แมงกระพรุน สัตว์มีพิษใต้ทะเล


891 ผู้ชม


  • ย่างเข้าหน้าร้อนแล้ว หลายๆ ท่านคงต้องการจะไปคลายร้อนที่ชายทะเล การลงเล่นน้ำทะเลเป็นสิ่งที่หลายๆคนนิยมชมชอบและส��
�ุกสนาน แต่อาจจะต้องระวังสิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเลที่อาจจะทำให้เกิดโทษได้ เช่น แมงกระพรุน
  • แมงกะพรุนเป็นสัตว์ชนิดหนึ่ง ที่มีปากที่ท้อง (Coelenterate) บางชนิดมีขนาดใหญ่มาก มีหนวด 8 เส้น เป็นอันตรายแก่ชาวประมง หรือคนที่ไปเล่นน้ำทะเล เมื่อถูกเข้าจะเกิดอาการปวดเล็กแสบน้อย คัน ปวดเมื่อยตามร่างกาย หรืออาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้
  • แมงกะพรุนมีหนวดพิษ (Tentacle) หลายอัน แต่ละอันประกอบด้วย เหล็กใน แฝงอยู่เป็นอันมาก ซึ่งเรียกว่า Nematocyst ซึ่งมีขนาดเล็กมาก ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า แต่ละอันถูกห่อหุ้มด้วยแคปซูล ปลายของเหล็กอยู่ตามผิวของหนวดพิษ ซึ่งทำหน้าที่คล้ายไกปืน ตอนโคนของเหล็กใน เป็นสายคล้ายเส้นด้ายขดกัน อยู่ในกระเปาะแคปซูล และติดอยู่ตามต่อมพิษ เมื่อมีอะไรมากระทบกับไกปืนนี้ มันจะปล่อยเหล็กในซึ่งมีน้ำพิษออกไปแทง เหล็กในนี้มีจำนวนมาก เมื่อทะลุผิวหนังเข้าไป ทำให้รู้สึกเจ็บปวดมาก และมีอาการต่างๆ แล้วแต่ความรุนแรง และชนิดของแมงกระพรุน
  • แมงกระพรุนที่พบกันมาก เมื่อไปเที่ยวทะเล 
       1.สาหร่าย, สาโหร่ง (Sea wasp, Chironex species) ชาวทะเลนิยมเรียกว่า'ส่าหร่าย' แต่จริงๆแล้วคือ แมงกระพรุนสีขาว หรือ เหลืองแกมแดง มีสายยาวต่อจากลำตัวหลายเส้น แต่ละเส้นยาวประมาณ 1.50 เมตร มีการเคลื่อนไหวได้น้อย อาศัยกระแสน้ำพัดพาไปยังที่ต่างๆ เมื่อมีพายุ คลื่น ลมแรง สายของมันจะขาดจากลำตัว ลอยไปตามน้ำ แต่ยังสามารถทำอันตรายผู้ที่สัมผัสถูกได้ ซึ่งทำให้ไหม้เกรียม และมีอาการปวดแสบปวดร้อนตามกล้ามเนื้อ จุกแน่นหน้าอกในรายที่แพ้รุนแรง และเป็นไข้ อาการเป็นอยู่ 2-3 วัน จึงทุเลาหายไป แมงกระพรุนชนิดนี้ แถบทะเลชุมพร หัวหิน เป็นต้น 
       2. แมงกระพรุนไฟ (Sea nettles, Chrysaora species) มีสีแดง หรือ สีเขียว ด้านบนมีจุดสีขาวอยู่ทั่วไป พวกนี้เมื่อถูกเข้าทำให้เกิดปวดแสบปวดร้อน พุพองแตกเป็นน้ำเหลือง และเกิดแผลเป็นรอยดำเรื้อรังได้นานหลายๆปี 
