รอยหลุมสิว กับการรักษาในปัจจุบัน ที่ได้ผลดี


2,249 ผู้ชม


  • ปัญหาแผลเป็น รอยหลุมสิว มักเกิดจากสาเหตุการมีปัญหาสิวอักเสบมาก่อน เมื่อแตกหรือยุบตัว ก็เกิดรอยหลุมขึ้น ซึ่งมักจ�
��เกิดจากสิวอักเสบขนาดใหญ่แตกและยุบตัวอย่างรวดเร็ว(แม้จะไม่ได้กดหรือบีบเอง) หรือสิวอุดตันหรือสิวอักเสบขนาดเล็ก ที่รักษาไม่ถูกวิธี มีการกดหรือบีบสิวอย่างผิดวิธี
  • การป้องกัน: เมื่อเกิดปัญหาสิวบนผิวหน้า ควรพบแพทย์ผิวหนังตั้งแต่แรกที่เกิดขึ้น เพื่อมิให้เกิดผลแทรกซ้อน หรือร่องรอยของโรคหลงเหลือภายหลัง ห้ามกดหรือบีบสิวเองโดยเด็ดขาด
  • ชนิดของรอยหลุมสิว( Contour irregularities acne scar) ( ดูภาพประกอบที่ 1) แบ่งได้เป็น 
    1. Ice Pick Scar: เป็นรอยหลุมจิกลึก ขอบแคบ ขนาดมักไม่เกิน 0.5 มม. แล้วอาจจะกว้างเล็กน้อยที่ฐานของหลุม มักเกิดจากการกดหรือบีบสิวอุดตันให้หลุดออก เป็นรอยหลุมที่รักษาให้เรียบได้ยากที่สุด กว่าแบบอื่นๆ 
    2. Box car Scar: เป็นรอยหลุมกว้าง ขนาดใหญ่ คล้ายล้อรถทับ ขนาดมักจะประมาณ 3-4 มม. ขอบและฐานหลุมขนาดใกล้เคียงกัน มักจะพบพังผืด (fibrosis) เกาะติดในชั้นหนังแท้ มักเกิดจากผลของอักเสบของสิวขนาดใหญ่ๆ หรือแผลเป็นอีสุกอีใส ทำให้เวลาดึงให้ตึงจะเรียบได้ยาก เป็นรอยหลุมที่รักษาได้ยากเช่นกัน 
    3. Rolling Scar: มีลักษณะเป็นรอยหลุมฐานโค้งคล้ายกะทะ พื้นนุ่ม เวลาดึงให้ตึง แล้วทำให้ขอบแผลเรียบได้ มักเกิดจากผลของอักเสบของสิวขนาดใหญ่ๆ ที่ได้รับการรักษามาบ้าง แต่การยุบตัวของสิวไม่สัมพันธ์กับการสมานผิว เป็นรอยหลุมสิวที่ให้ผลการรักษาได้ดีกว่ารอยหลุมแบบอื่นๆ
  • การรักษารอยหลุมสิวในปัจจุบันมีหลายๆ วิธีที่ช่วยทำให้รอยหลุมจากสิวดีขึ้นได้ แต่ก็ยังไม่มีวิธีใดได้ผล 100% แต่ละวิธี จะช่วยทำให้รอยหลุมตื้นและดีขึ้นได้ มากน้อยต่างกันขึ้นอยู่กับลักษณะของรอยหลุมด้วย แบ่งกลไกการรักษาดังนี้ 
    1. การทำให้เซลล์หลุดลอกออก ทำให้รอยหลุมตื้นขึ้น แบ่งเป็น 
    1.1. Chemical Peeling: โดยการแต้มด้วยกรดเข้มข้น เช่น 50-70 % AHAs หรือ 30-50% TCA กลไกการรักษา ก็คือ การทำให้เซลล์ผิวชั้นนอกบริเวณรอยหลุม หลุดลอกออกช้าๆ เพื่อเตรียมให้บริเวณที่ต้องการรักษา นุ่มและมีความยืดหยุ่นมากขึ้น ทำให้เซลล์ผิวใหม่ได้มีการแบ่งตัว และดันตัวขึ้นมาบริเวณรอยหลุม พร้อมแก้ไขเซลผิวหน้าชั้นนอกที่มีปัญหาให้กลับคืนสู่สภาพปกติ มักจะใช้ในการรักษารอยหลุมสิวทั้ง 3 แบบ คือIce Pick scar,Box car scar,Rolling scar โดยแต้มทุก 2-3 อาทิตย์ต่อครั้ง อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่https://www.clinicneo.co.th/2007/detailcolumn.php?col_id=122&&grp=2 
