| สายบราที่รัดตึงเกินไปจะทำให้ปวดศีรษะ ไหล่ หลัง คอ และเป็นจุดเริ่มต้นของการปวดหัวเรื้อรัง หรือไมเกรน เนื่องจากกล้ามเนื้อช่วงไหล่ถูกดึงรั้ง จนเลือดบริเวณนั้นไหลเวียนไม่สะดวก |
| บราไซส์เล็กเกินไป ทำให้เกิดภาวะเครียดต่อระบบกล้ามเนื้อระบบหายใจ และระบบไหลเวียนเลือด ทำให้เหนื่อยง่าย บางรายมีอาการเจ็บหน้าอกเรื้อรัง |
| จากการศึกษาเรื่อง Bra and Breast Cancer Study ที่สหรัฐอเมริกา พบว่าการใส่บราที่รัดแน่นต่อเนื่องเป็นเวลานาน เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านม เพราะแรงกดทำให้เกิดการคั่งของเลือดและน้ำเหลือง และเกิดเป็นก้อนเนื้อที่บริเวณหน้าอก ซึ่งอาจกลายเป็นเนื้อร้ายในเวลาต่อมา |
| ควรเลือกขนาดของบราให้เหมาะสมกับบรากาวที่เสริมเข้าไป ก่อนใช้ควรทำความสะอาดผิวบริเวณที่สวมใส่ให้แห้ง และไม่ควรทาโลชั่น น้ำหอม แป้ง หรือผลิตภัณฑ์ดูแลผิวใด ๆ ถึงแม้ศูนย์ Women’s Health Boutique สหรัฐอเมริกา เชื่อว่าการใช้บรากาวปลอดภัยและไม่มีอันตรายต่อสุขภาพ แต่ถ้าเกิดการระคายเคืองหรือคันบริเวณเต้านม ควรให้เลิกใช้ทันที หลังใช้ควรทำความสะอาดบราด้วยน้ำสบู่อ่อนๆ หรือน้ำอุ่น ใช้ผ้าซับน้ำ ด้านที่เป็นกาว นำไปผึ่งในที่ร่มจนแห้งสนิท แล้วจึงเก็บไว้ในอุณหภูมิปกติ |
| การสวมสเตย์รัดหน้าท้องนาน ๆ จะทำให้กล้ามเนื้อหลังไม่แข็งแรงปวดหลังเป็นประจำ หรือปวดหลังเรื้อรัง เวลานั่ง ยืน หรือเดินอวัยวะภายในช่องท้องทำงานได้ไม่เต็มที่ เนื่องจากแรงบีบรัดของสเตย์อวัยวะที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือ กระเพาะอาหาร ลำไส้ ระบบขับถ่ายที่ทำให้ท้องผูก ระบบกล้ามเนื้อ ระบบไหลเวียนเลือดอุดตัน ทำให้เกิดความเครียด ระบบย่อยอาหารที่เป็นอุปสรรคต่อการย่อย จนเกิดโรคกระเพาะอาหารอักเสบหรือเป็นแผล |
| การใส่จีสตริงที่มีขนาดเล็ก หรือสายรัดตึงเกินไป ทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อบริเวณง่ามก้น หรือเกิดการเสียดสีจนอาจเป็นแผลผิวหนังถลอก หรืออักเสบที่บริเวณอวัยวะเพศหรือทวารหนักได้หากรักษาความสะอาดไม่ดีพอ สายของจีสตริงจะเป็นแหล่งสะสมของแบคทีเรียบริเวณรอบทวารหนักชื่อ Gardinerella Vaginalis เป็นเหตุให้แบคทีเรียดังกล่าวแพร่เข้าสู่ช่องคลอดเกิดปัญหาการติดเชื้อ มีอาการตกขาว กลิ่นเหม็น และคันที่บริเวณอวัยวะเพศ |
| อย่าใส่ซ้ำ หรือรีบเปลี่ยนชุดชั้นในที่อับชื้นทันที เพื่อป้องกันการติดเชื้อและราที่อาจทำให้เกิดโรคผื่นคันหรือสังคัง ซึ่งเกิดได้ทั้งในผิวหนังบริเวณเร้นลับทั้งของผู้ชายและผู้หญิง สาเหตุของสังคังเกิดจากเชื้อราลุกลามเป็นวงกว้าง ในเซลล์ที่ตายแล้วบริเวณขาหนีบซึ่งเป็นมุมอับ เมื่ออากาศระบายเข้า-ออกไม่ดีทำให้เกิดการหมักหมม เมื่อรู้ตัวว่าเริ่มมีอาการคันบริเวณขาหนีบ ให้รีบไปหาหมอเพื่อทำการรักษาการป้องกัน และการรักษาที่ดีที่สุดคือ รักษาความสะอาดของร่างกายโดยอาบน้ำทุกวัน วันละ 2 ครั้งเป็นอย่างน้อย หลังอาบน้ำเสร็จแล้วเช็ดตัวให้แห้ง อย่าให้ร่างกายมีความอับชื้นโดยเฉพาะที่ขาหนีบ |
| ควรหมั่นทำความสะอาดชุดชั้นในให้ปลอดเชื้อราเสมอ ๆ เริ่มจากแยกชุดชั้นในออกจากชุดชั้นนอกและแยกสีเข้ม สีอ่อน ซักด้วยน้ำยาซักผ้าหรือผงซักฟอกละลายในน้ำธรรมดา ไม่ควรใช้สารฟอกขาวทุกชนิด ไม่ควรขยี้หรือใช้แปรงขัดชุดชั้นในแรง ๆ (โดยเฉพาะยกทรง) เพราะจะทำให้เสียรูปทรงได้ง่าย ในบริเวณที่มีคราบสกปรกให้ใช้แปรงขนนุ่ม ๆ ถูเบาๆ ให้สะอาด จากนั้นให้ล้างชุดชั้นในด้วยน้ำสะอาดหลาย ๆ ครั้ง ไม่ควรบิดยกทรงโดยเฉพาะแบบมีโครง ควรบีบเบา ๆ เพื่อให้น้ำออก ตากในที่ร่ม มีลมโกรก ไม่ควรตากชุดชั้นในทุกชนิดให้ถูกแสงแดดโดยตรงเพราะจะทำให้เนื้อผ้าและสีเสื่อมสภาพเร็ว ที่มา : https://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=3320&sub_id=103&ref_main_id=2 |