การบำบัดผู้เสพติดบุหรี่ด้วยยา


645 ผู้ชม


  • จากบทความเรื่อง การเสพติดนิโคตินในคนที่สูบบุหรี่ ทำให้มีการทดลองนำนิโคตินทดแทนในรูปของอย่างอื่นที่มิใช่บุหรี่ �
��าใช้ในการบำบัดรักษา อาการเสพติดบุหรี่ เพื่อเป้าหมายให้สามารถเลิกการสูบบุหรี่ได้มากขึ้น ซึ่งปัจจุบันที่นำมารักษาก็ได้แก่ หมากฝรั่งนิโคติน และแผ่นแปะนิโคติน ลองมา ดูในรายละเอียดของยาสองตัวนี้กันนะครับ
  • หมากฝรั่งนิโคติน 
    หมากฝรั่งนิโคติน เป็นผลิตภัณฑ์ที่ผสมนิโคติน ในรูปของ Ion-exchange resin และทำให้ดูดซึมในช่องปากได้ดี โดยทำให้มีฤทธิ์เป็นด่าง ที่ pH=8.5 ซึ่งที่มีจำหน่าย ก็มี 2 แบบ คือ แบบชิ้นละ 2 มก.และชิ้นล 4 มก. 
    การปลดปล่อยนิโคตินเข้าสู่กระแสเลือดมากน้อย ขึ้นกับความถี่และความรุนแรงในการเคี้ยงหมากฝรั่งนิโคติน ซึ่งโดยปกติหลังเคี้ยวประมาณ 20 นาที นิโคตินจะถูกปลดปล่อยประมาณ ร้อยละ 90 และดูดซึมเข้าช่องปาก แต่กว่าจะถึงระดับสูงสุดก็ใช้เวลาประมาณ 30 นาที ซึ่งอาจจะช้ากว่า การสูบบุหรี่ ซึ่งใช้เวลาเพียง 19 วินาที 
    นิโคตินที่เหลือจากการเคี้ยว จะถูกกลืนลงไปในกระเพาะและถูกดูดซึมเข้าสู่กระเพาะอาหาร และเผาผลาญอย่างรวดเร็วที่ตับ กลายเป็นสารที่ไม่ออกฤทธิ์ และเป็นอันตราย 
    หากเคี้ยวนิโคตินในขนาด 4 มก ติดต่อกันทุก 2-3 ชั่วโมง จะได้รับนิโคตินในเลือดใกล้เคียงและคล้ายคลึงกับในผู้ที่สูบบุหรี่จัด 
    จากรายงานการวิจัยหลายๆ รายงาน พบว่าอัตราการเลิกบุหรี่ได้ด้วยหมากฝรั่งนิโคติน สำเร็จเพียง ร้อยละ 38 แต่มีโอกาสกลับมาสูบบุหรี่ใหม่ ถึงร้อยละ 66.3 จากการติดตามในช่วง 4-6 สัปดาห์ถึง 12 เดือน การที่เป็นเช่นนี้ อธิบายได้ว่า ไม่สามารถตอบสนองต่อสิงห์อมควันได้ทันท่วงทีนั่นเอง และการเคี้ยวหมากฝรั่งนิโคติน ทำให้เกิดการเมื่อยล้าขากรรไกร และเจ็บคอในระยะแรกได้
  • แผ่นแปะผิวหนังนิโคติน 
    แผ่นนิโคติน เป็นเวชภัณฑ์ที่จะนำนิโคตินเข้าสู่ร่างกายทางผิวหนัง ในปริมาณที่คงที่และแน่นอน ต่อเนื่องนาน 16-24 ชั่วโมง และพบว่าระดับนิโคติน ในเลือดจะมีความเข้มข้นสูงสุดที่ 7-9 ชั่วโมงหลังแปะแผ่นนิโคติน ทั้งนี้ปริมาณมากน้อยก็ขึ้นอยู่กับพื้นที่ในการแปะด้วย แต่ต้องแนะต่อเนื่องเกินกว่า 10 วัน จึงจะทำให้มีการสะสมของนิโคตินในเลือดในระดับที่ใกล้เคียงกับการสูบบุหรี่วันละ 1 ซอง 
    จากการทดลองพบว่า ถ้าแปะแผ่นนิโคตินขนาด 30 ตร.ซม. จะเหมาะสำหรับผู้ที่สูบบุหรี่มากกว่าวันละ 1 ซอง และขนาด 20 ตร.ซม. จะเหมาะสำหรับผู้ที่สูบบุหรี่น้อยกว่าวันละ 1 ซอง แต่ภายหลังแปะ พบว่าอาการอยากสูบบุหรี่ลดลงอย่างเด่นชัด ลดอารมณ์หงุดหงิดได้ แต่ไม่ลดอาการหิวหรือความเคยชินที่อยากสูดควันบุหรี่ 
    จากผลการทดลอง พบว่าอัตราการเลิกบุหรี่ได้ด้วยแผ่นนิโคติน สำเร็จเพียง ร้อยละ 5-20 ซึ่งอธิบายได้ว่า ต้องใช้เวลานานในการออกฤทธิ์ และคนที่ต้องการเลิก มีอาการปากว่าง ไม่เหมือนการเคี้ยวด้วยหมากฝรั่งนิโคติน และพบว่าผลข้างเคียงก็พบได้ เช่น อาการนอนไม่หลับ ฝันร้าย ไอมากขึ้น ปวดเมื่อย
  • จากผลการทดลองจะเห็นได้ว่า การเลิกบุหรี่ด้วยยาทดแทนนิโคตินดังกล่าว ได้ผลน้อยมาก เมื่อเทียบกับการหักดิบ และพบว่านิโคตินที้ง 2 แบบ ได้มีการจดทะเบียนจำหน่ายแล้วในประเทศไทย ตั้งแต่ 10 กว่าปีที่แล้ว แต่ก็ไม่เป็นที่นิยมซักเท่าไหร่นัก แต่ไม่แน่ในอนาคตอาจจะมีแบบสูดดม แบบพ่นจมูก ออกมาทำการทดลองเพิ่มขึ้นก็ได้
  • นอกจากนี้การเสพติคบุหรี่ มิใช่การเสพนิโคตินแต่เพียงอย่างเดียว แต่ยังเป็นการเสพความสุขที่ได้จากการสูดควันบุหรี่ ซึ่งถูกผูกยึดกับสภาพแวดล้อม ของสังคมมาเป็นเวลานาน แต่ก็มีข่าวดีว่า ในปัจจุบันได้มีกฏหมายล้อมกรอบและบังคับสิงห์อมควันทั้งหลาย มิให้สูบบุหรี่ในสถานที่ที่มีเครื่องปรับอากาศทุกที่ และมีบทลงโทษที่รุนแรงแล้ว คาดว่าอัตราการลดการสูบบุหรี่ในอนาคตอาจจะใกล้ความจริงมากขึ้น 
    เรียบเรียงและค้นคว้าใหม่ โดยนพ.จรัสพล รินทระ .......ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด.....6 September 2005 อ้างอิงจากบทความของ ผศ.นพ. ไพบูลย์ สุริยะวงศ์ไพศาล แห่งศูนย์เวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์รพ.รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ลงตีพิมพ์ในวารสารคลินิก

ที่มา : https://www.clinicneo.co.th/detailcolumn.php?grp=2&sdata=&col_id=221

อัพเดทล่าสุด