งานวิจัย LHA อนุพันธ์ของ Salicylic acid ในการรักษาสิวอุดตัน


1,346 ผู้ชม


  • LHA(Lipophylic beta hydroxy acid) เป็นอนุพันธ์ของตัวยา Salicylic acid (SA) ซึ่งจัดอยู่ในกรดผลไม้ชนิด BHA ปัจจุบันได้นำมาผสมในเครื่องสำอางหลายชนิดที��
�มีวางจำหน่ายในท้องตลาด โดยได้ใช้ในการรักษาสิวอุดตัน(Comedone) ควบคู่กับครีมทากลุ่มวิตามินเอ(เรตินอยด์) ทำให้การรักษาได้ผลมากขึ้น ลองมาทำความรู้จักกันหน่อยนะครับ
  • ก่อนอื่นต้องขอเกริ่นให้ทราบก่อนว่า กรดผลไม้( Hydroxy acid) ในปัจจุบัน แบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้ คือ AHA กับ BHA ขึ้นอยู่กับโครงสร้างว่าหมู่อนุพันธ์ hydroxy ( -OH) เกาะอยู่ที่ตำแหน่ง alpha หรือ beta ในสูตรโครงสร้างทางเคมี (แต่ในบางรายงานก็จัดแบ่งย่อยเป็น 4 กลุ่ม ซึ่งเคยเขียนบทความไว้แล้วที่นี่ https://www.clinicneo.co.th/detailcolumn.php?grp=1&&col_id=120) BHA มีคุณสมบัติที่เด่นกว่า AHA ตรงที่ละลายในไขมันได้ดีกว่า ซึมเข้าสู่รูขุมขนของผิวหนังได้ลึกกว่า และระคายเคืองน้อยกว่า
  • Salicylic acid (SA) จัดเป็นกลุ่ม BHA ตัวหนึ่ง แรกเริ่มสกัดจากต้นหลิว ซึ่งมีสรรพคุณใช้เป็นยาแก้ไข้ แก้ปวด ตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 แรกเริ่มเดิมที SA แพทย์ได้นำมารักษาโรคที่มีสะเก็ดหนาๆ เช่น หูด รอยแตกกร้านของผิวหนัง โดยใช้ความเข้มข้นสูงๆ ตั้งแต่ 0.3%-5% SA โดยเชื่อว่ากลไกการออกฤทธิ์สามารถ สลายทำลายเคอราตินได้ แต่ต่อมามีการศึกษาพบว่าไม่เป็นความจริง การที่ผิวหนังลอกออกหลังจากทา SA เกิดจากเอนไซม์สลายไขมัน(Proteolytic enzyme) ย่อยสลาย Desmosome ซึ่งเป็นส่วนเชื่อมต่อของหนังกำพร้าและชั้นหนังแท้ ทำให้เกิดการหลุดลอกของผิวหนัง
  • จากกลไกดังกล่าว จึงได้มีการพัฒนา SA มาเป็น LHA(Lipophylic beta hydroxy acid) ให้มีสรรพคุณย่อยสลาย Desmosome ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยได้มีการทดลอง หลายรายงานเปรียบเทียบ พบว่า 0.3 % LHA มีคุณสมบัติสลายเคอราติน(Keratolytic effect) ได้ดีกว่า 1.5 % SA และดีกว่า 10% AHA แล้วมีการค้นพบต่ออีกว่า เมื่อใช้ LHA ควบคู่กับยาทากลุ่ม Retinoid ( RA) ทำให้ผลของการหลุดลอกของเคอราตินยิ่งดีขึ้น
  • ลองวกกลับมาทบทวนสาเหตุของการเกิดสิวอุดตัน สาเหตุหนึ่งที่พบคือ มีความผิดปกติของการสร้างเคอราตินในรูขุมขน (Abnormal keratinization) ทำให้เกิดการอุดตันขึ้น ทำให้ออกซิเจนบริเวณใต้ต่อมมีปริมาณลดลง ทำให้เชื้อสิวมีการเพิ่มจำนวนขึ้น จึงเกิดจากอักเสบของสิวเพิ่มขึ้น ดังนั้นเมื่อต้องการรักษาสิวและการอุดตันของสิว ก็ควรจะต้องแก้ไขความผิดปกติของการสร้างเคอราตินในรูขุมขน ซึ่งพบว่า LHA น่าจะสามารถแก้ไขความผิดปกติดังกล่าวให้ดีขึ้นได้
  • จึงได้มีการทดลองนำ 0.3 % LHA มาทำการรักษาสิวอุดตันในอาสาสมัครจำนวน 14 คน โดยทา 0.3 LHA ในครึ่งซีกใบหน้า เปรียบเทียบกับอีกซีกใบหน้าที่ไม่ทา หลังจากนั้น 1 เดือน ได้มาตรวจสภาพผิวหน้าทั้งสองด้าน พบว่าบริเวณที่ทา 0.3 %LHA มีจำนวนไมโครโคมีโดนลดลงถึง 47 % และขนาดของสิวอุดตันก็ลดลงมากกว่า 54 %
  • ดังนั้นจากงานวิจัยดังกล่าว ทำให้มีนำ Salicylic acid (SA) มาสังเคราะห์และผลิต 0.3% LHA ในเครื่องสำอางประเภทสำหรับผิวมัน หรือนำมาใช้ควบคู่กับยาทากลุ่มเรตินอยด์ ( เช่น Tretinoin,Differin,Retinoic acid) เพื่อรักษาและป้องกันการเกิดโคมีโดน อันเป็นต้นเหตุของสิวอุดตัน หรือสิวอักเสบ และบางคนนำมาทาบำรุงผิวหน้าให้เนียนนุ่มและลดความแห้งกร้านของผิวหนัง และกระชับรูขุมขนได้ดีขึ้น 
    เรียบเรียงและค้นคว้าโดย นพ. จรัสพล รินทระ ............Update ล่าสุด......9 January,2006

ที่มา : https://www.clinicneo.co.th/detailcolumn.php?grp=3&sdata=&col_id=296

อัพเดทล่าสุด