ยาคุมกำเนิดกับการรักษาอาการปวดท้องรอบเดือน ( Dysmenorrhea)


912 ผู้ชม


  • อุบัติการณ์การเกิดอาการปวดท้องขณะมีรอบเดือน ( Dysmenorrhea) พบได้ประมาณ 15% ของวัยรุ่นผู้หญิง ซึ่งอาการจะรุนแรงมากน้อย ต่าง��
�็มีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน จึงได้มีการวิจัยหาแนวทางแก้ไข...............ให้อาการเหล่านี้ในสตรีวัยรุ่นดีขึ้น เพราะพบเพียง 1 ใน 7 รายเท่านั้นที่ไปปรึกษาแพทย์ เพราะอาจจะอายแพทย์ หรือเกรงว่าจะมีการตรวจภายใน ทำให้ส่วนที่เหลือยังคงใช้ความอดทนอย่างมาก กับอาการเหล่านี้ทุกๆ ครั้งที่มีรอบเดือน
  • นักวิจัยในนิวยอร์คจึงได้ทำการศึกษาแบบสุ่มเพื่อดูประสิทธิภาพของยาคุมกำเนิดขนาดต่ำ ว่าจะสามารถช่วยรักษาอาการ ปวดท้องขณะมีรอบเดือน ( Dysmenorrhea) โดยได้ทำการสุ่มตัวอย่างวัยรุ่นในอเมริกา จำนวน 74 คน ( อายุเฉลี่ย 16.8 ปี) มาทำการศึกษาวิจัย โดยให้รับประทานยาคุมกำเนิดขนาดต่ำ ( ประกอบด้วย Ethinyl estradiol 20 microgram+Levonorgestrel 100 micrograms ) เปรียบเทียบกับยาหลอก (Placebo) โดยติดตามอาการหลังทำการวิจัย ประมาณ 3 เดือน โดยทุกคนยังสามารถรับประทานยาแก้ปวดได้ระหว่างการทดลอง โดยในกลุ่มที่ทำการทดลอง มีอาการปวดท้องขณะมีรอบเดือน ( Dysmenorrhea) ระยะรุนแรงถึง 58% และระยะปานกลางถึง 42%
  • ผลการทดลองพบว่าผู้เข้าร่วมการทดลอง มีความรุนแรงของอาการ ปวดท้องขณะมีรอบเดือน ( Dysmenorrhea) ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเทียบกับ การใช้ยาหลอก และจำเป็นต้องใช้ยาแก้ปวดลดลงในเดือนที่ 2-3 ของการวิจัย และยังพบอีกว่า กลุ่มที่ลองรับประทานยาคุมกำเนิดขนาดต่ำ 61% ไม่จำเป็นต้องใช้ ยาแก้ปวดเลย ในรอบเดือนที่ 3
  • จากผลงานวิจัย แสดงให้เห็นว่าการใช้ยาคุมกำเนิดสามารถใช้รักษาอาการ ปวดท้องขณะมีรอบเดือน ( Dysmenorrhea) ลงได้ และสตรีวัยรุ่นทุกคนก็ยินดีที่ใช้ยาต่อไป เนื่องจากว่ายาคุมกำเนิดขนาดต่ำมีความปลอดภัยสูง และผลข้างเคียงน้อยมาก และทำให้ไม่จำเป็นต้องไปตรวจภายในจากอาการดังกล่าว เพราะนอกจากจะทำให้อาการปวดท้องดีขึ้นแล้ว ผลพลอยได้จากยาคุมกำเนิดก็คือ ช่วยป้องกันและรักษาสิว ผิวหน้ามันได้อีกด้วย ส่วนท่านที่สนใจจะอ่านบทความทางวิชาการเรื่อง ปวดท้องขณะมีรอบเดือน ( Dysmenorrhea) เพิ่มเติม สามารถค้นอ่านที่นี่https://www.clinicneo.co.th/detailcolumn.php?grp=2&&col_id=266 
    เรียบเรียงและค้นคว้าโดย นพ.จรัสพล รินทระ..........................................10 April,2006 
    เอกสารอ้างอิง..........................Obstet Gynecol 2005;106:97-104

ที่มา : https://www.clinicneo.co.th/detailcolumn.php?grp=2&sdata=&col_id=300

อัพเดทล่าสุด