วัคซีนเข็มเล็ก นวัตกรรมป้องกันไข้หวัดใหญ่ในผู้สูงอายุ


1,847 ผู้ชม


วัคซีนเข็มเล็ก ป้องกันไข้หวัดใหญ่ที่ใช้ได้ดีในผู้สูงอายุ การดูแลรักษาสุขภาพและการป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ด้วยการฉีดวัคซีนจึงมีประโยชน์อย่างมากในผู้สูงอายุ         วัคซีนเข็มเล็ก ป้องกันไข้หวัดใหญ่ที่ใช้ได้ดีในผู้สูงอายุ การดูแลรักษาสุขภาพและการป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ด้วยการฉีดวัคซีนจึงมีประโยชน์อย่างมากในผู้สูงอายุ 

ไข้หวัดใหญ่ในผู้สูงอายุ เรื่องใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม

วัคซีนเข็มเล็ก นวัตกรรมป้องกันไข้หวัดใหญ่ที่ใช้ได้ดีในผู้สูงอายุ

         ช่วงปลายฤดูฝนและต้นฤดูหนาวเป็นช่วงที่มีอากาศเปลี่ยนแปลง และเป็นช่วงที่พบการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ได้บ่อยกว่าปกติ สำหรับคนที่สุขภาพแข็งแรง ไข้หวัดใหญ่อาจจะไม่รุนแรงจนเสียชีวิต แต่สำหรับผู้สูงอายุนั้นการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่นั้นจะมีความรุนแรงที่แตกต่างกันอย่างมากเนื่องจากอายุที่เพิ่มมากขึ้น ร่างกายทั้งหมดจะเกิดการเปลี่ยนแปลงในทางเสื่อมมากกว่าการเติบโต รวมทั้งระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายที่จะคอยป้องกันไม่ให้เชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมเข้ามาทำอันตรายก็จะทำงานได้น้อยลง ซึ่งจะเห็นได้ว่าผู้สูงอายุมีโอกาสการเจ็บป่วย หรือ เกิดการติดเชื้อที่รุนแรงได้มากกว่าคนหนุ่มสาว ซึ่งมีข้อมูลการศึกษาในประเทศไทยพบว่าผู้สูงอายุมีโอกาสเกิดปอดบวมจากเชื้อไข้หวัดใหญ่ได้มากกว่าคนทั่วไปถึง 11 เท่า1

         ดังนั้น การดูแลรักษาสุขภาพและการป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ด้วยการฉีดวัคซีนจึงมีประโยชน์อย่างมากในผู้สูงอายุ แต่เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันที่เสื่อมถอยลงนั้นทำให้ผู้สูงอายุมีการตอบสนองต่อการฉีดวัคซีนได้ลดลงเช่นเดียวกัน โดยจะเห็นได้ว่าภูมิคุ้มกันของผู้สูงอายุที่มีการวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่นั้นลดลงไป 2-4 เท่าเมื่อเปรียบเทียบกับคนวัยหนุ่มสาว2

ปัจจุบันนี้จึงได้มีศึกษาเพิ่มเติมโดยนำวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่มาฉีดเข้าในผิวหนังตีพิมพ์ในวารสาร “วัคซีน” ปี 2552-25532พบว่า การฉีดวัคซีนเข้าในผิวหนังจะกระตุ้นภุมิคุ้มกันได้ดีกว่า และมีประสิทธิภาพในการป้องกันไข้หวัดใหญ่ได้สูงขึ้นในผู้สูงอายุ

          แพทย์หญิง สุเนตร ชื่นกิจมงคล ผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ บริษัท ซาโนฟี่ ปาสเตอร์ จำกัด กล่าวว่า “การฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันไข้หวัดใหญ่ให้ได้ผล คือ ต้องฉีดทุกปี โดยที่ผ่านมา วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ที่ใช้กันอยู่จะเป็นชนิดฉีดเข้ากล้ามเนื้อ (intramuscular) ซึ่งปกติจะฉีดเข้าที่ต้นแขน แต่ในปัจจุบันด้วยความเจริญทางการแพทย์ ทำให้มีการพัฒนาวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่จากแบบเดิมนี้มาเป็นชนิดฉีดเข้าในผิวหนัง (intradermal) ด้วยการใช้นวัตกรรมของเข็มที่มีขนาดเล็กมาก (Micro Injection System) หรือ อาจเรียกได้ว่า ‘วัคซีนเข็มเล็ก’

จากการทดลองโดยเฉพาะในผู้สูงอายุ อายุ มากกว่า 60ปี จำนวน 3,700 คน พบว่าผลภูมิคุ้มกันต่อไข้หวัดใหญ่ของผู้สูงอายุที่ได้รับวัคซีนชนิดฉีดเข้าในผิวหนังสูงกว่าการฉีดเข้ากล้ามตามปกติ2สามารถป้องกันไข้หวัดใหญ่ได้มากขึ้น วัคซีนตัวนี้จึงเหมาะโดยเฉพาะในผู้สูงอายุที่มีภูมิต้านทานน้อยซึ่งเสี่ยงต่อการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ได้ง่ายขึ้น

“เนื่องจากในผู้สูงอายุจะมีภูมิคุ้มกันของร่างกายที่อ่อนแอลงตามธรรมชาติ จึงทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ได้ง่ายขึ้น และเสี่ยงต่อการมีอาการแทรกซ้อนรุนแรงได้มากขึ้น อีกทั้งการตอบสนองต่อการกระตุ้นภูมิคุ้มกันที่ได้จากการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ยังลดลงอีกด้วย3แต่ด้วยการฉีดวัคซีนเข้าในผิวหนัง สามารถใช้ปริมาณวัคซีนเท่าเดิมกับที่ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ แต่สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดีกว่า ดังนั้นวัคซีนเข็มเล็ก ชนิดฉีดเข้าในผิวหนังจึงเหมาะอย่างมากสำหรับการใช้ป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ในผู้สูงอายุ ”  แพทย์หญิงสุเนตรกล่าวเสริม

# # #

Reference

1.       Mark A. Who gets hospitalized for influenza pneumonia in Thailand? Implications for vaccine policy. Vaccine 25(2007) 3827-3833

2.       Rebert Arnou. Intradermal influenza vaccine for older adults: A randomized controlled multicenter phase III study. Vaccine 27 (2009) 7304-7312

3.       Katherine Goodwin. Antibody response to influenza vaccination in the elderly. A quantitative review. Vaccine 24 (2006)1159-1169

 
ที่มา : https://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=2845&sub_id=6&ref_main_id=2

อัพเดทล่าสุด