น่องโต (Radish-like Legs) ทำให้เล็กลงได้ด้วยการฉีด Botox


814 ผู้ชม


  • น่องโต เป็นปัญหาด้านความสวยงามทางสรีระอย่างหนึ่ง ของผู้หญิงใน แถบเอเซีย ชาวจีนให้สมญานามของผู้หญิงน่องโตว่า "ขาห�
��วผัดกาดแดง ( Radish-like Legs) " ทำให้เป็นที่อับอาย และสร้างความไม่มั่นใจอย่างมาก
แก่สาวหมวยทั้งหลาย ในการจะสวมใส่กระโปรงหรือชุดว่ายน้ำ เพราะเรียวขาที่สวยงาม เป็นจุดดึงดูดทางเพศแก่ผู้ชาย รองมาจากใบหน้าและหน้าอก น่องที่โตส่วนใหญ่ จะเป็นส่วนน่องด้านใน (Medial side of calf) ที่เรียกว่า Gastrocnemius จึงได้มีการคิดค้น-แก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าวให้ดีขึ้น
  • ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะทางกายภาพของกล้ามเนื้อส่วนน่องกันซะหน่อย เพื่อเป็นความรู้พื้นฐานนะครับ (ดูภาพประกอบที่ 1) กล้ามเนื้อที่น่อง ประกอบด้วย กล้ามเนื้อ Gastrocnemius ซึ่งแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ Medial Gastrocnemius (MG) และ Lateral Gastrocnemius (LG) และกล้ามเนื้อที่ลึกลงไปชั้นในใกล้กระดูกขา คือ กล้ามเนื้อ Soleus (SL) ทั้ง 2 มัดกล้ามเนื้อ ในส่วนปลายจะรวมตัวกันเป็นเอ็นร้อยหวาย ( Achillis Tendon) ที่ทำหน้าที่ในการเขย่งข้อเท้า งอข้อเท้า ส่วนบนกล้ามเนื้อ Gastrocnemius ยัง ทำหน้าที่ในการงอข้อเข่าอีกด้วย มัดกล้ามเนื้อ 2 มัดนี้ มีส่วนสำคัญในการเดิน การกระโดด หรือการวิ่ง ส่วนฉายา "ขาหัวผักกาดแดง" ก็คือ การโตขึ้นของกล้ามเนื้อ Medial Gastrocnemius (MG)
  • แนวทางการแก้ไขปัญหาน่องโต: แบ่งได้เป็น 2 วิธี ดังนี้ 
    1. การผ่าตัด : จัดเป็นวิธีที่ได้ผลดี เร็ว และถาวร จัดเป็นวิธีดั้งเดิมที่ใช้แก้ปัญหาดังกล่าว แต่ปัจจุบันไม่นิยมทำ มีเทคนิคการผ่าตัดดังนี้ 
    1.1 การผ่าตัดเส้นประสาทที่ควบคุมกล้ามเนื้อ Medial Gastrocnemius (MG) เรียกว่า Selective neurectomy จะทำให้กล้ามเนื้อมัดนี้อ่อนกำลังลง จึงทำให้กล้ามเนื้อมีขนาดเล็กลง ซึ่งถือว่าทำให้ได้ผลเร็ว หลังผ่าตัดฟื้นตัวได้เร็ว แต่ข้อเสียคือ บอกไม่ได้แน่นอนว่าน่องจะลดลงอย่างไร ขนาดไหน และอาจจะทำให้การควบคุม การทำงานของขาผิดปกติได้ เพราะจะทำให้การเขย่งข้อเท้า การนั่งขัดสมาธิ มีปัญหาได้ และในระยะยาว น่องอาจจะกลับมาโตได้ใหม่จากกล้ามเนื้ออีก 2 มัดที่เหลือมาทำงาน ทดแทน และทำให้ขยายขนาดขึ้นมาแทน ซึ่งอาจจะทำให้น่องโตได้ไม่เท่ากัน 
    1.2 การผ่าตัดกล้ามเนื้อ Medial Gastrocnemius (MG) ที่เรียกว่า Total excision of MG วิธีนี้คือการตัดกล้ามเนื้อมัดนี้ออกไป ปัจจุบันไม่ค่อย นิยม เพราะทำให้เกิดรอยแผลผ่าตัดยาวถึง 5-8 ซม. และผลเสียก็คล้ายวิธี 1.1 แต่ให้ผลเสียมากกว่า ระยะเวลาพักฟื้นมากกว่า และกล้ามเนื้อถูกทำลายมากกว่า 
