| - เมื่อคนเราอายุมากขึ้น สังขารของเราก็ย่อมมีการเปลี่ยนแปลง ตามวัฏสงสาร คือ เกิด แก่ เจ็บและตาย การเปลี่ยนแปลงทางสร�
|
��ระวิทยา เช่น การเปลี่ยนแปลงด้านผิวพรรณ รูปลักษณ์ภายนอก อวัยวะต่างๆ ก็ย่อมเดินทางไปสู่ทางเสื่อมลงๆ ดังเช่น รถยนต์ ยิ่งนานวัน อายุการใช้งานที่มากขึ้น ก็ย่อมทำให้ประสิทธิภาพและ ศักยภาพต่างๆลดลง ได้มีนักวิทยาศาสตร์หลายกลุ่มหลายคน ที่พยายามจะอธิบายทฤษฎืความแก่ (Theory of Aging) ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร ทำไมเมื่ออายุมากขึ้น จึงต้องแก่ จึงต้องมีโรคภัยหรือมีการเจ็บป่วย ที่ทำให้เราต้องสูญเสียการทำงานบางอย่าง หรือเกิดการตายในที่สุด โดยได้มีการสรุปออกมาได้ดังนี้ - ทฤษฎืความแก่ (Theory of Aging) ได้อธิบายออกมาในแง่ของโมเลกุลของเซลล์ที่เสื่อมออกมา เป็น 2 หัวข้อใหญ่ๆ คือ
1. เสื่อมตามโปรแกรมที่ตั้งไว้แล้ว (Biological Clock) หมายถึง ในวงจรชีวิตของคน หรือสัตว์ทั้งหลาย ได้มีการตั้งเวลาไว้ก่อนแล้วว่า อายุขัยของสิ่งมีชีวิตแต่ละประเภทนั้น ควรจะประมาณกี่ปี เช่น สุนัขก็จะประมาณ 10-15 ปี คนเราก็ประมาณ 70-80 ปี ยุงมีอายุขัยประมาณ 1-2 วัน เป็นต้น 2. เสื่อมจากอุบัติเหตุหรือปัจจัยภายนอก(Accidental or environment aging) ซึ่งหมายถึงการเสื่อมหรือการสิ้นอายุขัยที่เราทำขึ้นมาเอง เช่น จากอุบัติเหตุ สิ่งแวดล้อม การไม่ดูแลใส่ใจในสุขภาพตนเอง เป็นต้น - จากทฤษฎืความแก่ (Theory of Aging) ใหญ่ๆ ข้างต้น ได้มีการพยายามศึกษา และหาเหตุผลในการอธิบายให้ละเอียดลึกซึ้ง มากขึ้น ทำให้เกิด ทฤษฎืความแก่ปลืกย่อยออกมาอีกมากมายที่พอจะเล่าให้ฟังคร่าวๆ ที่ได้รับการยอมรับกันอย่างแพร่หลายแล้ว ดังนี้
1. The Wear and Tear Theory : โดยเชื่อว่าคนเราแก่จากการที่เซลล์ของเราถูกทำลาย จากการใช้งานมากเกินไป หรือใช้งานไม่ถูกต้อง ไม่รู้จักดูแลสุขภาพ เช่นการพักผ่อนให้เพียงพอ การรับประทานไม่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ เกิดสารพิษปนเปื้อน เกิดการติดเชื้อโรค เป็นต้น จึงทำให้เสื่อมลงๆ เปรียบเหมือนรถยนต์ที่ใช้งานหนักมานาน และไม่ทะนุถนอม ก็จะทำให้เครื่องพังได้เร็วขึ้น ดังนั้นอายุขัยแต่ละคน จะมีชีวิตยืนยาวที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติตัวของเรานั่นเอง 2. The Neuroendocrine Theory: เนื่องจากเมื่ออายุมากขึ้นฮอร์โมนต่างๆ จะลดระดับลง เช่น ในเพศหญิงจะมีระดับ Estrogen,Progesterone จะลดลง ส่วนเพศชายจะมีระดับฮอร์โมน Testosterone ลดลง นอกจากนี้ยังมีฮอร์โมนตัวอื่นที่ลดลงเหมือนกันทั้งในเพศหญิงและชายคือ Growth Hormone,Cortisol, Melatonin ฯลฯ ซึ่งฮอร์โมนเหล่านี้ เป็นฮอร์โมนหลักๆ ที่มีผลต่อการทำงานของเซลล์ และอวัยวะต่างๆ เมื่อมีระดับฮอร์โมนลดลง สุขภาพของเราก็จะเสื่อมถอยลงเช่นกัน เพราะทำให้การซ่อมแซมสิ่งทีสึกหรอ หรือการทำงานต่างๆ ลดลง 3. The Genetic Control Theory: เชื่อกันว่ายีนส์จากพันธุืกรรมของแต่ละคน ได้เป็นตัวกำหนดอายุขัยของแต่ละคนตามเชื้อชาติ เช่น การมีประวัติโรคภัยจากกรรมพันธุ์ ในการสืบทอดทางสายเลือด ทำให้คนเราอายุไม่เท่ากัน เช่น คนที่มีประวัติเบาหวานในครอบครัว ก็จะมียีนส์ที่ด้อย และถ่ายทอดไปยังบุตรหลาน ทำให้มีโอกาสเกิดเบาหวานได้ง่ายกว่าคนที่ ไม่มีประวัติทางครอบครัว เป็นต้น ซึ่งทำให้มีการค้นคว้าวิจัยในอนาคต ที่จะทำการเปลี่ยนถ่ายยีนส์ที่ไม่ดีออกไป แล้วคัดสรรยีนส์ที่แข็งแรงทดแทน ที่บางคนอาจจะเคยได้ยินที่เค้าเรียกว่า Gene testing and Gene Therapy หมายถึงการคัดเลือกสายพันธุ์ที่ดี การ Screen ยีนส์ที่ไม่ดี ก่อนการสมรส หรือการคัดสรรสายพันธุ์ที่ดี เพื่อสืบทอดทายาท เป็นต้น 4. The Free-Radical Theory: ทฤษฎืที่ว่าด้วยสารอนุมูลอิสระ โดยเชื่อว่าสารอนุมูลอิสระ(Free radicles) ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่นจากแสงแดด สารเคมีบางอย่าง ฯลฯ เป็นตัวการในการทำลายเซลล์ ทำให้เซลล์เสื่อมสภาพ โดยไปทำลายและรบกวนการสร้าง DNA ซึ่งเป็นยีนส์ในการสังเคราะห์โปรตีน รบกวนการสร้างคอลลาเจนและอีลาสติน ซึ่งสารต้านอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้น เปรียบเสมือนสนิมของรถยนต์ที่จะคอยกัดกร่อนร่างกายให้เสื่อมสภาพ จึงได้มีการแก้ไขด้วยสารต้านอนุมูลอิสระมากมาย ที่เรียกว่า Anti-Oxidants เช่น วิตามินซี วิตามินเอ CoQ10 Idebenone ฯลฯ ออกมาป้องกันภาวะชราดังกล่าว 5. Telomerase Theory of Aging: พบว่าเมื่ออายุมากขึ้น เซลล์มีการแบ่งตัวตลอดเวลาเพื่อการเจริญเติบโต โดยมีโครโมโซมในยีนส์เป็นตัวที่มีบทบาทสำคัญ นักวิทยาศาสตร์พบว่าในโครโมโซม จะมี Telomeres เป็นตัวที่กำหนดบทบาทความแข็งแรงของโครโมโซม โดยพบว่ายิ่งอายุมากขึ้น เซลล์ก็จะแบ่งตัวมากขึ้น ทำให้ความยาวของ Telomeres จะยิ่งสั้นลง ทำให้เซลล์ลดความแข็งแรง และเสื่อมตายในที่สุด ทั้งนี้ยังพบว่า ขบวนการดังกล่าวอาศัยเอนไซม์ Telomerase เป็นตัวนำพาการแบ่งตัว ในงานวิจัย พบว่าในเซลล์มะเร็งจะมีเอนไซม์ Telomerase มาก และทำให้เซลล์แบ่งตัวตลอดเวลาจนผิดปกติ เกิดเป็นเซลล์มะเร็ง ได้มีการทดลองนำสารที่ยับยั้งการทำงานของ เอนไซม์ Telomerase ทำให้พบว่าสามารถป้องกันและรักษามะเร็งได้ในอนาคต (ละเอียดไปหรือเปล่าเนี่ย ! พอแค่นี้ก่อนแล้วกัน) - ปัจจุบันศาสตร์ด้านเวชศาสตร์ชะลอวัย(Anti-Aging Medicine) ได้มีการศึกษา ทดลอง ค้นคว้า กันอย่างต่อเนื่อง และก็มี ทฤษฎืความแก่ (Theory of Aging) หลากหลาย บทความ งานวิจัย ออกมาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น Waste Accumulation Theory,Mitochondrial Theory,Cross-Linkage Theory,Autoimmune Theory, Carorie Restriction Theory,Gene Mutation and DNA Damage Theories,Rate of Living Theory,Order to Disorder Theory ฯลฯ ซึ่งงานวิจัยหาสาเหตุของความชราหาความเป็นไปได้ในการป้องกัน รักษา เพื่อชีวิตที่ยืนยาว แข็งแรง ในอนาคต และเป็นการเอาชนะธรรมชาติที่มนุษย์ได้พยายามค้นคว้า ศึกษา ทดลอง อย่างไม่หยุดยั้งในการเรียนรู้นี่เอง นำมาซึ่งการพัฒนาองค์ความรู้มากมาย ก็คงต้องติดตามความก้าวหน้าด้านการแพทย์กันต่อไปนะครับ
แปล เรียบเรียงและค้นคว้าโดย นพ.จรัสพล รินทระ Update ข้อมูลล่าสุดเมื่อ 3 April,2008 เอกสารอ้างอิง...Theories on Aging,Board Examination and Fellowship Review and Study guide by Dr.Ronald Klatz and Dr.Robert Goldman,2007-2008 Edition |
ที่มา : https://www.clinicneo.co.th/detailcolumn.php?grp=10&sdata=&col_id=325