| - ไฝ และขี้แมลงวัน เป็นภาวะปกติของผิวหนังที่พบได้บ่อยๆ ในเกือบทุกคน จะมากน้อยแตกต่างก็แล้วแต่เชื้อชาติ กรรมพันธุ์ �
|
��ละตัวบุคคลเอง แต่ก็มีคำถามกันบ่อยๆว่า ถ้ากรณีที่มีปริมาณมากๆ หรือลักษณะอย่างนี้ จะมีอันตรายอะไรหรือไม่ จะกลายเป็นมะเร็งภายหลังหรือเปล่า จึงขอนำเสนอบทความการจะพิจารณาอย่างไร ในการจะพบแพทย์เพื่อแก้ไขปัญหาใฝ ขี้แมลงวัน ว่าจะกลายพันธุ์ในอนาคตหรือไม่ - ไฝ และขี้แมลงวัน มีสาเหตุมาจากความผิดปกติของ Melanocyte (ซึ่งเป็นเซลล์ที่อยู่ในชั้นหนังกำพร้า (Epidermis) โดยมีหน้าที่ใน การสร้างเม็ดสีเมลานิน ซึ่งปริมาณและขนาดของเมลานิน จะเป็นตัวกำหนดสีผิวของคนเรา ว่าจะมีผิวขาว ผิวคล้ำ มากน้อยเพียงใด ) แล้วเกิดเป็นเนื้องอกจากการเพิ่มจำนวนของเซลล์เมลาโนไซท์ โดยไฝจะมีลักษณะเป็นตุ่มนูน ส่วนขี้แมลงวันจะเป็นตุ่มราบสีดำ และอยู่ตื้นกว่าไฝ
- โดยทั่วๆ ไป ไฝ และขี้แมลงวัน จะมีการเพิ่มขึ้นตามอายุอย่างช้าๆ ซึ่งมักจะสังเกตได้ในช่วงวัยรุ่น หรือตั้งครรภ์ โดยการเปลี่ยนแปลงที่ เกิดขึ้นจะเกิดขึ้นในบริเวณทั่วตัวพร้อมๆ กัน และมีการติดตามแล้วพบว่า ไฝ และขี้แมลงวัน จะมีโอกาสเกิดมะเร็งผิวหนังได้ ที่เรียกว่า Melanoma ซึ่งมีอันตรายร้ายแรงและเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ แต่ในคนไทยพบได้น้อย ดังนั้นการสังเกตความเปลี่ยนแปลงตั้งแต่แรกเริ่ม จึงมีความจำเป็น และแก้ไขได้ทันท่วงที
- ลักษณะของ ไฝ และขี้แมลงวัน ที่อาจจะต้องพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยต่อไป มีดังนี้
1. ไฝ และขี้แมลงวัน ที่ได้รับการระคายเคืองบ่อยๆ 2. ไฝ และขี้แมลงวัน ในบริเวณที่สังเกตได้ยาก เช่น บนหนังศีรษะ หรืออวัยวะเพศ 3. ไฝ และขี้แมลงวัน ที่มีมาแต่กำเนิดและขนาดใหญ่ เช่น ไฝยักษ์ ( Giant congenital melanoma - ไฝ หรือขี้แมลงวัน ที่มีลักษณะผิดปกติ ได้แก่
1. สีดำเข้มผิดปกติกว่าที่อื่นๆ 2. สีที่ไม่สม่ำเสมอ หรือสีเปลี่ยนอย่างกะทันหัน 3. ขอบเขตไม่เรียบ 4. ขนาดใหญ่เกิน 5 มม. 5. โตเร็วผิดปกติ - ขั้นตอนการวินิจฉัยและจัดการกับไฝ และขี้แมลงวัน ที่ผิดปกติของแพทย์ผิวหนัง โดยทั่วๆ ไป มีดังนี้
1. ตัดไฝ และขี้แมลงวันออกทั้งหมด (Excisional Biopsy) ซึ่งถือว่าเป็นเป็นวิธีการรักษาที่ดีที่สุด แต่มักใช้ได้กับไฝที่ไม่โตมากนัก แล้วส่งชิ้นเนื้อของไฝ และขี้แมลงวัน ส่งตรวจพยาธิสภาพ ถ้าบ่งว่าเป็นมะเร็ง ก็ทำการรักษาที่ถูกต้องต่อไป 2. ตัด ไฝ และขี้แมลงวันออกบางส่วน ( Incisonal Biopsy) มักจะใช้ในกรณีที่ไฝที่มีขนาดใหญ่ ถ้าตัดออกหมด อาจจะทำให้สูญเสียความสวยงาม หรือ อาจจะทำให้มีผลต่อการใช้งานได้ แล้วส่งชิ้นเนื้อของไฝ และขี้แมลงวัน ส่งตรวจพยาธิสภาพ ถ้าบ่งว่าเป็นมะเร็ง ก็ทำการรักษาที่ถูกต้องต่อไปเช่นกัน 3. หมั่นตรวจ ติดตามผล โดยอาจจะต้องถ่ายรูปผิวหนังบริเวณดังกล่าวเป็นระยะๆ และพบแพทย์อย่างต่อเนื่อง 4. ไม่แนะนำให้ทำการจี้ หรือกำจัดออกด้วยการไฟฟ้า หรือเลเซอร์ สำหรับกรณีไฝที่ผิดปกติ หรือสงสัยเนื้อร้าย เพราะอาจจะทำให้ไม่สามารถส่งชิ้นเนื้อ ไปตรวจพยาธิสภาพได้ และอาจจะทำให้การแปรผลผิดพลาดได้เช่นกัน - ได้เคยมีการศึกษา ถึงอัตราการเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง จากการปัจจัยต่างๆดังนี้ ว่าจะมีโอกาสเกิดได้สูงกี่เท่า ดังตารางต่อไปนี้
ลักษณะของไฝ | อัตราเสี่ยง (เท่า) | มีไฝ ขนาด หรือรูปร่างเปลี่ยนแปลง | สูงมาก | อายุมากกว่า 15 ปี เมื่อเทียบกับอายุน้อยกว่า 15 ปี | 88 | ผิวขาว เมื่อเปรียบเทียบกับคนผิวดำ | 20 | มีไฝขนาดใหญ่ตั้งแต่ 2 มม. ขึ้นไป 50 เม็ด | 4-54 | มีไฝขนาดใหญ่ตั้งแต่ 5มม. ขึ้นไป 5 เม็ด | 7-10 | มีไฝขนาดใหญ่ตั้งแต่ 5มม. ขึ้นไป 12 เม็ด | 41 | เคยเป็น มะเร็งผิวหนัง Melanoma มาก่อน | 9 | มีญาติสายตรงเป็น มะเร็งผิวหนัง Melanoma | 8 | มีภาวะถูมิคุ้มกันบกพร่อง | 4 | มีไฝ เป็นมาแต่กำเนิด | 2-21 | เรียบเรียงและค้นคว้าโดยนพ.จรัสพล รินทระ....................13 September,2003 |
ที่มา : https://www.clinicneo.co.th/detailcolumn.php?grp=8&sdata=&col_id=248