งานวิจัยเกี่ยวกับ ชาเขียว


668 ผู้ชม


  • ชาเขียว จัดเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพร หรืออาหารเสริมที่ได้รับความนิยมอย่างมากในรอบปีที่ผ่านมา และสารสำคัญในชาเขียว 2 ช�
��ิด คือ Flavonoids และ Catechin ที่มี Phenol Groups จะมีคุณสมบัติต่อต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งช่วยยับยั้งการเกิดโรคต่างๆ เช่น มะเร็ง กล้ามเนื้อหัวใจตาย พาร์คินสัน และเพิ่มการเผาผลาญในร่างกาย ดังนั้นจึงได้มีการศึกษา วิจัยกันมาก จึงขอรวบรวมงานวิจัยเกี่ยวกับชาเขียวมานำเสนอ ดังนี้
  • ผลต่อการรักษาโรคอ้วน 
    ผู้วิจัยได้มีการทดลองนำเอาสารสกัดจากชาเขียว คือ 80 % Ethanols ที่มี Catechin อยู่ 25% มาทดลองในหลอดทดลอง พบว่า สามารถยับยั้งเอนไซม์ Gastric และ Pancratic Lipase ในการย่อยอาหารและไขมันเข้าสู่ร่างกายได้ 
    จึงได้มีการทดลองต่อในกลุ่มผู้ชายอายุ 18 ปีขึ้นไปที่เป็นโรคอ้วนไม่มากนัก จำนวน 70 ราย ให้รับประทานสารสกัดจากชาเขียว วันละ 2 ครั้งๆ ละ 2 แคบซูล เข้าและกล่างกัน โดยให้ได้รับ Catechin รวม 375 มก.ต่อวัน แล้วพบว่าหลังจากนั้น 3 เดือน น้ำหนักลดลงไป 4.0 % และรอบเอวลดลงไป ประมาณ 4.48 % โดยออกฤทธิ์ยับยั้งการดูดซึมไขมันจากเอนไซม์ Lipase และกระตุ้นให้เกิดความร้อนเผาผลาญพลังงานสะสม แต่ก็พบอาการไม่พึงประสงค์ จำนวน 5 ราย คือ ปวดท้อง 2 ราย ท้องเสีย 2 ราย และมีระดับเอนไซม์ที่ตับคือ Transaminase เพิ่มขึ้น 1 ราย
  • ผลต่อการป้องกันโรคพาร์คินสัน 
    โรคพาร์คินสัน จัดเป็นโรคที่มีความผิดปกติของสมองโดยเชื่อว่ามีสารพิษ MPPT ไปทำลายเซลล์สมอง ทำให้คนไข้มีอาการสั่นและไม่สามารถ ควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อในร่างกายได้ และก่อให้เกิดสมองเสื่อมได้ภายหลัง 
    ได้มีการวิจัยทดลองในหนู พบว่าสารโฟลีฟีนอลในชาเขียว ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพ สามารถยับยั้งสาร MPPT ไม่ไห้เข้าไป ทำลายเซลล์สมองได้ จึงได้มีการเชื่อว่า ชาเขียวอาจจะป้องกันการเกิดโรคพาร์คินสันได้ ถ้ารับประทานเป็นประจำ แต่อย่างไรก็ตาม ยังไม่ได้มีการทดลอง ในคน จึงยังไม่สามารถยืนยันว่าจะได้ผลป้องกันแบบเดียวกันนี้ในคนหรือไม่
  • ผลช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคมะเร็ง 