    1.3 การผ่าตัดแบบเหลากล้ามเนื้อทั้ง 3 มัด ( MG+LG+SL) ที่เรียกว่า Muscle sculture ก็คือการค่อยๆ ตัดกล้ามเนื้อที่ไม่เข้ารูป ออกทั้ง 3 มัด โดยจัดแต่งให้เข้ารูปที่ต้องการ แต่ก็มีผลเสีย คือ ใช้เวลานานในการผ่าตัดและพักฟื้น ราคาแพง และเกิดแผลเป็นหลังผ่าตัด 
    2. การฉีด Botox ที่กล้ามเนื้อ Medial Gastrocnemius (MG) : จัดเป็นเทคนิคใหม่ล่าสุด ในการแก้ปัญหาน่องโต โดยแพทย์ได้ประสบการณ์จากการ ฉีดสาร Botox ที่กล้ามเนื้อ Masseter เพื่อลดใบหน้าเหลี่ยมประสบผลสำเร็จมาแล้ว (ซึ่งผู้เรียบเรียงได้เขียนบทความเรื่องนี้ไว้แล้วที่นี่https://www.clinicneo.co.th/detailcolumn.php?grp=9&&col_id=264) ทำให้ได้มีการทดลองนำ Botox มาฉีดที่ กล้ามเนื้อ Medial Gastrocnemius (MG) ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อน่องด้านในที่พบว่าเป็นสาเหตุสำคัญของน่องโตเป็นหัวผักกาดแดง ผลการรักษา พบว่าทำให้สามารถลดขนาดน่องลงได้ภายใน 1-3 เดือน แต่ด้วยการออกฤทธิ์ชั่วคราวของ Botox จึงต้องฉีดซ้ำทุก 6 เดือน ผลงานนี้ได้ตีพิมพ์ในวารสารแพทย์มากขึ้น โดยเฉพาะใน ประเทศเกาหลี ซึ่งเป็นกลุ่มแพทย์กลุ่มแรกๆ ที่นำสาร Botox มาแก้ปัญหาเหล่านี้ 
    เทคนิคการฉีดสาร Botox ที่กล้ามเนื้อ Medial Gastrocnemius (MG): โดยจะให้คนไข้ยืนเขย่งเท้า เพื่อแสดงให้เห็นขนาดของ กล้ามเนื้อ Medial Gastrocnemius (MG) ชัดขึ้น แล้วจะทำเครื่องหมายรอบๆ บริเวณน่องโตดังกล่าว แล้วค่อยๆ ฉีด Botox เป็นจุดเล็กๆ ในปริมาณ 4 ยูนิตต่อพื้นที่ประมาณ 2 ตร.ซม. ซึ่งแต่ละข้างจะใช้ปริมาณโบท๊อกซ์ประมาณ 50-70 ยูนิตต่อน่อง 1 ข้าง ซึ่งข้อดี คือ ไม่เกิดรอยแผลเป็นเหมือนการผ่าตัด คนไข้สามารถไปทำงานตามปกติ ผลข้างเคียงพบได้น้อยมากหลังฉีด เช่น อาจจะพบจุดเลือดออกเล็กๆ บริเวณที่ฉีด กล้ามเนื้อน่องอาจจะไม่มีแรงในช่วงแรกๆ ทำให้การเขย่งข้อเท้า การกระโดด อาจจะไม่มีแรงพอ แต่ก็ไม่มากเหมือนการผ่าตัด ส่วนค่าใช้จ่าย ก็แล้วแต่ปริมาณยูนิตที่ใช้ ว่ามากน้อยเพียงใด เริ่มต้นประมาณ 15,000-30,000 บาท คลิกดูการให้บริการได้ที่นี่https://www.clinicneo.co.th/2007/newservice/service8.htm
  • จากรายงาน และผลการทดลองดังกล่าว ทำให้ได้มีการทดลองฉีดกันอย่างแพร่หลายในประเทศแถบเอเซีย (รวมทั้งประเทศไทย) เทคนิคในการฉีดและการแก้ไข ได้มีการปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดผลข้างเคียงให้น้อยที่สุด และได้ผลการรักษาที่คนไข้พอใจที่สุด ในความเห็นของผู้เขียน คาดว่าในอนาคตข้างหน้านี้ คงจะได้รับการยอมรับกันมากขึ้นจากทั่วโลก 
    เรียบเรียงและค้นคว้าโดย นพ.จรัสพล รินทระ................................3 October,2006 
    เอกสารอ้างอิง 
    Original Article Botulinum Toxin A for Aesthetic Contouring of Enlarge Medial Gastrocnemius Muscle: Hyun Jeong Lee,MD,DOng-Won Lee,MD Yeon-HO Park,MD,Mi-Kyng Cha,MD,Hong-Sik Kim,MD,and Seog-Jun Ha,MD.

ที่มา : https://www.clinicneo.co.th/detailcolumn.php?grp=9&sdata=&col_id=307

อัพเดทล่าสุด