    1.2 การกรอผิวหน้าด้วยเกร็ดอัญมณี (Microdermabrasion ): โดยการกรอผิวหน้า ให้หลุดลอกออกด้วยเกร็ดอัญมณีขนาดเล็กมาก ประมาณ 80-100 Micron ซึ่งผลึกครีสตัลที่นิยมใช้ ก็คือ Aluminium Oxide โดยให้วิ่งตามการพ่นของเครื่องปั๊มในกระบอกสูญญากาศที่ ปลอดเชื้อ ( Air flow in Sterile Closed system) โดยมีการปรับความแรง ความเร็วในการพ่นผลึกดังกล่าวได้ตามต้องการของผู้ใช้ ทำให้รอยหลุมตื้นขึ้นได้และต้องทำหลายๆ ครั้ง เพราะต้องค่อยๆ กรอบางๆ เพราะถ้ากรอลึกเกินไป อาจจะทำให้เกิดรอยแดง รอยดำได้และทำให้เจ็บปวดขณะทำได้ นอกเหนือจากนี้ ผู้ทำการกรอควรเป็นแพทย์หรือผู้ที่เชี่ยวชาญและชำนาญด้านนี้มาพอสมควร จึงจะได้ผลดี และผลข้างเคียงน้อยสุด ระยะเวลาในการกรอ จะแตกต่างกันแล้วแต่การพิจารณาของแพทย์ โดยคำนึงถึงผลที่ได้ และผลข้างเคียงที่จะเกิดภายหลัง เช่น กรอน้อยไป อาจจะได้ผลน้อยกว่า การกรอลึก หรือกรอนาน แต่ก็มีผลข้างเคียง (เช่น รอยถลอก รอยแดง หรือแสบหลังกรอ ทาครีมอื่นๆไม่ได้ ) ก็เกิดได้น้อยกว่า การกรอผิว มักจะใช้ในการรักษารอยหลุมสิวทั้ง 3 แบบ คือ Ice Pick scar,Box car scar,Rolling scar แต่ใน 2 แบบแรก จะได้ผลช้าและน้อยกว่า Rolling scar ส่วนใหญ่มักจะนัดกรอผิวทุก 1-2 อาทิตย์ และเว้นเป็นช่วงๆ เพื่อมิให้ผิวหน้าบางเกินไป ( อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่https://www.clinicneo.co.th/2007/detailcolumn.php?col_id=197&&grp=2) 
    1.3 การกรอผิวหน้าด้วยเลเซอร์( Laser Resurface): ที่นิยมทำ ก็คือ การกรอด้วยเครื่อง Co2 (UltraPulse) Laser หรือ Erbium:YaG Laser 2940 nm (Laser Peel) หรือทำทั้งสองอย่างร่วมกัน การกรอหรือลอกเซลล์ผิวหน้าด้วยเลเซอร์ นิยมใช้แก้ปัญหารอยหลุมที่มีมากและทั่วหน้า ได้ผลดีเร็วทันใจ รอยหลุม ทำให้ตื้นได้มากๆ และได้ผลเร็ว (สำหรับคนใจร้อนๆๆ) แต่ก็จะต้องเสี่ยงกับผลข้างเคียงที่ค่อนข้างมาก เช่น ความเจ็บปวดขณะทำ หลังทำคนไข้อาจมีรอยแดง มีการอักเสบ ต้องพักฟื้นหยุดงาน มากกว่า 1-2อาทิตย์ และมักเกิดรอยดำหลังการรักษา โดยเฉพาะในคนเอเซีย รอยดำคล้ำ อาจนานเป็นปี กว่าจะจางหายไป และก็มีโอกาสติดเชื้อจากบาดแผลก็เกิดได้สูงกว่า และต้องทำโดยแพทย์ที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้านนี้มาอย่างดี มักจะใช้ในการรักษารอยหลุมสิวทั้ง 3 แบบ คือIce Pick scar,Box car scar,Rolling scar ( อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่https://www.clinicneo.co.th/2007/detailcolumn.php?grp=9&sdata=laser&col_id=73 ) 
