- ปัจจุบันจะพบว่า มีน้ำยาบ้วนปาก ออกมาวางจำหน่ายในท้องตลาดมากมายหลากหลายยี่ห้อ พร้อมกับการโฆษณาตามสื่อต่างๆ โดยกา
|
รอ้างสรรพคุณ ต่างๆ โดยเฉพาะการฆ่าเชื้อโรคในช่องปากและลำคอ ขจัดกลิ่นปาก ลดการอักเสบของเหงือก ทำให้ปากหอมสดชื่น และลดฟันผุได้ด้วย เรามาเรียนรู้ เพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อเท็จจริงดังกล่าวว่าจริงเท็จเพียงใดนะครับ - ส่วนประกอบของน้ำยาบ้วนปาก
1. ส่วนประกอบพื้นฐาน (Basic ingredient) 1.1 อัลกอฮอล์: ทำให้รุ้สึกสดชื่น ใช้เป็นตัวทำละลายสารแต่งกลิ่นรส และยังช่วยทำความสะอาดช่องปากและมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อ 1.2 สารแต่งกลิ่น: เป็นตัวทำให้น้ำยาบ้วนปากน่าใช้ เพิ่มความรู้สึกสดชื่น ทำให้ลมหายใจสะอาดชั่วคราว สารแต่งกลิ่นบางตัว สามารถมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อได้ 1.3 Hemectant: จะช่วยรักษาความชื้น ป้องกันการตกผลึก 1.4 Surfactant: ใช้ในการทำละลายสารแต่งกลิ่นรส ทำให้เกิดฟอง 1.5 น้ำ: เป็นตัวช่วยหลักในการรวมของส่วนผสมหลายๆ อย่าง 2. สารที่ออกฤทธิ์จำเพาะ (Agents for specified effect) 2.1 Astingents salts: ที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน คือ Zinc chloride โดยสารเคมีนี้จะทำให้บรรเทาอาการเจ็บคอ และลดการระคายเคืองต่อเยื่อบุช่องปาก นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียในช่องปากได้ ลดการเกิดกลิ่นปากลงได้ 2.2 Antimicrobial agents: สารกลุ่มนี้ที่นิยมใช้กัน โดยมีฤทธิ์กำจัดกลิ่นปาก ยับยั้งการเกิดคราบจุลินทรีย์และหินน้ำลาย ได้ดีเรียงจากมากไปน้อย ก็คือ Chorhexidine, ,Phenolic compound Listerine,Alkaloid sanguinarine แต่พบว่า Chorhexidine จะมีผลข้างเคียงคือ ทำให้เกิดคราบน้ำตาลบนเคลือบฟันได้ แลอาจจะทำให้ ต่อมรับรสของลิ้นเสียไป มีการหลุดลอกของช่องปากได้ ดังนั้นในเมืองไทย จึงนิยมใช้ Listerine มากกว่า ทั้งยังเป็นที่ยอมรับของ FDA,ADA มากว่า 100 ปีแล้ว 2.3 Fluoride: ที่นิยมมักจะอยู่ในรูปของ Sodium fluoride เพราะเตรียมในรูปแบบน้ำยาบ้วนปากได้ง่าย และมีประสิทธิภาพดีในการป้องกันฟันผุได้ระดับหนึ่ง แต่ถ้าจะให้ป้องกันต้านฟันผุได้ดี และลดจำนวนแบคทีเรียบนผิวเคลือบฟัน มักจะผสมในรูป Standnus fluoride มากกว่า - ความปลอดภัยในการใช้น้ำยาบ้วนปาก
- น้ำยาบ้วนปากที่ดี ควรมีคุณสมบัติ ไม่กระตุ้นให้เกิดการระคายเคืองในช่องปาก ไม่ทำให้เกิดการลอกของเยื่อบุช่องปาก แต่พบว่าผู้ใช้น้ำยาบ้วนปาก จะเกิดการอักเสบรอยแผลเฉียบพลันได้ประมาณร้อยละ 30 ตามส่วนประกอบข้างบน - ควรใช้น้ำยาบ้วนปากในช่วงเวลาสั้นๆ ที่มีปัญหาในช่องปาก แต่ไม่ควรเกิน 2-3 สัปดาห์ หรือตามคำแนะนำของทันตแพทย์ เพราะเมื่อได้รับการรักษาและแก้ไขแล้ว ควรหยุดใช้ทันที เพราะหาก ใช้ติดต่อกันในระยะเวลานาน จะทำให้แบคทีเรีย เกิดการดื้อยาได้ นอกจากนี้ จะทำให้มีโอกาสเกิดมะเร็งช่องปากได้สูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ใช้ที่สูบบุหรี่ร่วมด้วย - ไม่แนะนำให้ให้ใช้ในเด็กเล็ก อายุน้อยกว่า 5 ปี เพราะอัลกอฮอล์ที่เป็นส่วนผสมในน้ำยาบ้วนปาก ทำให้เป็นอันตรายต่อเด็กได้ - นอกจากนี้ การทำความสะอาดช่องปาก โดยการแปรงฟัน ใช้ใหมขัดฟัน ไม้จิ้มฟัน หรืออุปกรณ์ฉีดน้ำ ทันทีที่รับประทานอาหารเสร็จแล้ว เพื่อ ขจัดเศษอาหารทิ้งทันที จะช่วยลดกลิ่นปากและลมหายใจเหม็นได้ และในความเห็นส่วนตัว พบว่าน้ำผสมเกลือ ก็เป็นยาอมบ้วนปากที่มีประสิทธิภาพดีและหาง่าย ราคาถูก เช่นกัน อาจจะไม่มีผลข้างเคียงเหมือนน้ำยาบ้วนปากยี่ห้อดังๆ ทั้งหลายก็ได้
เรียบเรียงและค้นคว้าโดย นพ.จรัสพล รินทระ เอกสารอ้างอิง : บทความเรื่อง ' น้ำยาบ้วนปาก' โดย ทันตแพทย์พิทักษ์ ไชยเจริญ มหาวิทยาลัยมหิดล |
ที่มา : https://www.clinicneo.co.th/detailcolumn.php?grp=6&sdata=&col_id=232