โรคกลัวอ้วน (Anorexia nervosa)


812 ผู้ชม


  • โรคกลัวอ้วน ( Anorexia nervosa) เป็นโรคการผิดปกติในการกิน ที่เริ่มขึ้นในวัยรุ่นหนุ่มสาว โดยผู้ป่วยพยายามลดน้ำหนักตนเองอย่าง��
�าก และมีอาการกลัวอ้วนทั้งๆ ที่ตนเองผอมแห้งอย่างมาก
  • พบได้ร้อยละ 95 ชองเพศหญิง มักพบช่วงอายุวัยรุ่นตอนต้นหรือช่วงปลาย ในอัตรา 1:100-1:800 พบบ่อยในประเทศตะวันตก แต่ในประเทศไทย พบได้บ้างประปราย
  • เกณฑ์การตัดสินว่า คุณที่พยายามลดน้ำหนักทั้งหลาย ถือว่าเป็นโรคกลัวอ้วนหรือเปล่า มีดังนี้
        1. น้ำหนักตัวลดลงเกิน ร้อยละ 15 ของน้ำหนักตัวมาตรฐาน โดยคำนวนจากค่า BMI ( body mass index) หรือค่าดัชนีความหนาของร่างกาย ซึ่งมีการคำนวณอย่างไร ได้เขียนบทความนี้ให้แล้ว ( ลองไปคลิกค้นหน้าดูนะครับ) 
        2. มีความวิตกกังวล กลัวอ้วนอย่างมาก ทั้งๆ ที่ตนเองผอมมาก 
        3. มีความผิดปกติในการมองตนเองว่าอ้วน หรือคิดว่าบางส่วนของร่างกายมีไขมันมากเกินไป 
        4. ในเพศหญิงมีการขาดประจำเดือน เกิน 3 รอบติดต่อกัน
  • สาเหตุของโรคกลัวอ้วน มีปัจจัยหลายอย่างดังนี้ 
        1. ปัจจัยเกี่ยวกับผู้ป่วยเอง- มักมีบุคลิกภาพที่เป็นแบบ ดีเลิศ(Perfectionist) เป็นเด็กตัวอย่างของครอบครัว ย้ำคิดย้ำทำ แต่ขาดทักษะในการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่น 
        2. ปัจจัยเกี่ยวกับครอบครัว- มักถูกเลี้ยงดูแบบใกล้ชิด หรือปกป้องมากเกินไป ไม่ปล่อยให้เป็นตัวของตัวเอง บิดามารดามีความขัดแย้งกันบ่อยๆ และนำเด็กเข้าไปเกี่ยวด้วย 
        3. ปัจจัยทางสังคม- ค่านิยมของสังคมบางแห่ง ถือว่าผู้หญิงที่ผอมบางมีคุณค่า แต่ในขณะที่ผู้หญิงอ้วนเป็นคนที่ไม่รู้จักดูแลตนเอง
  • ลักษณะอาการที่พบ: -มักเริ่มต้นด้วยการพยายามลดน้ำหนัก ไม่ยอมกินอาหาร แต่พอน้ำหนักเริ่มลดลง ก็ยังไม่ยอมหยุดอดอาหาร ทำให้น้ำหนักลดลงเรื่อยๆ พร้อมกับการพยายามออกกำลังกายมาก แต่บางคนก็ยังอยากกินอาหารเป็นพักๆ หรือบางคนไม่ยอมกินอะไรเลย แม้แต่อาหารแคลอรี่ต่ำ มีการพยายามชั่งน้ำหนักวันละหลายๆ ครั้ง ประจำเดือนขาด
  • การเปลี่ยนแปลงของร่างกายในผู้ป่วยโรคกลัวอ้วน 
        1. ผิวหนังจะมีลักษณะแห้ง หยาบ ลอก มีขนเล็กๆ( lanugo) ขึ้นตามตัว แขน ขา ใบหน้า 
        2. มักบ่นว่าหนาวง่าย มีอุณหภูมิร่างกายต่ำ 
        3. อัตราการเต้นของหัวใจต่ำกว่า 60 ครั้งต่อนาที 
        4. มีความผิดปกติในระบบการย่อยอาหาร และการขับถ่าย 
        5. เวียนศีรษะเป็นลมได้ง่าย 
        6. ถ้ารุนแรง อาจถึงแก่ชีวิตได้
  • แนวทางการรักษา 
        1. ต้องประเมินภาวะความสมบูรณ์ของร่างกาย 
        2. ดูภาวะทุพพลโภชนาการระดับใด 
        3. มักให้นอนรพ. เพื่อฟื้นฟูสภาพทางกาย และทางจิตใจ เพราะการรักษาด้วยยาอย่างเดียวได้ผลไม่ดีนัก ต้องควบคู่กับการรักษาจิตบำบัด
  • ดังนั้นสาวเจ้าทั้งหลาย การลดน้ำหนักแต่พอควรให้อยู่ในระดับมาตรฐาน ก็น่าจะเพียงพอแล้ว เพราะมีตัวอย่าง ดาราฮอลลีวู้ดหลายนาง ได้เสียชีวิตด้วยโรคกลัวอ้วนมาแล้วนะครับ 
    เรียบเรียงใหม่ โดยนพ. จรัสพล รินทระ ......................03/07/2005

ที่มา : https://www.clinicneo.co.th/detailcolumn.php?grp=5&sdata=&col_id=53

อัพเดทล่าสุด