    ผลของการศึกษาวิจัยของมหาวิทยาลัยเคอร์ทิน โดย ศาสตราจาร์ยประจำ คณะสาธารณสุขศาสตร์ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่ออสเตรเลีย ได้ทำการ ศึกษาวิจัยร่วมกับนักวิจัย รพ.เจ่อเจียง แคนเซอร์ ที่เมืองหางโจว ประเทศจีน โดยทำการศึกษาจากผู้หญิงกว่า 900 คน พบว่าผู้หญิงที่ดื่มชาเขียวเป็น ประจำทุกวัน เป็นเวลาติดต่อกันหลายปี จะช่วยลดอัตราเสี่ยงต่อการป่วยของโรคมะเร็งได้มากถึงร้อยละ 77 เมื่อเทียบกับผู้หญิงที่ไม่ได้ดื่มชา โดยเฉพาะ ลดความเสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคมะเร็งที่รังไข่ เกือบร้อยละ 60 เมื่อเทียบกับผู้หญิงที่ได้ดื่มชาเขียว
  • ผลในการช่วยคนหัวใจวายให้อายุยืนยาวขึ้น 
    นักวิจัยแห่งศูนต์การแพทย์เบธ เมืองบอสตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ทำการศึกษาประชาชนของประเทศอิสราเอล จำนวน 1,900 คนที่มีอายุมากกว่า 60 ปี และเคย มีประวัติการเจ็บป่วยหัวใจวายมาแล้ว 1 ครั้ง โดยแบ่งได้เป็น กลุ่มไม่ดื่มชา 1019 คน กลุ่มดื่มชาปริมาณมาก 266 คน และกลุ่มดื่มชาปานกลาง 815 คน พบว่าผู้ที่ดื่มชาเป็นปริมาณมาก ( ได้แก่ดื่มมากกว่า 15 ถ้วยต่อสัปดาห์) จะมีอัตราการเสียชีวิตภายในเวลา 3 ปีครึ่ง น้อยกว่ากลุ่มไม่ดื่มชา ถึง 44 % และ พบว่าผู้ที่ดื่มชาเป็นปริมาณปานกลาง ( ได้แก่ดื่มน้อยกว่า 15 ถ้วยต่อสัปดาห์) จะมีอัตราการเสียชีวิตภายในเวลา 3 ปีครึ่ง น้อยกว่ากลุ่มไม่ดื่มชา ถึง 28 % ทำให้นักวิจัยเชื่อว่า ฟลาโวนอยด์ในชาเขียว ( พบได้ในชาดำ ผัก และผลไม้ เช่น แอบเปิ้ล หัวหอม บรอกโคลี่ด้วย) ช่วยป้องกันการสร้างโคเลสเตอรอล และต่อต้านการแข็งตัวของเลือด ทำให้มีประโยชน์ต่อผู้ป่วยโรคหัวใจ
  • อนึ่งจากผลงานวิจัยทั้งหลายเหล่านี้ ยังมีการศึกษาในคนเป็นส่วนน้อย จึงยังไม่สามารถสรุปผลได้ชัด เพราะการวิจัยต้องมีการควบคุมปัจจัยที่มี ผลกระทบอย่างเข้มงวด แต่อย่างน้อย ชาเขียว ก็อาจจะนำมาใช้ป้องกันและเสริมสุขภาพได้ และน่าจะมีความปลอดภัยสูง เพราะใช้กันมานานตั้งแต่โบราณแล้ว แต่หากจะนำมารักษาโรคอย่างจริงจัง ต้องมีการศึกษาวิจัยมามากกว่าอีกพอสมควร ดังนั้นจึงอย่าได้หลงเชื่อโฆษณาเกินความจริงของผลิตภัณฑ์ อาหารเสริมต่างๆ ที่สำคัญก่อนจะตัดสินใจบริโภคหรือซื้ออาหารเสริม ควรจะเชื่อถือเฉพาะสรรพคุณที่ระบุในสลากยา ที่ได้รับอนุญาตจาก อย. แล้วเท่านั้น 
    เรียบเรียงและค้นคว้าโดย นพ.จรัสพล รินทระ.........................8 March,2004 
    เอกสารอ้างอิง.....Phytomedicine 2002;9:1-8

ที่มา : https://www.clinicneo.co.th/detailcolumn.php?grp=2&sdata=&col_id=261

อัพเดทล่าสุด