    2. การเติมให้รอยหลุมให้เต็มขึ้นใต้ผิวหนัง แบ่งได้เป็น 
    2.1 ยากลุ่มวิตามินเอ: โดยพบว่า Retinol ซึ่งเป็นอนุพันธ์ของวิตามินเอ สามารถนำมารักษารอยหลุมจากสิวได้ระดับหนึ่ง โดยออกฤทธิ์กระตุ้นการสร้างคอลลาเจนในชั้นหนังแท้ ทำให้รอยหลุมตื้นขึ้น แบ่งได้เป็น 
    2.1.1 0.05-0.1% Retin-A: ซึ่งเป็นวิตามินเอเจล ความเข้มข้นสูง นำมาการสลายไอออนด้วยเครื่องไอออนโต แล้วใช้หลักการประจุบวก ลบทำการผลักยาให้แทรกซึมเข้าสู่ผิวหนังได้ลึกขึ้นกว่าการทำครีมปกติ ทำให้ผลการรักษาเร็วขึ้น สามารถทำได้ 2 ครั้งต่ออาทิตย์ 
    2.1.2. ยารับประทานกลุ่ม Retinoids: ซึ่งสกัดจากอนุพันธ์ของวิตามินเอ เช่น Roaccutane,Isotretinoin,Acnotin มักนิยมให้คนไข้ไปรับประทานทุกวัน วันละ 10-20 มก. เพราะนอกจากจะแก้ไขปัญหาผิวหน้ามัน สิว กระชับรูขุมขนแล้ว ยังมีหลักฐานสนับสนุนว่า ช่วยทำให้ผิวหน้าและรอยหลุมเรียบเนียนขึ้น โดยไปกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนและฟื้นฟูสภาพผิวในชั้นหนังแท้ แต่ตัวยาดังกล่าวก็มีผลข้างเคียงเช่นกัน ถ้าใช้ติดต่อกันระยะเวลานาน 
    2.1.3. ครีมทาลบแผลเป็นริ้วรอย: ซึ่งประกอบด้วย วิตามินเอ อี AHA จะช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลใหม่ให้ เลื่อนขึ้นมาเต็มบริเวณรอยหลุม แต่ทั้งนี้บริเวณเซลผิวชั้นนอก ต้องมีความยืดหยุ่นอ่อนนุ่ม(ซึ่งควรจะได้รับการรักษาก่อนด้วย) 
    2.2. การเติมรอยหลุมด้วย Filler agents: คือ การฉีดสารเติมให้เต็มเข้าไปที่รอยหลุมโดยตรง ได้ผลเร็ว แต่มักจะใช้ในกรณีรอยหลุมแบบ Rolling Scar ที่ไม่มีพังผืดยึดเกาะที่ฐาน เพราะรอยหลุมแบบอื่นๆ ไม่สามารถเติมให้เต็มได้ เพราะผนังจะหนาและแข็ง ทำให้ สารที่เติมขณะฉีดจะไปอยู่ในชั้นผิวหนังปกติ ทำให้คลำเป็นก้อนๆ ได้ การเติมด้วยสารนี้ แบ่งได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้ 
    2.2.1 Temporary filler agents: คือ การฉีดเติมสารเข้าไปที่รอยหลุมโดยตรง แต่อยู่ได้ชั่วคราว ประมาณ 3 เดือน ถึง 1 ปี ได้แก่ คอลลาเจน เช่น Zyplast,Zyderm (ซึ่งเป็นสารโปรตีน ที่สกัดจากสัตว์ มีอายุอยู่ได้ประมาณ 3-6 เดือน แต่มีข้อเสีย คือ ต้องเทสต์ก่อนฉีดจริง เนื่องจากอาจทำให้แพ้ได้ ),Hyaluronic acid โมเลกุลเล็ก เช่น Restylane,Hyalaform ( เป็นกลุ่มที่สกัดจากแบคทีเรีย และหงอนไก่ ในห้องทดลอง มีอายุได้ประมาณ 1 ปี มีข้อดีก็คือ ไม่แพ้ และไม่ต้องเทสต์ก่อนฉีดจริง ) ซึ่งเป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน มากกว่าการฉีด คอลลาเจน อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่https://www.clinicneo.co.th/2007/detailcolumn.php?grp=9&&col_id=310 
    2.2.2 Semi- permiable filler agents: คือ การฉีดเติมสารเข้าไปที่รอยหลุมโดยตรง แต่อยู่ได้ชั่วคราว ประมาณ 2-3 ปี มักไม่พบอาการแพ้ ได้แก่ กลุ่ม Hyaluronic acid โมเลกุลใหญ่ เช่น Dermalive,Dermadeep หรือกลุ่ม Artecoll แต่ข้อมีข้อจำกัดก็คือ จะฉีดยากและเจ็บกว่าแบบแรก และก็มีโอกาสเกิดก้อนเนื้อ (Granuloma)ๆได้ประมาณ 5% 
    2.2.3 Premanent Filler agents: ได้แก่ new-fill (เป็นสารสังเคราะห์ประเภท Polylactic Hydrogel ) Bioplatique ที่แม้จะมีอัตราการแพ้น้อย และอยู่ได้นานกว่าหลายปี แต่ก็มีข้อเสีย ก็คือ ฉีดยาก เจ็บ และมักคลำก้อนได้ นอกจากนี้ยังมีโอกาสเกิดก้อนเนื้อ Granuloma ได้ถึง 30 % ( อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในบทความเฉพาะแต่ละเรื่อง ค้นหาที่ Site Search คอลัมน์ขวามือ)
  • 2.3 Non-ablative Laser ได้แก่ เลเซอร์ที่มีลักษณะเป็นคลื่นแสงความถี่จำเพาะ ซึ่งแตกต่างจากเลเซอร์กลุ่มเดิมๆ โดยมีคุณสมบัติในการรักษาผิวหน้าส่วนลึก โดยไม่มีผลต่อผิวหน้าส่วนบน ทำให้เกิดผลข้างเคียงจากเลเซอร์น้อยลงกว่าเลเซอร์ยุคก่อนๆ ส่วนใหญ่จะเริ่มมีการนำมารักษา ปัญหาผิวพรรณตั้งแต่ปี ค.ศ. 2000 เป็นต้นมาไป ถือว่าเป็นนวัตกรรมใหม่ และในการรักษาปัญหาผิวหน้า และรอยหลุม ด้วยวิธี Photorejuvenation โดยออกฤทธิ์ ทำให้ผิวหนังชั้นหนังแท้(Dermis) เกิดอาการบาดเจ็บ (Tissue injury) แล้วร่างกายจะตอบสนองโดยการซ่อมแซมให้ดีขึ้น ทำให้มีการสร้างคอลลาเจน และอีลาสตินใหม่ และจัดให้มีการเรียงตัวใหม่ของคอลลาเจน และปรับเซลล์ผิวหน้าในชั้นหนังกำพร้าให้กระชับมากขึ้น จึงทำให้รอยหลุมเรียบเนียนได้ ซึ่งปัจจุบันเลเซอร์ในกลุ่มนี้ ที่นำมารักษารอยหลุมสิว เรียงตามลำดับการพัฒนาดังนี้ 
    2.3.1 IPL (Intense pulse Light):จัดเป็นเลเซอร์ความถี่จำเพาะ รุ่นแรกๆ ที่ใช้หลักการรักษารอยหลุม ด้วยวิธี Photorejuvenation จะใช้ได้ผลบ้าง ในกรณีรอยหลุมแบบ Rolling Scar ที่ไม่มีพังผืดยึดเกาะที่ฐาน ส่วนรอยหลุมแบบอื่นๆ จะได้ผลน้อยกว่า และก็ต้องทำหลายๆ ครั้ง อ่านรายละเอียดบทความเรื่อง IPL ได้ที่นี่ https://www.clinicneo.co.th/2007/detailcolumn.php?grp=9&&col_id=111
