| - เริมที่ปาก เป็นสาเหตุการเกิดแผลในปาก และริมฝีปากที่พบได้บ่อยที่สุดโรคหนึ่ง เกิดจากการติดเชื้อไวรัส ชื่อ Herpes simplex virus ty
|
pe 1(HSV1) ในขณะที่ การติดเชื้อเริมที่ อวัยวะเพศ เกิดจากการติดเชื้อไวรัส ชื่อ Herpes simplex virus type 2 (HSV2) - การติดต่อ โดยการสัมผัสกับผู้ที่มีเชื้อ หรือ การใช้ภาชนะอาหารที่ไม่สะอาดเพียงพอร่วมกับผู้ที่มีเชื้อเริม และไม่มีอาการให้เห็นขณะที่มีการติดเชื้อ โดยพบว่าในน้ำลายของผู้ที่มีเชื้อเริมที่ไม่ปรากฏตุ่มน้ำให้สังเกตเห็น สามารถติดต่อได้ ถึงร้อยละ 5 ในผู้ใหญ่ และร้อยละ 20 ในเด็ก ดังนั้นจึงเป็นการยากที่จะป้องกัน
- ลักษณะอาการที่พบ
การติดเชื้อครั้งแรก: - มักเกิดขึ้นในเด็ก ส่วนใหญ่ไม่มีอาการให้เห็น หรืออาจพบเพียงตุ่มน้ำพองใสบริเวณรอบริมฝีปาก และภายในช่องปาก แล้วแตกเป็นแผลถลอก อาจมีอาการเจ็บปวด แสบร้อน อาการมักดีขึ้น ภายใน 1 สัปดาห์ ในขณะที่มีอาการ สามารถแพร่เชื้อได้ตลอดเวลา การติดเชื้อซ้ำ: - มักพบได้ในผู้ใหญ่ โดยมีกลุ่มตุ่มน้ำเกิดขึ้นบริเวณริมฝีปาก อาจแตกเป็นแผลตื้นๆ ได้ มีอาการปวดแสบร้อน และบางครั้งอาจพบอาการอื่นร่วมด้วย เช่น อ่อนเพลีย หรือมีไข้ต่ำๆ เริมที่ปากในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ในผู้ป่วยติดเชื้อ HIV มักพบได้รุนแรง อาจจะเป็นแผลเรื้อรังที่ริมฝีปากหรือบริเวณมุมปาก และเกิดการอักเสบหนองลุกลาม - แนวทางรักษา:
1. ในการรักษาโรคเริมที่ปากมักไม่หายขาด เนื่องจากเชื้อมักจะหลบอยู่ที่ไขสันหลัง เมื่อเกิดภาวะร่างกายอ่อนแอ เครียด อาจมีอาการซ้ำได้ 2. ในรายที่เพิ่งได้รับการติดเชื้อเริมครั้งแรก แพทย์อาจให้รับประทานยา Acyclovir วันละ 200 มก. ทุก 5 ชั่วโมง นาน 7-10 วัน พร้อมกับการทายาบริเวณรอยโรค อาจทำให้อาการรุนแรงลดลง และย่นระยะเวลาการหายของโรค 3. ในรายที่เป็นซ้ำ ไม่จำเป็นต้องรับประทานยา ใช้ยาทาบริเวณแผล ก็จะทำให้หายได้ภายใน 2-3 วัน 4. ในรายที่ติดเชื้อรุนแรง และมีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง อาจต้องพบแพทย์ และนอนรพ. เพื่อให้ยาฉีดเข้าเส้นเลือดดำ เพื่อป้องกันการลุกลามรุนแรง เรียบเรียงใหม่ โดย นพ.จรัสพล รินทระ ........ 12/08/2004 |
ที่มา : https://www.clinicneo.co.th/detailcolumn.php?grp=8&sdata=&col_id=64