| - ค่าดัชนีความหนาของร่างกาย(Body Mass Index= BMI ) เป็นมาตรการที่แพทย์ใช้ในการประเมิน ภาวะอ้วนผอมในผู้ใหญ่ ตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้น��
|
�ป โดยคำนวณจากส่วนสูงและน้ำหนักของคนไข้ - เราสามารถจะคำนวณค่า BMI ได้ด้วยตัวของเราเอง โดยมีสูตรการคำนวณดังนี้
BMI = น้ำหนัก(กิโล) / ส่วนสูง(เมตร)ยกกำลังสอง เมื่อได้ตัวเลขแล้ว จะนำมาประเมินภาวะอ้วนผอมได้ดังนี้ 20.0-24.9 บ่งว่า BMI มีค่าปกติ 18.5-19.9 บ่งว่า BMI อยู่ในภาวะผอมระดับ 1 17.0-18.4 บ่งว่า BMI อยู่ในผอมระดับ 2 16.0-16.9 บ่งว่า BMI อยู่ในภาวะผอมระดับ 3 < 16 บ่งว่า BMI อยู่ในภาวะผอมระดับ 4 25.0-29.9 บ่งว่า BMI อยู่ในภาวะอ้วนระดับ 1 30.0-39.9 บ่งว่า BMI อยู่ในภาวะอ้วนระดับ 2 > 40 บ่งว่า BMI อยู่ในภาวะอ้วนระดับ 3 หรือเมื่อคำนวณค่า BMI ได้แล้ว จะมาเปรียบเทียบกับกราฟในรูปที่ 1 - ความสำคัญของการรู้ค่าดัชนีความหนาของร่างกาย เพื่อดูอัตราการเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ ถ้าค่าที่คำนวณได้ มาก หรือ น้อยเกินไป เพราะถ้าเป็นโรคอ้วนแล้ว จะมีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจขาดเลือด และโรคนิ่วในถุงน้ำดี แต่ในขณะเดียวกันผู้ที่ผอมเกินไป ก็จะเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ประสิทธิภาพในการทำงานของร่างกายลดลง ดังนั้นจึงควรรักษาระดับน้ำหนัก และค่าดัชนีความหนาของร่างกายให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
- แพทย์ที่ควบคุมการลดน้ำหนักส่วนใหญ่ ถ้าเพื่อความสวยงาม ในแง่สรีระ มักจะลดน้ำหนักให้คนไข้ อยู่ประมาณ ค่าต่ำสุดของค่าปกติ คือ ประมาณ BMI ให้อยู่ที่ 18.0-19.0
เรียบเรียงใหม่โดยนพ.จรัสพล รินทระ .....................21/5/2004 |
ที่มา : https://www.clinicneo.co.th/detailcolumn.php?grp=5&sdata=&col_id=31