPF=MED บริเวณที่ทายากันแดด/MED บริเวณที่ไม่ได้ทากันแดด โดยค่า MED ย่อมาจาก ปริมาณแสงที่น้อยที่สุดที่ทำให้เกิดรอยแดงที่ผิวหนัง( Minimum Erythematous dose)
- ควรใช้ครีมกันแดดที่ค่า SPF เท่าใด ได้มีการทดลองด้วยค่าต่างๆ กันเทียบกับการดูดซับแสงดังนี้
-
SPF | ค่าดูดซับแสง UVB(%) | 2 | 50 | 4 | 75 | 8 | 87.5 | 15 | 93.3 | 20 | 95 | 30 | 96.7 | 45 | 97.8 | 50 | 98 | จะเห็นได้ว่า ค่า SPF ระหว่าง 15-45 จะให้คุณสมบัติในการดูดซับแสงได้ใกล้เคียงกัน และ ค่า SPF ระหว่าง 30-45 แทบไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญในการดูดซับรังสีUVB ดังนั้น แพทย์นิยมให้คนไข้ ใช้ครีมกันแดด ที่มี SPF สูงกรณีที่ต้องตากแดดนานติดต่อกัน และใช้ครีมกันแดด SPF ต่ำ กรณีที่ตากแดดเป็นครั้งคราว เพราะ ครีมกันแดดที่มีค่า SPF ยิ่งสูง ก็จะมีความมันมาก และราคาสูง ตามความเห็นของผู้เขียนมเห็นว่า ครีมกันแดดที่ควรเลือก สำหรับผิวคนไทย น่าจะมีค่า SPF=15 กรณีผิวมัน และ SPF= 30 กรณีที่ผิวธรรมดา และผิวแห้ง - รูปแบบของสารกันแดด ที่หลายแบบ แต่แนะนำให้ใช้ ในรูปของครีมหรือโลชั่น เพราะมีประสิทธิภาพดี ค่า SPF สูง เพราะในรูปอื่น เช่น Oilsผ( มักจะมันมาก ราคาแพง) Gel( ไม่มัน รู้สึกดี แต่ผลิตยาก ไม่คงตัว SPF ต่ำเกินไป) สเปรย์ มักมีการกระจายตัวไม่สม่ำเสมอ
- ข้อแนะนำในการใช้ครีมกันแดด
1. ควรทาครีมกันแดดทุกวัน โดยเฉพาะในช่วงเวลา 9.00-16.00 น. โดยทาก่อนออกแดด 15-30 นาที 2. ควรทาหนาพอควร สำหรับใบหน้า หู คอ และหลังมือ จะใช้ประมาณ 2-3 กรัม 3. ทากันแดดซ้ำ หลังว่ายน้ำ หรือเหงื่อออกมากๆ 4. หลีกเลี่ยงการทารอบดวงตา เพราะอาจระคายเคืองได้ง่าย 5. บริเวณจมูก และร่องแก้ม โหนกแก้ม ควรทาครีมกันแดดให้มาก เพราะกระทบแสงแดดโดยตรง และเป็นตำแหน่งที่เกิดปัญหาฝ้าได้บ่อย 6. บริเวณริมฝีปาก อาจทากันแดด ที่อยู่ในรูปของลิปติก หรือผสม Wax 7. ในคนที่ผมบาง ควรทาครีมกันแดด ที่หนังศีรษะด้วย 8. ถ้าเป็นไปได้ ควรสวมหมวก ใส่เสื้อผ้าปกคลุม กรณีตากแดดจัด และเป็นเวลานานๆ 9. กรณีที่มีปัญหา ผิวแพ้ง่าย หรือ เป็นสิว อาจงดครีมกันแดด ไว้ก่อน โดยป้องกันด้วยวิธีอื่นไปก่อน แล้วปรึกษาแพทย์เพื่อการเลือกใช้ที่เหมาะสม เรียบเรียงใหม่โดยนพ.จรัสพล รินทระ ...................04/5/2005 |
ที่มา : https://www.clinicneo.co.th/detailcolumn.php?grp=6&sdata=&col_id=39