    https://www.clinicneo.co.th/2007/detailcolumn.php?grp=9&&col_id=209
    https://www.clinicneo.co.th/2007/detailcolumn.php?grp=9&&col_id=210 
    2.3.2 Cool touch : จัดเป็น เลเซอร์กลุ่ม Nd:YaG ความถี่ 1320 nm. ซึ่งได้ผลิตออกมาไล่เลี่ยกับ IPL โดยได้มีแพทย์บางกลุ่มได้ใช้เลเซอร์ ชนิดนี้ มารักษารอยหลุมเช่นเดียวกัน เพราะเชื่อว่าสามารถยิงลำแสงเลเซอร์ ลงได้ลึกกว่า IPL แต่จากรายงานระยะต่อมา พบว่าได้ผลในการรักษารอยหลุมไม่แตกต่างกันมากนัก กับเครื่อง IPL 
    2.3.3 Smooth Beam : จัดเป็น เลเซอร์กลุ่ม Diode Laser ความถี่ 1450 nm. ซึ่งได้ผลิตออกมาหลังเลเซอร์ Cool Touch ได้มีแพทย์บางกลุ่ม นำมารักษารอยหลุมสิวเช่นกัน แต่ก็พบว่าได้ผลในการรักษารอยหลุมไม่แตกต่างกันมากนักกับเครื่อง IPL และ Cool Touch 
    2.3.4 Fractional Photothermolysis : ถือว่าเป็น Non-ablative Laser ตัวล่าสุด เริ่มมีการผลิตและนำเข้ามารักษาปัญหารอยหลุม ในปี ค.ศ. 2004 และได้การรับรองจาก FDA จากอเมริกา ในปี ค.ศ. 2006 ว่า สามารถแก้ไขปัญหาริ้วรอย ฝ้า กระ ตลอดจนรอยหลุมสิว ผิวหน้าไม่เรียบ ให้มีสภาพกลับมาดีขึ้น อย่างได้ผลชัดเจน ในระยะเวลาไม่นาน หลักการทำงานของ FP ก็คือ การปล่อยคลื่นแสงในช่วง Mid-Infrared ที่มีความยาวช่วงคลื่นที่ 1,550 นาโนเมตร ลงไปใต้ผิวหนัง บริเวณที่มีปัญหา โดยจะทำงานแตกต่างจากเลเซอร์รุ่นก่อนๆ ซึ่งเดิมจะใช้เลเซอร์คลื่นแสงเดียว วิ่งเป็นเส้นตรงไปยังเป้าหมายที่ต้องการรักษา แต่เทคนิค FP จะปล่อยพลังงาน ออกมาเป็นอนุภาคเล็กมากๆ แต่ละจุดที่ปล่อยจะเรียกว่า Microthermal Treatment Zone (MTZ) โดยจะปล่อยประมาณ 1,250-2,500 จุดต่อบริเวณผิว 1 ตร.ซม. ทำให้มีการทำลายเซลล์ผิวที่ผิดปกติออกไปเป็นจุดเล็กๆ มากๆ จนตาเปล่ามองไม่เห็น เซลล์ผิวดีที่อยู่รอบข้าง จะเป็นตัวซ่อมแซมให้เกิดเซลล์ผิวใหม่ ขึ้นมาแทนที่ภายใน 24 ชั่วโมง เปรียบเหมือนการตกแต่งภาพในคอมพิวเตอร์ ที่มีการแก้ไขจุดบกพร่อง ทีละพิกเซล พบว่าเลเซอร์ชนิดนี้ สามารถแก้ไขรอยหลุมสิวให้ดีขึ้น ได้กับรอยหลุมสิวทุกชนิด อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่นี่ https://www.clinicneo.co.th/2007/detailcolumn.php?grp=9&&col_id=301 ส่วนเลเซอร์ที่ใช้หลักการรักษาแบบนี้ ก็ได้แก่ Fraxel,Fine Scan 1550 ซึ่งเลเซอร์ทั้งสองตัวนี้ ปัจจุบันถือว่าเป็น เลเซอร์ที่นิยมนำมารักษาเรื่องรอยหลุมมากที่สุด เพราะได้ผลดีมากกว่า 60-80% และผลข้างเคียงก็น้อยกว่าเลเซอร์ประเภทอื่นๆ โดยเฉพาะ Fine Scan 1550 จัดเป็นเลเซอร์สำหรับผิวคนไทย หรือคนเอเซีย โดยเฉพาะ อ่านบทความเรื่อง Fine Scan 1550 ได้ที่นี่ https://www.clinicneo.co.th/2007/detailcolumn.php?grp=9&col_id=357
