บทความสุขภาพ ยิ่งสูงมาก ยิ่งเสี่ยงเป็นโรคมะเร็ง


1,146 ผู้ชม


บทความสุขภาพของเราโดยวารสารการแพทย์ แลนเซ็ต จากสหราชอาณาจักร เผยว่า ยิ่งถ้าคุณมีรูปร่างสูงมากเท่าใด ก็ยิ่งมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งมากเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเพศหญิง จะมีกลุ่มเสี่ยงมาก         บทความสุขภาพของเราโดยวารสารการแพทย์ แลนเซ็ต จากสหราชอาณาจักร เผยว่า ยิ่งถ้าคุณมีรูปร่างสูงมากเท่าใด ก็ยิ่งมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งมากเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเพศหญิง จะมีกลุ่มเสี่ยงมาก 
บทความสุขภาพ ยิ่งสูงมาก ยิ่งเสี่ยงเป็นโรคมะเร็ง

บทความสุขภาพ ยิ่งสูงมาก ยิ่งเสี่ยงเป็นโรคมะเร็ง

สุขภาพเกี่ยวกับโรคมะเร็งจาก วารสารการแพทย์ แลนเซ็ต  เผยผลการศึกษาของนักวิจัยจากสหราชอาณาจักร

เกี่ยวกับความสัมพันธ์เชิงสถิติระหว่างการเจริญเติบโตของร่างกายกับการป่วยเป็นโรคมะเร็งซึ่งพบว่า ยิ่งมีรูปร่างสูงมากเท่าใดก็ยิ่งมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งมากเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเพศหญิง
ทีมวิจัยดังกล่าวทำการศึกษาข้อมูลของหญิงวัยกลางคนในสหราชอาณาจักร 1.3 ล้านคนระหว่างปี 1996-2001 ซึ่งมีส่วนสูงเฉลี่ยอยู่ที่ 161 เซนติเมตร ปรากฏว่าเมื่อตรวจสอบประวัติทางการแพทย์ของกลุ่มตัวอย่างดังกล่าวในปี 2008 พบว่ามีผู้ป่วยเป็นมะเร็งชนิดต่างๆ กว่า 97,000 คน และเมื่อพิจารณาเปรียบเทียบส่วนสูงของผู้ป่วยเหล่านั้น ได้ข้อสรุปว่า ส่วนสูงทุกๆ 10 เซนติเมตรที่เพิ่มขึ้นในเพศหญิง จะมีความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งถึง 16 เปอร์เซ็นต์ โดยชนิดของมะเร็งที่น่าจะสัมพันธ์กับการเจริญเติบโตของร่างกายมากที่สุดคือ มะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ มะเร็งปากมดลูก มะเร็งลำไส้ และมะเร็งผิวหนังชนิด malignant melanoma
สำหรับกลุ่มตัวอย่างที่มีส่วนสูงมากที่สุด เฉลี่ยอยู่ที่ 174 เซนติเมตร มีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งมากกว่ากลุ่มตัวอย่างที่ส่วนสูงเฉลี่ย 153 เซนติเมตร ถึง 37 เปอร์เซ็นต์
ส่วนในเพศชายนั้นระบุในผลการศึกษาว่า ส่วนสูงที่เพิ่มขึ้นทุกๆ 10 เซนติเมตร จะเพิ่มอัตราเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง 10 เปอร์เซ็นต์
เจน กรีน นักระบาดวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด หนึ่งในทีมวิจัยเผยในรายงานว่า สาเหตุหนึ่งที่ส่วนสูงอาจมีผลต่อการเกิดเซลล์มะเร็งก็เพราะโดยหลักการ คนยิ่งตัวสูงแสดงว่ามีระดับฮอร์โมนที่ช่วยในการเจริญเติบโตสูงกว่าคนตัวเตี้ย และเกิดการแตกเซลล์เร็วขึ้นและจำนวนมากขึ้นตามไปด้วย
อย่างไรก็ตาม กรีนย้ำว่า สำหรับคนตัวสูงที่มีสุขภาพแข็งแรง ไม่ควรตีตนไปก่อนไข้หรือเป็นกังวลจนไปหาทางทำให้ตัวเองหยุดสูงแต่อย่างใด เพราะนี่ยังเป็นเพียงการศึกษาเบื้องต้นที่เผยให้เห็นความสัมพันธ์อย่างคร่าวๆ ระหว่างการเจริญเติบโตของร่างกายกับการป่วยเป็นมะเร็ง
แพทย์และนักวิทยาศาสตร์ยังต้องศึกษารายละเอียดเชิงลึกถึงพฤติกรรมและการดำเนินชีวิตของกลุ่มตัวอย่างโดยละเอียดก่อนว่ายังพบปัจจัยใดๆ ที่อาจจะมีผลของการเกิดเซลล์มะเร็งหรือไม่ อย่างไร อาทิ อาหารความเครียด โรคประจำตัว การสูบบุหรี่ เป็นต้น

ที่มา : https://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=3202&sub_id=95&ref_main_id=2

อัพเดทล่าสุด