| - ในปัจจุบัน วิวัฒนาการด้านรังสีชีววิทยาและเลเซอร์ได้มีการพัฒนาอย่างมาก มีการผลิตเครื่องมือใหม่ๆ ในการนำมารักษาส�
|
��ว โดยการใช้คลื่นแสงมารักษาสิว ซึ่งได้มีการศึกษาพบว่าแสงช่วงคลื่นสีน้ำเงิน แดง และ..สีม่วง และหรือแสงรวมระหว่างแสงสีน้ำเงินและสีแดง ช่วยทำให้อาการสิวดีขึ้น - หลักการรักษาสิวด้วยแสงนั้น ได้มีการทดลองหลายๆ แห่ง พบว่า แสงบางช่วงคลื่น สามารถออกฤทธิ์ยับยั้งและฆ่าเชื้อแบคทีเรียสิวได้ ( P.acnes) ไม่แพ้กลุ่มยาปฏิชีวนะ (Antibiotics) เหมาะสำหรับคนที่เบื่อกับการรักษาสิวแบบเดิมๆ คือ การทายา หรือรับประทานยา และยังพบอีกว่า กลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาสิวด้วยแสง จะมีอาการโดยรวมดีขึ้น เร็วขึ้น และเหมาะกับการรักษาสิวที่มีหลายลักษณะอยู่ด้วยกัน เช่น สิวอุดตัน สิวอักเสบ สิวหัวหนอง และถ้าการรักษาด้วยแสงร่วมกับการใช้ยาทาละลายสิวอุดตัน หรือร่วมกับการรับประทานยารักษาสิว จะทำให้สิวหายได้เร็วขึ้น นอกจากนี้การรักษาด้วยแสงได้มีรายงานว่าสามารถลดการกลับมาเป็นสิวกำเริบซ้ำอีก หลังหยุดทานยากลุ่ม Isotretinoin
- แสงที่ใช้ในการรักษาสิวที่ได้ผลในปัจจุบันได้แก่
1. Blue light therapy เป็นคลื่นแสงสีน้ำเงิน ความยาวช่วงคลื่นที่ 407-420 nm. ที่ได้รับการยอมรับจาก FDA ของอเมริกา หลักการทำงานโดยการฆ่าเชื้อแบคทีเรียสิว ( P.acne)และใช้รักษาสิวอักเสบ ที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาชนิดอื่น Blue Light ในปัจจุบัน จะไม่มี UV light เป็นส่วนประกอบ เนื่องจาก UV light จะทำอันตรายกับผิวหนังได้ พบว่าการรักษาด้วยวิธีนี้ ได้ผลประมาณ 55-60% ยี่ห้อที่รู้จักกันดีในเมืองไทย ก็เช่น ยี่ห้อ CleatLight ซึ่งผู้เขียนได้เขียนบทความเฉพาะตัวนี้ไว้แล้วที่นี่ https://www.clinicneo.co.th/detailcolumn.php?grp=9&&col_id=181 2.Pulsed light and heat energy(LHE) therapy ความยาวช่วงคลื่น 390 nm. การรักษานี้ จะใช้ LHE ทำลายเชื้อ P.acne และลดการผลิตไขมัน โดยการไปทำให้ต่อมไขมันหดตัวลง เป็นระบบที่ใช้แสงสีเขียวและความร้อน สำหรับสิวที่เป็นน้อยและปานกลาง ซึ่งผ่านการรับรองจาก FDA แล้วเช่นกัน ได้แก่กลุ่มเลเซอร์ยี่ห้อ Thalium&Scott KV 3. ALA and light therapyการรักษานี้มี 2 ขั้นตอน คือ 3.1. ใช้น้ำยา 5-aminolevulinic acid(ALA) ทาบริเวณผิวหนังที่จะใช้รักษา ALA เป็นสารที่จะเพิ่มความไวต่อแสง ใช้รักษาสิวโดยทาทิ้งไว้บนผิวหนัง 15 ถึง 60 นาที ระยะเวลา ขึ้นกับความรุนแรงของสิว แล้วเช็ดน้ำยา ALA ออก 3.2. รักษาด้วยแสง (เนื่องจาก ALA ทำให้ผิวหนังไวต่อแสงมากขึ้น คนไข้ควรใช้ครีมกันแดด เป็นเวลา 48 ชั่วโมงหลังการรักษา) จากงานวิจัยพบว่า การรักษาสิวด้วยแสงสีน้ำเงินหรือสีแดง หลังจากทา ALA จะทำให้ผลการรักษา มีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม แสงสีแดง อาจทำให้เกิดผลข้างเคียง ที่ไม่ต้องการ คือ ผิวคล้ำลงชั่วคราว หรือมีรูขุมขนอักเสบ สำหรับการใช้แสงสีน้ำเงินนั้นไม่พบผลข้างเคียงดังกล่าว และน่าจะเหมาะสมดีกับการรักษาสิว 4. Diode laser การรักษาสิวด้วย 1450-nm diode laser เช่น เครื่อง Smoothbeam โดยใช้หลักการทำลายต่อมไขมันที่ทำให้เกิดสิว ใช้รักษาสิวที่หน้าและหลัง มีผลการศึกษาว่า หลังการรักษาไปแล้ว 3 ครั้ง คนไข้มีสิวลดลง ประมาณ 83% ผลข้างเคียง ได้แก่ เจ็บ รอยแดงและบวมบริเวณที่ทำการรักษา 5. Pulsed dye laser ได้แก่เครื่อง PhotoGenica ความยาวช่วงคลื่น 595 nm. พบว่าช่วงลดการอักเสบของสิวได้ คงต้องรอผลพิสูจน์จาก FDA อเมริกา อีกครั้ง 6. เครื่องกำเนิดแสงอื่นๆ ซึ่งมีบางรายงานเช่นกันว่า ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียสิว P.acne ได้แก่ เครื่องกำเนิดแสง Fluorescescent lamps (รุ่น HF 885,Osram) ความยาวช่วงคลื่นที่ 415 nm,660 nm.,เครื่องกำเนิดแสง Full Spectrum light รุ่น HPA 400 W ช่วงคลื่น Visible Light+UVA และ Xenon Flash Light รุ่น Cleartouch ความยาว ช่วงคลื่น 430-1,200 nm. - จะเห็นได้ว่า การรักษาสิวด้วยแสง ยังต้องมีการติดตามและศึกษาอีกมาก เพราะมีเลเซอร์หลากหลายชนิดมีนำมาทดลองรักษาสิว ในความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน
ไม่อยากแนะนำให้รักษาสิวด้วยแสง เป็นทางเลือกอันดับแรก เพราะเรายังไม่ทราบถึง ผลข้างเคียงในระยะยาว หรือการรักษาด้วยแบบไหน จะได้ผลดีที่สุด ระยะเวลาในการรักษาและการติดตามผล นอกจากนี้ยังมีรายงานยืนยันแค่ว่า ใช้รักษาสิวได้ดีเฉพาะสิวที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียสิว P.acne เท่านั้น ถ้าเป็นสิวจากสาเหตุอื่นๆ ยังไม่มีรายงานว่าได้ผลชัดเจน - การเลือกรักษาสิวด้วยแสง คิดว่าน่าจะเหมาะสำหรับ คนไข้ที่ขี้เบื่อการรักษาสิวแบบเก่าๆ ชอบลองของใหม่ แม้จะกระเป๋าฉีกมากขึ้น เพราะแม้บางครั้งของถูก ก็ได้ผลพอๆ กับของแพง แต่อยากมีความรู้สึกว่า "ฉันมีเงินเหลือเฟือมากพอที่จะสุรุ่ยสุร่ายและทันสมัยได้ " ไม่งั้นหลายๆ คลินิกสิวไฮโซ คงไม่นำเข้า เครื่องแพงๆ พวกนี้ เพื่อตอบสนองต่อกลุ่มลูกค้าดังกล่าว
เรียบเรียงและค้นคว้าโดย นพ.จรัสพล รินทระ...................................4 July,2006 เอกสารอ้างอิง...............Taub AF.Photodynamic therapy in dermatology: history and horizons.J Durgs Dermatol 2004:3(1 Suppl):S 8-25 เอกสารอ้างอิง...............Elman M. Lebzelter J. Light therapy in the treatment of acne vulgaris.Dermatol Surg. 2004:3;139-146 |
ที่มา : https://www.clinicneo.co.th/detailcolumn.php?grp=3&sdata=&col_id=303