เลเซอร์ในแวดวงความงาม(Laser in Cosmetic Dermatology)


2,105 ผู้ชม


  • LASER ( เลเซอร์) มาจากคำว่า Light Amplification by Stimulating Emission of Radiation ได้มีการนำมาใช้ในทางการแพทย์มากกว่า 30 ปีแล้ว ในช่วงแรกๆ แพทย์ได้นำเลเซอ�
��์มาใช้รักษาเฉพาะโรค เท่านั้น เช่น มะเร็งผิวหนัง ต่อมาเมื่อวิวัฒนาการก้าวหน้ามากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้มีการพัฒนา เลเซอร์ให้มีหลายช่วงคลื่นแสง เพื่อเหมาะสมกับเป้าหมายในการรักษาที่เฉพาะขึ้น ปัจจุบันพบว่า มีเลเซอร์อีกหลายยี่ห้อหลายแบบที่นำมาใช้ในแวดวง ความสวยงาม เท่าที่ผู้เขียนรวบรวมได้ในช่วงปี 2009 นี้ ก็มีหลากหลายตัว ทำให้หลายท่านอาจจะสับสน จึงได้จัดแบ่งกลุ่มของเลเซอร์ในแวดวงเวชสำอางออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ เพื่อง่ายต่อการแยกแยะ ซึ่งส่วนใหญ่จะแบ่งตามคุณสมบัติของความยาวช่วงคลื่น ( wavelength) หรือ กลุ่มเป้าหมายในการรักษา (Targets or Chormophores) ดังนี้
  • 1. เลเซอร์ในการกำจัดเนื้องอกธรรมดาของผิวหนัง : 
    มักจะใช้ในการกำจัดกลุ่มติ่งเนื้อ กระเนื้อ ขี้แมงวัน ใฝขนาดไม่ใหญ่นัก โดยการทำให้ผิวหนังหลุดลอกออกไป โดยไม่มีผลต่อเนื้อเยื่อรอบข้าง ข้อดีของการผ่าตัดด้วยแสงเลเซอร์คือ มีความแม่นยำสูง ไม่มีการเสียเลือด เหมือนการผ่าตัดด้วยมีดผ่าตัด และไม่จำเป็นต้องใช้การจี้ไฟฟ้าห้ามเลือด จึงลดอันตรายจากความร้อนลงได้มากหลังทำเลเซอร์อาจจะมีแผลตื้นๆ ไม่เกิน 5-7 วัน หรือมีสีเข้มขึ้นได้ระยะหนึ่ง แล้วหายเป็นปกติ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่https://www.clinicneo.co.th/2007/detailcolumn.php?grp=9&&col_id=34 
    เลเซอร์ในกลุ่มนี้ ได้แก่ CO2 Laser 10,600 nm
  • 2. เลเซอร์สำหรับการลอกหน้า (Laser Resurfacing or Ablative Laser Resurfacinf Laser ) : 
    การลอกผิวด้วยแสงเลเซอร์นี้ จะยิงแสงเป็นช่วงสั้นๆ ด้วยพลังงานสูง (Ultrapulse) หรือการใช้อุปกรณ์ควบคุมการยิง ที่เรียกว่า Flashscan ที่จะควบคุมการลอกผิวบริเวณกว้าง ได้อย่างสม่ำเสมอ การลอกผิวจะลอกลงไป ลึกประมาณ 2 ใน 3 ของความลึกของหนังแท้ โดยการทำให้ผิวหนังหลุดลอกออกไป โดยไม่มีผลต่อเนื้อเยื่อรอบข้าง มักจะนำมาทำการรักษารอยแผลเป็นชนิดหลุม หรือการรักษาผิวหนังเสื่อมจากแสง (Photoaging) ที่ได้ผลดี ในคนที่มีผิวขาว (skin photo type I-III) ส่วนในคนเอเซีย หรือสีผิวคล้ำ (skin photo type IV-VI) อาจจะมีผลข้างเคียง ทำให้เกิดรอยดำจากเลเซอร์ได้ (PIH=Post Infammatory Hyperpigmentation) ซึ่งอาจจะใช้เวลานานหลายสัปดาห์หรือหลายเดือน จึงจะลอก หรือกลับมาสีผิปกติ และอาจจะต้องพักฟื้นหลังการทำเลเซอร์นานหลายสัปดาห์ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่https://www.clinicneo.co.th/2007/detailcolumn.php?grp=9&&col_id=73 
    เลเซอร์ในกลุ่มนี้ ได้แก่ Fractional CO2 Laser ( Ultrapulse,Feathertouch,Lumenis TotalFX ,Active Fx, etc..),Erbium:YAG laser 2.940 nm ( Burane,Cutera Pearl ,Sciton ,etc.)
