สิวที่ไม่ธรรมดา(Uncommon acne) ตอนที่ 2


1,021 ผู้ชม


  • สิวที่ไม่ธรรมดา(Uncommon acne) ตอนที่ 2 นี้ ต่อจากบทความที่แล้วนะครับ กลุ่มนี้ค่อนข้างจะน่ากลัว และรุนแรง (ดูรูปประกอบแล้�
��กันนะครับ) และต้องขอโทษที่ไม่มีคำแปลเป็นภาษาไทยที่เหมาะสม จึงจะยังคงเป็นศัพท์เฉพาะอยู่นะครับ 
   7. Acne conglobata:สิวชนิดนี้ ถือว่ารุนแรงมากที่สุด และเกิดรอยแผลเป็นได้อย่างมาก พบได้ไม่บ่อยนัก โดยมักจะพบในผู้ชายที่ผิวมัน และในวัยรุ่น โดยจะทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จนร่วงเข้าวัยชรา มักเกิดตามแผ่นหลัง ก้น ต้นคอ ใบหู ที่ใบหน้ามักจะไม่รุนแรง ( ดูภาพประกอบที่ 1) สิวที่เกิดเป็นได้ทุกรูปแบบ และความรุนแรง ตั้งแต่สิวอุดตัน หัวเปิด(หัวดำ)รวมกันเป็นกลุ่มๆ จนถึงสิวอักเสบ ขนาดใหญ่ๆ เป็น acne cysts ก็มี ทำให้มีรอยแผลเป็นหลงเหลือ ทั้งแบบแผลเป็นนูน(Keloids) แผลเป็นหลุม(pick scar) หรือท่อเปิดเรื้อรัง(sinus tracts) 
   การรักษา: มักจะรักษาหลายๆ รูปแบบควบคู่กัน ตั้งแต่การใช้ยาทา ยารับประทานขนาดสูง ทั้งยาปฏิชีวนะ และยากลุ่มเรตินอยด์ขนาดสูงๆ ในระยะเวลานานกว่า 6 เดือน เพราะสิวประเภทนี้เป็นเรื้อรังและมักทิ้งร่อยรอยโรคไว้มาก 
   8. Acne Fulminans: สิวชนิดนี้มักจะเกิดอย่างเฉียบพลัน ในชายอายุประมาณ 13-22 ปี พบบ่อยที่ใบหน้าและที่หลัง เป็นสิวอักเสบตุ่มหนอง แดง เจ็บ และแตกออกเป็นแผลมีสะเก็ดคลุม เมื่อหายเกิดแผลเป็นมากมาย(ดูภาพประกอบที่ 2) ผู้ที่เป็นสิวประเภทนี้ มักจะมีอาการไข้ ปวดข้อ เบื่ออาหาร น้ำหนักลดและอ่อนเพลียร่วมด้วย สาเหตุหรือปัจจัยที่กระตุ้นยังไม่ทราบแน่ชัด แต่เชื่อว่าเกิดจากการติดเชื้อสิว P.acne เช่นกัน 
   การรักษา: มักจะให้ครีมทากลุ่มวิตามินเอ หรือกลุ่ม BP ควบคู่กับการรับประทานยาปฏิชีวนะขนาดสูงๆ และให้ยารับประทานกลุ่มสเตียรอยด์ เพื่อป้องกันการอักเสบลุกลามหรือรอยโรค นอกจากนี้ก็ให้การรักษาตามอาการที่เกิดควบคู่ด้วย 
   9. Perioral dermatitis: มักพบได้บ่อยในผู้หญิงอายุ 20-30 ปี มีลักษณะเป็นตุ่มแดง ตุ่มน้าใส หรือตุ่มหนอง เกิดพร้อมๆ กันทั้ง 2 ข้างก็ใบหน้ารอบๆ ปาก เช่น คาง ร่องจมูก มีอาการแสบๆ คันๆ ไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด แต่เชื่อว่า เกิดจากปัจจัยกระตุ้นจากการแพ้ยาสีฟันที่ผสมฟลูออไรด์ การแพ้น้ำยาบ้วนปาก สบู่ หรือยาคุมกำเนิด การล้างหน้าด้วยสบู่แรงๆ แสงแดด การมีพฤติกรรมชอบถูบริเวณที่เป็นบ่อยๆ ทำให้อาการรุนแรงมากขึ้น 
   การรักษา: หยุดใช้เครื่องสำอาง สบู่ ยาสีฟัน หรือน้ำยาบ้วนปาก ที่น่าจะเป็นสาเหตุ และให้ยารับประทานกลุ่มปฏิชีวนะ และยาทาสิวอักเสบทั่วๆไป 
   10. Gram Negative Folliculitis : เป็นสิวอักเสบหัวหนอง ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียกรัมลบ ที่ไม่ใช่ P.acne เช่นเชื้อ E.coli,Proteus,Pseudomonas,Kleibsiella ซึ่งต้องขูดตุ่มหนองไปเพาะเชื้อดู สังเกตว่าผู้ที่เป็นสิวประเภทนี้ มักจะไม่พบสิวอุดตันร่วมด้วย และมีประวัติการใช้ยาทากลุ่มปฏิชีวนะ ( เช่น CM lotions) เป็นระยะเวลานาน และสิวไม่ดีขึ้น 
   การรักษา: อาจจะต้องเปลี่ยนยาปฏิชีวนะเป็นกลุ่มที่ไวต่อเชื้อแบคทีเรียนี้ เช่น Bactrim,Ampicillin หรือการให้รับประทานยากลุ่มเรตินอยด์ร่วมด้วย 
   11. Pityrosporum folliculitis: สิวอักเสบตุ่มหนอง ตุ่มแดง ที่เกิดจากเชื้อยีสต์ P.ovale หรือ Malassezia furfur ที่ทำให้เกิดโรคเกลื้อน มักเป็นที่หน้าอก และหลังช่วงบน แยกได้ยากจากสิวอักเสบสิว นอกจากการขูดไปส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์ ด้วยน้ำยา KOH หรือการรักษาสิวปกติแล้วไม่ดีขึ้น 
   การรักษา: นอกจากจะรักษาเหมือนสิวทั่วไปแล้ว อาจจะต้องรับประทานยาฆ่าเชื้อยีสต์ร่วมด้วย นาน 6-8 สัปดาห์ 
เรียบเรียงและค้นคว้าใหม่โดย นพ.จรัสพล รินทระ .......................4 June,2005
ตัวอย่างภาพประกอบ


ภาพประกอบ ลักษณะสิวแบบ Perioral dermatitis


ภาพประกอบ ลักษณะสิวแบบ gram neagtive foliiculitis


ภาพประกอบ ลักษณะสิวแบบ Pityrosporum folliculitis

ที่มา : https://www.clinicneo.co.th/detailcolumn.php?grp=3&sdata=&col_id=93

อัพเดทล่าสุด