        - อาการพิษ โดยทั่วไปไม่รุนแรง ไม่นานก็หาย แต่ถ้าโดนชนิดพิษรุนแรง กว่าจะหายอาจใช้ระยะเวลา 2-3 วัน ถ้ามีอาการแพ้มากอาจมีอาการเขียวคล้ำ เลือดไปเลี้ยงสมองน้อย เพ้อ เหงื่อออก ตัวเย็น ช็อค และถึงแก่ความตายได้
  • การปฐมพยาบาลเมื่อโดนพิษแมงกระพรุน : 
        1. ให้รีบขึ้นจากน้ำทันที เพราะหากพิษรุนแรงอาจจมน้ำเสียชีวิตได้ 
        2. จากนั้นให้ใช้ทรายแห้งๆ หรือผ้าหนาขัดบรเวณแผล เพื่อให้น้ำเมือกที่ติดอยู่ที่ผิวหนังหลุดออกไป แต่อย่าถูแรงเพราะจะทำให้พิษยิ่งเพิ่มขึ้น และอย่าใช้มือเปล่าถูเพราะอาจโดนพิษได้ แล้วล้างออกด้วยน้ำทะเล แอลกอฮอล หรือแอมโมเนีย 
        3. สำหรับนักดำน้ำ มักนิยมใช้น้ำส้มสายชูถอนพิษแมงกะพรุน อาการเจ็บปวดจะทุเลาลง 
        4. สำหรับชาวบ้านจะใช้ผักบุ้งทะเลตำให้ละเอียดแล้วพอกบริเวณบาดแผล หลังจากถูเอาเมือกออกแล้ว โดยมี หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ ที่มหาลัยมหิดลได้ทำการทดลองแล้ว พบว่าผักบุ้งทะเล มีคุณสมบัติดังนี้ 
          1.ฤทธิ์ต้านฮีสตามีน โดยสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ทดลองฤทธิ์ต้านการแพ้ของสารสกัดจากผักบุ้งทะเล พบว่าได้ผลดี 
         2.ฤทธิ์ลดการอักเสบ โดยมีสารสกัด ether ของส่วนที่ระเหยได้ของใบ มีฤทธิ์ลดการอักเสบ โดยสารสำคัญในการออกฤทธิ์ลดการอักเสบ คือBeta-Damascenone และ E-Phytol ซึ่งสกัดได้จากผักบุ้งทะเล มีฤทธิ์ลดการบีบตัวของกล้ามเนื้อเรียบของหลอดเลือด ทำให้การอักเสบลดลง 
          นอกจากนี้ในประเทศไทย ยังได้มีการผลิต ครีมที่มีสารสกัดจากใบผักบุ้งทะเลผสม 1% มีฤทธิ์รักษาอาการแพ้พิษแมงกะพรุน พบว่าได้ผลดีขึ้นใน 2 วัน เมื่อใช้ครีมทาทันที และยังพบว่าใช้รักษาพิษแมงกะพรุนได้ดี โดยยับยั้งการทำลายโปรตีน (Proteolytic) และ hemolytic ของพิษแมงกะพรุน ในรายโดนพิษเป็นแผลเรื้อรังจะใช้เวลา 2 สัปดาห์ ในการทำให้แผลแห้ง และจะหายสนิทใน 1 เดือน นอกจากนี้การใช้สารสกัดใบผักบุ้งทะเลด้วยอีเธอร์ก็ให้ผลการรักษาดีเช่นกัน 
        5. ยาระงับปวด ถ้ารุนแรงอาจต้องใช้ Morphine รวมกับยานอนหลับจำพวก Barbiturate และให้ยาแก้อาการกล้ามเนื้อเกร็ง เป็นตะคริว หรือ ยารักษาอาการอื่นๆ 
    เรียบเรียงและค้นคว้าใหม่โดย นพ.จรัสพล รินทระ ...ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด...6 August,2005

ที่มา : https://www.clinicneo.co.th/detailcolumn.php?grp=1&sdata=&col_id=196

อัพเดทล่าสุด