  • 3.การรักษารอยโรคชนิดสีผิวเข้มชนิดตื้น : 
    มักจะใช้ในรักษาขี้แมงวันจากแดด(Solar lentigines),ฝ้าชนิดต่างๆ (epidermal or dermal melasma), กระพันธุกรรม (Ephilides), เม็ดสีผิดปกติ(Café au lait macules), ฯลฯ ทำได้โดยการลดจำนวนเซลสี โดยการยิงแสงเลเซอร์ โดยการทำลายเม็ดสี เซลล์สีให้แตกกระจายออก แล้วให้เม็ดเลือดขาวดูดซึมเม็ดสี ให้ค่อยๆ จางลง ด้วยแสงพลังงานสูง และความกว้าง pulse สั้นมากกว่า 100 nm จะสามารถทำลายเซลสีลงบางส่วน ทำให้รอยโรคจางลงได้ การรักษาด้วยวิธีนี้ต้องทำหลายครั้ง แต่ก็ปลอดภัยเพราะจะทำอันตรายต่อเนื้อเยื่อข้างเคียงน้อยมาก ผลข้างเคียงที่พบได้คือ อาจจะเกิดรอยด่างขาวถาวรได้ ถ้าทำโดยแพทย์ที่ไม่ชำนาญ 
    เลเซอร์ในกลุ่มนี้ได้แก่ Q-switched Nd:YAG ( 532 nm) ,Q-switched alexandrite (755 nm) หรือ Q-switched ruby (694 nm) ,Medlite C-6 (Q-switched Nd:YAG ( 532,1064 nm) ,Revlite Q-switched Nd:YAG ( 532,1064 nm)
  • 4.การรักษารอยโรคจากเซลสีชนิดลึก : 
    มักจะใช้ในการรักษา ปานดำ(ชนิด Nevus of Ota) หรือ กระลึก เช่น Hori nevus ทั้งสองโรค เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในคนไทย ในอดีตการรักษาทำได้ยาก และมีปัญหาหลังรักษา เช่นแผลเป็นได้มาก แต่ในปัจจุบัน สามารถรักษาได้ผลดี ด้วยแสงเลเซอร์กำจัดเม็ดสี การรักษาจำเป็นต้องทำซ้ำหลายครั้ง เป็นระยะๆ จนกว่าเซลสีจะถูกทำลาย และเคลื่อนย้ายออกไปหมด 
    เลเซอร์ในกลุ่มนี้ได้แก่ Q-switched Nd:YAG(1064 nm) เช่น Medlite C-6 Revlite (เลเซอร์ชนิดนี้ อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่นี่https://www.clinicneo.co.th/2007/detailcolumn.php?grp=9&sdata=fractional&col_id=140
  • 5. เลเซอร์ในการรักษาหลอดเลือดผิดปกติที่ผิวหนัง : 
    มักจะใช้ในรักษากลุ่มปานแดง หลอดเลือดขยาย หลอดเลือดขอด โดยอาศัยหลักการของการเลือกช่วงคลื่นจำเพาะต่อเป้าหมายนั้นๆ( หลอดเลือดฝอยแดง) โดยไม่ทำลายเนื้อเยื่อ หรือระบบน้ำเหลือง หลอดเลือดดำอื่นๆ แต่บางครั้งอาจจะต้องทำร่วมกับวิธีอื่นๆ ด้วย เช่นการฉายเลเซอร์ ควบคู่กับการฉีดยา เข้าหลอดเลือดในกลุ่มเส้นเลือดขอด สามารถทำลายเส้นเลือดตั้งแต่ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5 จนถึง 3 mm มักจะใช้ในการรักษาเส้นเลือดฝอยผิดปกติที่ใบหน้า ทำให้หน้าแดงได้ง่ายกว่าปกติ, เส้นเลือดขอดที่ขาที่มีขนาดเล็ก 
    เลเซอร์ในกลุ่มนี้ได้แก่ Pulse dye laser ( V-beam ),Long-pulsed laser( Mydon,Coolglide), IPL อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่นี่https://www.clinicneo.co.th/2007/detailcolumn.php?grp=9&&col_id=141
  • 6. เลเซอร์ในการลบรอยสัก : 
