วิตามินและแร่ธาตุสำหรับเส้นผม


1,106 ผู้ชม


  • สุขภาพของเส้นผมที่ดี ควรมีลักษณะที่สำคัญ 3 ประการดังนี้ 
       1. ความพรุน (Porosity) เส้นผมที่ดีและแข็งแรง จะต้องมี��
�ักษณะเกร็ดผม (cuticle) ที่ราบเรียบปิดสนิท ทำให้น้ำและสารอื่นๆ ซึ่งเข้าสู่แกนผม(hait shaft)ได้ยาก 
   2. ความยืดหยุ่นและแข็งแรง (Elasticity and Strengh) โดยสุขภาพผมที่ดี ควรจะสามารถยืดได้ประมาณ 1 ใน 3 ของความยาวปกติ และหดกลับได้ตามปกติ และสามารถรองรับน้ำหนักได้ถึง 100 กรัมโดยไม่ขาด โดยต้องมีแกนใน(cortex) ที่แข็งแรง ซึ่งปกป้องด้วยเกร็ดผม(cutilce) อีกทีหนึ่ง 
   3. เนื้อสัมผัส (Texture) ขึ้นอยู่กับขนาดของเส้นผม และความหยาบหรือความอ่อนนุ่ม โดยผมที่มีขนาดใหญ่และอ่อนนุ่ม จะเป็นผมที่มีสุขภาพที่ดี
  • ส่วนประกอบทางเคมีวิทยาและโครงสร้างของเส้นผม 
       1. โปรตีน: พบได้ร้อยละ 65-95 ของน้ำหนักผม ในรูปของเคอราติน 
       2. ไขมัน: พบได้น้อยกว่า ร้อยละ 5 ส่วนใหญ่ไขมันบนเส้นผม จะเป็นลักษณะไขมันเหลว(sebum) ที่ประกอบด้วย free fatty acid,neutral fat ester,glyceryl,wax และ saturated hydrocarbon ( ขออภัยไม่มีคำแปลเป็นไทยที่เหมาะสมนะครับ) 
       3. น้ำ: มักมีปริมาณในเส้นผมไม่แน่นอน โดยผมแห้งจะดูดซึมน้ำได้ดีกว่าผมมัน 
       4. แร่ธาตุ หรือสารเคมีต่างๆ (Trace elements): ซึ่งบางส่วนอาจจะมาจากภายในเส้นผม หรือร่างกายเอง และบางส่วนมาจากภายนอก เช่น จากผลิตภัณฑ์สำหรับเส้นผม เช่น แชมพู ครีมนวดผม ยาย้อมสีผม โลชั่นบำรุงเส้นผม หรือจากมลภาวะ ที่พบบ่อยๆได้แก่กลุ่ม carbon 45.2%,hydrogen 6.6%,oxygen 27.9%,nitrogen 45.2%,sulfur 5.2%
  • ดังนั้นอาหารสำหรับบำรุงสุขภาพของเส้นผม จึงขึ้นอยู่กับการรับประทานอาหารที่ได้สมดุล ในจำนวนที่เหมาะสม โดยเน้นการรับประทานอาหารมื้อเช้า เป็นมื้อที่สำคัญ เพราะร่างกายจะได้ใช้ได้อย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพ ซึ่งถือว่าเป็นการรับประทานที่ถูกสุขลักษณะ โดยมื้อเย็นให้รับประทานแต่น้อยๆ เพราะร่างกายกำลังจะพักผ่อน ไม่ต้องการพลังงานมากนัก และที่สำคัญควรรับประทานให้ครบหมู่ทั้งโปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต สังกะสี และวิตามินและแร่ธาตุต่างๆ
  • กลุ่มอาหารที่อุดมด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นต่อเส้นผม อาทิเช่น 
       1. สังกะสี: ได้แก่ อาหารกลุ่ม สัตว์ปีก ถั่วทุกชนิด น้ำมันพืชจากธรรมชาติ น้ำมันงา จมูกข้าวสาลี
       2. วิตามินบี: ได้แก่ ผักใบเขียว ตับ ธัญพืชต่างๆ ปลา และไข่ 
       3. วิตามินเอ: ได้แก่ มะเขือเทศ แครอท ผักโขม ตับ บรอกโคลี่ มันฝรั่งชนิดหวาน หัวไขเท้า มะละกอ แคนตาลูป 
       4. วิตามินซี: ได้แก่ กลุ่มผลไม้รสเปรี้ยว เช่น ส้ม องุ่น แตงโม สตรอเบอรี่ ผักสีเขียว 
       5. ทองแดง: ได้แก่ ตับ ถั่วเมล็ดแห้ง หอยนางรม อาหารทะเล ลูกพรุน ธัญพืช 
       6. ธาตุเหล็ก: ได้แก่ ตับ ไข่แดง ข้าวโอ๊ต ผลไม้แห้ง เช่นลูกพีช ลูกเกด เนื้อแดง 
       7. ธาตุไอโอดีน: ได้แก่ สาหร่าย อาหารทะเล หอมหัวใหญ่ 
       8. ธาตุซัลเฟอร์: ได้แก่ หัวหอม กระเทียม หัวผักกาด และหน่อไม้ฝรั่ง
  • ส่วนอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง ได้แก่ อาหารประเภทที่มีน้ำมันและไขมันสูง เช่น อาหารทอด น้ำมันจากสัตว์ กุ้ง หอย ชอคโกแลต เพราะทำให้เกิดผมมัน เกิดการอักเสบและร่วงได้ง่าย นอกจากนี้ ผิวหน้าอาจจะมันมากขึ้น ทำให้เกิดสิวได้ง่าย ส่วนอัลกอฮอร์ ก็ควรงดหรือหลีกเลี่ยง เพราะทำให้เสียสมดุลในระบบร่างกายได้ 
    เรียบเรียงและค้นคว้าใหม่โดย นพ.จรัสพล รินทระ .......................6 July,2005

ที่มา : https://www.clinicneo.co.th/detailcolumn.php?grp=7&sdata=&col_id=72

อัพเดทล่าสุด