| - สิวอุดตัน(Non-inflammatory ance หรือ Comedone ) เป็นประเภทของสิวที่พบได้บ่อย มากกว่า 70 %ของปัญหาสิ
|
ว ซึ่งพบได้ทุกกลุ่มอายุ ทุกเพศ แต่ส่วนใหญ่จะพบในวัยรุ่น และวัยหนุ่มสาว เกิดได้บ่อยบริเวณใบหน้า ลำคอ และลำตัว(โดยเฉพาะที่หลัง) ซึ่งเป็นตำแหน่งที่มีต่อมไขมัน Sebaceous gland จำนวนมาก - สาเหตุการเกิดสิวอุดตัน
1. ต่อมไขมัน Sebaceous สร้างไขมันมากเกินไป โดยอาจเกิดจากสาเหตุ ฮอร์โมนเพศชายแอนโดรเจน ชนิด Testosterone ซึ่งควบคุมการเจริญเติบโตและการสร้างไขมัน( Sebum) สูงมากกว่าปกติ แล้วไขมันเกิดจากอุดตันในท่อไขมันที่ระบายไขมัน ออกสู่ผิวหนังด้านนอก อันนำมาซึ่งปัญหาสิวอุดตัน 2. ปัญหาผิวแพ้ง่าย( Sensitive skin) มักพบเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดสิวได้บ่อยเช่นกัน 3. ความผิดปกติของการลอกผิวในท่อขุมขนเอง( follicular lumen) แล้วทำให้เกิดการอุดตัน 4. สิวจากเครื่องสำอาง( Acne cosmetica) มักเกิดจากการใช้เครื่องสำอางบางชนิด แล้วเกิดอาการแพ้ 5. สิวจากสเตียรอยด์ มักเกิดในผู้ที่ใช้ครีมทาที่ผสมสเตียรอยด์ ในการรักษาผิวแพ้ หรือรับประทานยา Prednislone เป็นประจำ เช่นผู้ป่วยโรคไต Nephrotic syndrome หรือ SLE 6. ความเครียด 7. ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง เช่น ในภาวะใกล้หรือหมดประจำเดือน - ประเภทของสิวอุดตัน(สิวไม่อักเสบ) แบ่งเป็น
1. สิวหัวขาว หรือสิวหัวปิด 2. สิวหัวดำ หรือสิวหัวเปิด 3.สิวสเตียรอยด์ - ผลข้างเคียงจากการเกิดสิวอุดตัน มักเกิดจากการพยายามแกะ แคะ บีบเพื่อให้สิวอุดตันหลุด และขาดความชำนาญในการกดสิว มักพบได้บ่อยคือ
1. รอยดำจากสิว 2. รอยหลุมจากสิว หรือ Icepick-scar 3. สิวอุดตันเกิดมากขึ้น เนื่องจากการกดหรือบีบ แล้วทำให้ท่อไขมันบริเวณข้างเคียงเกิดอุดตัน จากการบาดเจ็บ( trauma) - แนวทางการปฏิบัติสำหรับการป้องกันการเกิดสิวอุดตัน มีหลักการคือ พยายามอย่าให้ผิวมัน และการกระทบกระเทือนต่อท่อหรือต่อมไขมัน ดังนี้
1.ผลิตภํณฑ์ล้างหน้า เช่น สบู่ เจล โฟม ควรเลือกให้เหมาะกับสภาพผิวมัน และมีตัวยาป้องกันการเกิดสิว 2. เครื่องสำอาง ไม่ควรมีส่วนผสมของน้ำหอม สารดีเทอร์เจ้นท์ 3. หลีกเลี่ยงการเช็ดหน้า หรือ นวดหน้าแรงๆ 4. หน้ามันมาก อาจต้องใช้โลชั่นเช็ดหน้า หรือใช้ยารับประทานกลุ่ม Retionoids หรือ ยาคุมกำเนิดกลุ่ม Dian-35 เพื่อลดหน้ามัน 5. เลือกครีมกันแดด SPF ประมาณ 15 เพื่อป้องกันความมันของเนื้อครีม 6. ครีมบำรุง เลือกที่ไม่มีส่วนผสมของ น้ำมัน และไม่ควรมัน ไม่มีฮอร์โมนผสมในครีมบำรุง 7. ครีมแก้แพ้ หรือ สบู่ล้างหน้าสำหรับผิวแพ้ เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผิวแพ้ง่าย( Sensitive skin) 8. งดอาหารที่ทำให้เกิดสิวง่าย เช่น อาหารมัน อาหารรสจัด ทุเรียน ขนมหวาน ไอสครีม 9. พักผ่อนให้เพียงพอ 10. ไม่เครียด 11. ห้ามกด หรือ บีบสิวเอง กรณีที่เกิดสิว - การรักษาสิวอุดตัน ยุค 2000
1. ครีมทาสิวอุดตัน กลุ่ม Tretinoin( Retin-A) เป็นยาที่เหมาะสมและใช้กันแพร่หลาย มีความเข้มข้นแตกต่างกัน ตั้งแต่ 0.025-0.1 % อาจอยู่ในรูปของครีม เจล หรือน้ำ โดยพบว่ายิ่งความเข้มข้นสูง ยิ่งละลายสิวอุดตันได้ดี แต่ก็จะระคายเคืองผิวหน้า และทำให้ผิวหน้าแห้งเป็นขุย ถ้าความเข้มข้นสูง แต่การละลายเคืองอาจน้อยลง ถ้าล้างหน้าก่อนทายา 10-15 นาที 2. ยารับประทานกลุ่ม retinoids เช่น Roaccutane,Isotretionoin ช่วยลดปัญหาผิวมัน และละลายสิวอุดตันได้ดี ทั้งที่ใบหน้าและสิวตามลำตัวhttps://www.clinicneo.co.th/detailcolumn.php?grp=3&&col_id=23 3. ยาลอกขุย (Keratolytic agents) และยาทำให้ผิวแห้ง เช่น Salicylic acid ,Resorcinol,Sulphur,Aluminium oxide มักช่วยลอกขุย และทำให้สิวแห้งและหลุดออก มักใช้เป็นส่วนผสมของแป้งน้ำทาสิว( acne lotions) 4. การกดสิวอุดตัน มักจะทำได้เฉพาะกลุ่มสิวอุดตันหัวเปิด (สิวหัวดำ) เพราะจะหลุดออกได้ง่าย และควรทำโดยผู้ที่เชี่ยวชาญเท่านั้น เพื่อป้องกันการเกิดแผลเป็นภายหลัง 5. การทำ Peeling ด้วย 30-50% TCA,PHA จะช่วยทำให้ผิวหน้าแห้งลง ผนังสิวบางลง ทำให้สิวอุดตันฝ่อตัว และหลุดออกได้ง่าย 6. การทำ Iontophresis มักใช้ร่วมกับยากลุ่ม Tretionoin เพื่อช่วยผลักยาให้ซึมลงลึกไปละลายสิวอุดตันได้ดีกว่า การทายาปกติ 7. การกรอผิวด้วยเกร็ดอัญมณี ( Microdermabrasion) พบว่าทำให้หัวสิวอุดตันหลุดออกได้ง่าย ทำให้หัวสิวเปิดออกเพื่อกดออกภายหลังได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยทำให้ผิวหน้าแห้งลง และสีผิวขาวขึ้น เรียบเนียนขึ้นได้ด้วย เรียบเรียงใหม่ โดยนพ.จรัสพล รินทระ .............02/05/2005 |
ที่มา : https://www.clinicneo.co.th/detailcolumn.php?grp=3&sdata=&col_id=19