    การลบรอยสักด้วยเลเซอร์ พบว่ารอยสักสีดำจะได้ผลดีกว่ารอยสักสีอื่นๆ การเลือกใช้เลเซอร์ชนิดใดในการรักษาขึ้นอยู่กับรงควัตถุ หรือ Pigments ที่สักลงไป เช่น สักสีเขียวต้องใช้สีแดงของ Q-switched ruby (694 nm) 
    เลเซอร์ในกลุ่มนี้ได้แก่ Q-switched Nd:YAG ( 532 nm) ,Q-switched ruby (694 nm) ,Medlite C-6 (Q-switched Nd:YAG ( 532,1064 nm) ,Revlite Q-switched Nd:YAG ( 532,1064 nm)
  • 7. เลเซอร์ในการกำจัดขนกึ่งถาวร : 
    มักจะใช้ได้ผลดีในระดับหนึ่ง แต่ในปัจจุบันก็ยังไม่สามารถกำจัดขนได้ถาวร 100 % เพียงแต่อาจจะทำให้ลดลงและทำให้ขนใหม่ขึ้นได้ช้าลง ได้ผลดี ในกลุ่มขนสีดำ หรือสีเข้ม ขนาดไม่ใหญ่นัก เช่น ขนรักแร้ ขนหน้าแข้ง ขนแขน ขนในที่ลับ และได้ผลน้อย หรือต้องทำหลายๆ ครั้ง ในกลุ่มขนสีอ่อน เช่น ขนที่ใบหน้า หรือขนขนาดใหญ่ เช่น หนวดเครา อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่นี่https://www.clinicneo.co.th/2007/detailcolumn.php?grp=9&&col_id=29 
    เลเซอร์ในกลุ่มนี้ได้แก่ IPL ( Quantum,Plasmalite,Eclipse,Multilight ),Long-pulsed laser( Mydon,Coolglide,Lyra,Cool-touch Varia ) ,Long-pulsed alexandrite laser ( Apogee), Long-pulsed diode laser ( Lightsheer)
  • 8. เลเซอร์ในการลบรอยย่น แผลเป็น : 
    มักจะใช้เลเซอร์ในช่วงคลื่นแสง infraredโดยจะสามารถกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนในชั้นผิวหนังได้ จึงทำให้รอยย่นลดลง และผิวหนังตึงขึ้นได้ แต่ก็ต้องทำหลายๆ ครั้ง ได้ผลดีมากน้อย ขึ้นอยู่กับสภาพผิว ความรุนแรง ริ้วรอยมาก-น้อย 
    เลเซอร์ในกลุ่มนี้ได้แก่ Long-pulsed laser( Mydon,Coolglide,Lyra,Cool-touch Varia ),Pulse dye laser( N-lite) ,Long-pulsed Erbium:Glass laser ( Aramis ), Long-pulsed diode laser ( Smoothbeam )
  • 9. เลเซอร์ชนิดแสงความเข้มข้นสูง : 
    บางคนก็จัดเป็นเลเซอร์ชนิดหนึ่ง บางกลุ่มก็จัดเป็นคลื่นแสงความเข้มสูง และมีความถี่จำเพาะที่เลือกได้หลายช่วงยาวคลื่น จึงทำให้นำมารักษา ได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งการลดเซลล์สี การรักษาหลอดเลือด การกำจัดขน หรือการกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน ที่เรียกว่า Photorejuvenation ซึ่ง เคยนำเสนอบทความโดยละเอียดให้แล้วที่https://www.clinicneo.co.th/2007/detailcolumn.php?grp=9&&col_id=209 และที่นี่https://www.clinicneo.co.th/2007/detailcolumn.php?grp=9&&col_id=210 
    เลเซอร์ในกลุ่มนี้ได้แก่ IPL ( Quantum,Plasmalite,Eclipse,Multilight)
  • 10. เลเซอร์ในการกระตุ้นคอลลาเจน รักษาริ้วรอย และแผลเป็นชนิดหลุม ( Non-Ablative Fractional Resurfacing : 