  • 2.4 Skin Needling (Dermaroller) : จัดเป็นเทคนิคในการแก้ไขปัญหาผิวพรรณ โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Derma Roller มีลักษณะเป็นลูกกลิ้งที่มีเข็มเล็กๆ จำนวนมาก ขนาดเส้นผ่าศูนต์กลาง 0.25 มม. ยาว 1.5 มม. กลิ้งไปบนผิวหนัง เข็มจะลงได้ลึกถึงชั้นหนังแท้ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เกิดการอักเสบเล็กๆ แล้วร่างกายจะซ่อมแซมอาการบาดเจ็บ โดยการสร้างเซลล์ใหม่ ด้วยการกระตุ้นการ สร้างคอลลาเจนและอีลาสติน และมีการจัดโครงสร้างเนื้อเยื่อใหม่(Remodeling) ในเนื้อเยื่อผิวชั้นหนังแท้ ( Dermis) ขณะที่ทำการรักษาจะทำให้เกิดรูขนาดเล็กจำนวนมากบนผิวหนัง เมื่อเติมสารบำรุงหรือยา ที่สำคัญลงไปร่วมด้วย จะทำให้สามารถซึมเข้าสู่ ผิวหนังได้ลึกและได้ผลกว่าการทายาทั่วไปถึง 40 เท่า เมื่อการทำรักษาหลายๆ ครั้งอย่างต่อเนื่อง พบว่าทำให้เกิดกระบวนการจัดโครงสร้างผิวหน้าใหม่ โดยมี Fibroblast เป็นตัวที่มีบทบาทมากที่สุด ทำให้เกิดคอลลาเจนเพิ่มขึ้นๆ และแข็งแรงขึ้น (จาก Collagen type 1 >type 3) การรักษาวิธีนี้จะคล้ายๆ กับการหายของแผลหลังทำการลอกหน้าด้วยเลเซอร์ แต่จะไม่มีการทำลายชั้นหนังกำพร้าหรือผิวหน้าส่วนบนให้เกิดผลเสีย หรือผิวหน้าบาง หรือเกิดแผลเป็นใดๆ จัดว่าเป็นการรักษารอยหลุมสิวที่มีประสิทธิภาพในการรักษามากและเห็นผลได้รวดเร็ว Skin Needling จัดเป็นเทคนิคการรักษารอยหลุมที่ได้ผลดีกับรอยหลุมสิวทุกชนิด เช่นเดียวกับเลเซอร์ Fraxel หรือ Fine Scan 1550 เพียงแต่ปัจจุบัน ไม่มีให้บริการแล้ว เนื่องจาก เข็ม Dermroller ที่ได้คุณภาพ ไม่สามารถจัดหามาให้บริการได้ เนื่องจาก หาบริษัทนำเข้ายาก แพทย์จึงหันไปรักษารอยหลุมสิวด้วยกลุ่ม Fractional Laser แทน อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ https://www.clinicneo.co.th/2007/detailcolumn.php?grp=9&&col_id=304 
  • 2.4 Frctional RF  : จัดเป็นนวัตกรรมรักษาแผลเป็นล่าสุดของปี 2012 เพราะถือว่ารักษารอยหลุมสิวได้ดีที่สุด ไวสุด กว่าทุกๆ วิธีที่กล่าวมา แถมไม่พบรอยดำหลังทำเหมือนการรักษาหลุมสิวด้วยเลเซอร์ คาดว่า น่าจะเป็น Gold Standard สำหรับการรักษาหลุมสิวในอนาคต อ่านบทความเรื่องนี้ได้ที่นี่ https://www.clinicneo.co.th/detailcolumn.php?grp=1&col_id=383
