| - ภาวะแพ้ยา เกิดได้บ่อยในการรักษาคนไข้ และแพทย์ส่วนใหญ่ต้องระมัดระวังในการใช้ยา โดยเฉพาะการรับประทานยา การให้ประว
|
ัติการแพ้แก่แพทย์ทุกครั้งที่พบแพทย์ ถือว่าสำคัญมาก เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดได้ภายหลัง เพราะแพทย์บางครั้งก็มักจะลืมถาม( เป็นบางท่านนะครับ อาจเนื่องจากเวลาน้อย หรือ ลืม! จริงๆ ) - ผลของการแพ้ยา พบได้ประมาณร้อยละ 1-5 ส่วนใหญ่เกิดจากปฏิกริยาไวเกิน( Hypersensitivity ) ของร่างกายต่อยาที่ใช้ อาจเกิดภายหลังได้ แม้จะเคยรับประทานยาชนิดนี้มาก่อน แล้วไม่แพ้ แต่ในระยะเวลาต่อมา เกิดอาการแพ้ได้ ผู้เขียนเอง เคยมีประสบการณ์กับตนเองมาแล้ว คือ ยากลุ่มซัลฟา เมื่อตอนเด็กๆ ไม่มีอาการแพ้ แต่มาแพ้เอาภายหลังจากพบแพทย์ และรุนแรงด้วย ดังนั้นอย่าได้ชะล่าใจ นะครับว่า ตั้งแต่เกิดมา ไม่เคยแพ้ยา แต่มาระยะหลัง ( แก่ขึ้น ) จะมาแพ้ยาตัวนี้ได้
- ยาที่มักทำให้เกิดการแพ้ได้บ่อยได้แก่
1. กลุ่ม Penicillin เช่น Amoxycillin,Cloxacillin,PenV ซึ่งมักเป็นยาแก้อักเสบ ที่ใช้ฆ่าเชื้อโรค แกรมบวก แพทย์มักจะใช้รักษาการติดเชื้อของระบบหายใจ ผิวหนัง เช่น ไข้หวัด ปอดบวม แผลอักเสบผิวหนัง แผลฝีหนอง ฯลฯ 2. กลุ่ม Sulpha เช่น Bactrim ใช้รักษาฆ่าเชื้อโรคแกรมลบ ในระบบทางเดินอาหาร ระบบปัสสาวะ เช่น ท้องเสีย อาหารเป็นพิษ ท่อปัสสาวะ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ 3. กลุ่ม NSAID( non-steroidal antiinflammatory drug) เช่น Brufen , Aspirin , Indomethacin ใช้รักษาโรคทางกระดูกและข้อ เช่น กล้ามเนื้ออักเสบ เก๊าซ์ เส้นเอ็นอักเสบ ปวดหลัง 4. กลุ่ม Barbiturate ใช้ในโรตลมชัก - ลักษณะอาการที่พบ
- ถ้าเป็นการแพ้ครั้งแรก มักเกิดผื่นแดงแบบจุดแดง คัน ( maculopapular rash) ดังภาพประกอบที่ 1 เกิดหลังกินยาประมาณ 1-2 สัปดาห์ แต่ถ้าได้รับซ้ำอีก อาจเกิดผื่นได้เร็วขึ้น แต่อาจรุนแรงมากขึ้น จนเป็นปื้นแดงทั่วตัว แบบ erythema rash ดังภาพประกอบที่ 2 ถ้ารุนแรงมาก อาจมีอาการทางร่างกาย เช่น ไข้ต่ำๆ ปวดตามตัว คลื่นใส้ อาเจียนได้ - อาจพบลักษณะอาการแพ้ยา โดยมีผื่นแบบอื่นๆ ได้ เช่น ลมพิษ รอยจ้ำช้ำเฉพาะที่( fixed drug eruptions) ภาวะไวต่อแสงแดด (Phtosensitivity) ผนังเส้นเลือดอักเสบ(vasculitis) ฯลฯ - แนวทางการรักษา ก่อนไปพบแพทย์
1. ถ้าสงสัย หยุดใช้ยาทันที และพบแพทย์ที่รักษาและให้ยา จะเป็นวิธีที่ดีที่สุด เพราะแพทย์จะทราบว่าให้ยาอะไรแก่ท่าน และถ้าไม่สะดวก ควรพบแพทย์ที่ใกล้ที่สุดก่อน และนำยาที่รักษาไปด้วย ถ้าทราบชื่อยายิ่งเป็นประโยชน์ต่อการรักษา 2. ถ้ามี่ยาแก้แพ้ หรือแก้คัน เช่น Chorpheniramine, Actifed, Atarax อาจรับประทานก่อน 1 เม็ดทันที ก่อนพบแพทย์เพื่อป้องกันมิให้อาการแพ้ลุกลาม 3. ทายาแก้แพ้ เช่น Stroid cream ,Calamine lotions กรณีที่คันมากๆ ก่อนพบแพทย์ เพื่อป้องกันการเกาให้เกิดเป็นแผล 4. เมื่อพบแพทย์ แพทย์มักให้ยาในกลุ่ม Antihistamine,Steroid ทั้งในรูปของยารับประทานหรือยาฉีด หรือให้นอน รพ. เพื่อสังเกตอาการ กรณีที่อาการแพ้รุนแรงมาก เรียบเรียงและค้นคว้าใหม่โดย นพ.จรัสพล รินทระ ...ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด...4 August,2005 |
ที่มา : https://www.clinicneo.co.th/detailcolumn.php?grp=8&sdata=&col_id=151