    เป็นวิธีการที่นำมารักษารอยย่น และแผลเป็นชนิดหลุม โดยการยิงแสงเลเซอร์ ความยาวช่วงคลื่น 1440-1550 nm ซึ่งเป็นช่วงที่มีการดูดซับพลังงาน ที่ชั้น epidermis น้อย แสงจะผ่านลงไปสู่ผิวหนังชั้นล่างได้ดี แสงเลเซอร์จะถูกดูดซับพลังงานด้วยน้ำ และคอลลาเจน ทำให้เกิดความร้อน อุณหภูมิประมาณ 50-60 องศาเซนติเกรด ซึ่งจะนำไปสู่การกระตุ้น สารที่เรียกว่า Heat shock proteins ซึ่งกระตุ้น mediators เช่น Transforming growth factor β (TGF β) ทำให้เกิดการสร้างคอลลาเจนใหม่ขึ้นมา มีผลให้ผิวหนังมีการตึงตัวเพิ่มขึ้น และรอยย่น หรือแผลเป็นชนิดหลุมตื้นขึ้น การรักษาต้องทำซ้ำหลายครั้ง ประมาณ 5-8 ครั้ง ห่างกัน 2-4 อาทิตย์ และจะได้ผลอยู่ในระดับ 50-70 % 
    เลเซอร์ในกลุ่มนี้ได้แก่ Mydon ,Cooltouch (Nd:YAG 1320 nm), Smoothbeam (Diode 1450 nm) Aramis (Erbium:Glass 1540 nm) ,Fraxel Re:store (Erbium:Glass 1550 nm) , Fine Scan (Erbium:Glass 1550 nm)
  • 11. เลเซอร์ในการดึงหน้าโดยไม่ต้องผ่าตัด (Nonsurgical face lift) : 
    เมื่อมีอายุมากขึ้น จะเกิดการยืดตัวของคอลลาเจนในชั้นหนังแท้(Dermis) ทำให้เกิดการหย่อนยานของผิวหนัง บริเวณแก้ม ใต้ตา คอ หน้าผาก และเกิดร่อง (folds) ในบางตำแหน่ง เราสามารถรักษาด้วยเลเซอร์เพื่อให้ดีขึ้น กระชับขึ้น ลดการหย่อยคล้อย ด้วยหลักการ กระตุ้นให้เกิดความร้อน ประมาณ 50-60 องศาเซนติเกรด ในชั้น dermis ด้วย Electrosurgery machine ที่ให้ความถี่สูง ในช่วง Radiofrequency (ประมาณ 4 MegaHertz ) รายงานพบว่า จะมีการตึงตัวของผิวหนัง ร่วมกับการสร้างคอลลาเจนได้ประมาณ 20-30% อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่นี่https://www.clinicneo.co.th/2007/detailcolumn.php?grp=9&&col_id=263 
    เลเซอร์ในกลุ่มนี้กลุ่ม RF ทั้งหลายได้แก่ Electro-Optical Synergy (ELOS-tm ) ,Thermage ,Titan
  • อนึ่งการรักษาด้วยเลเซอร์แม้จะได้ผลดีและมีความปลอดภัยสูงขึ้น มีหลากหลายยี่ห้อ หลายแบบ และมีการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ กันมาก การตัดสินใจเลือกการรักษาเพื่อหวังผลที่ดีที่สุด ต้องศึกษาและปรึกษากับแพทย์อย่างละเอียด ทั้งผลการรักษา และผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ขณะเดียวกันควรจะตรวจสอบค่าใช้จ่ายว่าเหมาะสม กับผลที่คาดว่าจะได้หรือไม่ เพราะราคาแตกต่างกันมาก ทั้งในสถานบริการเอกชน หรือของรัฐ และในอนาคตบทความนี้อาจจะล้าสมัยไปบ้าง เพราะอาจจะมีวิวัฒนาการและความรู้ใหม่ๆ มาให้ได้เห็นได้เรื่อยๆ แล้วจะค่อยๆ นำมาเสนอปรับปรุง ให้เป็นระยะๆ นะครับ 
    เรียบเรียงใหม่และค้นคว้าโดย นพ. จรัสพล รินทระ. 
    ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด ...........................7 Febuary,2010

ที่มา : https://www.clinicneo.co.th/detailcolumn.php?grp=9&sdata=&col_id=315

อัพเดทล่าสุด