    3. ศัลยกรรมกับการรักษารอยหลุมสิว: แบ่งได้เป็น 
    3.1 Punch excision: มักนำมารักษารอยหลุมสิว แบบ Ice Pick scar และ Box car scar ที่มีขนาดไม่เกิน 3 มม. โดยการใช้เครื่องมือตัดรอยหลุม แล้วเย็บปิด หรือปิดด้วยเทป Sterile Strip หรือ Dermabond 
    3.2 Punch elevation: มักนำมารักษารอยหลุมสิว แบบ Box car scar ที่มีขนาดไม่เกิน 3 มม. โดยการยกรอยหลุมขึ้นในระดับเดียวกับขอบหลุม แล้ว เย็บปิด 
    3.3 Punch grafting: มักนำมารักษารอยหลุมสิว แบบ Ice Pick scar และ Box car scar ที่มีขนาดความลึกไม่ค่อยเท่ากัน โดยการนำผิวหนังจาก ที่อื่นมาเย็บปิดตรงรอยหลุม 
    3.4 Elliptical excision: มักนำมารักษารอยหลุมสิว แบบ Box car scar ที่มีขนาดไม่เกิน 4 มม. โดยการกรีดผ่าตัดแบบกรีดตามวงรี แล้วทำการเย็บปิด 
    การทำศัลยกรรมรอยหลุมสิว ในข้อ 3.1-3.4 มักจะทำในกรณีที่มีจำนวนรอยหลุมบางชนิดเท่านั้น ( แบบ Ice Pick scar และ Box car scar ) และมีจำนวนไม่มากนักในร่างกาย แต่ก็ต้องทำโดยแพทย์ที่ชำนาญอย่างมากเท่านั้น เพราะมีโอกาสเกิดผลข้างเคียง ได้ เช่น รอยเย็บของแผล สีผิวบริเวณรอยหลุมไม่เท่ากันกับสีผิวข้างเคียง (ในกรณีที่มีการที่กร้าฟที่นำมาปะรอยหลุมอาจจะไม่ติด เกิดการติดเชื้อ หรือแผลเป็นนูนภายหลังได้) 
    3.5 Subcision: คือการใช้เข็มที่เรียกว่า Nokor needle(เข็มที่มีใบมีดอยู่ตรงปลายเข็ม ใช้สำหรับทำ Subcision โดยเฉพาะ) เบอร์ 18 แทงเซาะบริเวณใต้ฐานหลุม ทำให้มีการแยกชั้นของผิวหนัง พังผืดที่ยึดเกาะรอยหลุมก็จะหลุดออก เกิดเลือดมาสะสมที่ในรอยแยก พร้อมกับนำพา Fibroblast มาทำการซ่อมแซมส่วนที่บาดเจ็บ ให้มีการสร้างเนื้อเยื่อคอลลาเจนขึ้นมาใหม่ จึงทำให้รอยหลุมตื้นขึ้นได้ เทคนีคนี้ไม่มีรอยกรีดที่ผิวหน้า จึงไม่ต้องเย็บแผล เหมือนวิธีอื่นๆ ในข้อ 3.1-3.4 เมื่อหลุมแผลเป็นนูนเสมอผิวปกติแล้ว อาจจะตกแต่งแผลด้วยเลเซอร์หรือการกรอผิวอีกครั้ง หรือลอกด้วยกรดเข้มข้น เพื่อให้ผิวเรียบเนียนขึ้น ใช้ได้ผลกับหลุมสิวทุกประเภท แต่ได้ผลดีสุดกับหลุมสิวแบบ rolling scar จึงมักจะเป็นวิธีที่แพทย์นำมารักษารอยหลุมสิว ผสมผสานกับการรักษาด้วยวิธีอื่นๆ 
    เรียบเรียงและค้นคว้าใหม่ โดยนพ.จรัสพล รินทระ .......ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด....2 Febuary ,2012

ที่มา : https://www.clinicneo.co.th/detailcolumn.php?grp=3&sdata=&col_id=224

อัพเดทล่าสุด