มะเร็งเต้านม ศัตรูตัวร้ายของผู้หญิง


1,048 ผู้ชม


บทความเรื่อง # มะเร็งเต้านม ศัตรูตัวร้ายของผู้หญิง
  • มะเร็งเต้านม ถือว่าเป็นสาเหตุการตายระดับต้นๆ ในผู้หญิงทั่วโลก ผู้หญิงทุกคนมีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งเต้านม��
�นอัตราที่สูงพอควร โดยในอเมริกา พบถึง 29% และ 17.53% ในไทย
  • ความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านมจะเพิ่มขึ้นตามอายุของผู้หญิง ซึงประมาณความเสี่ยงโดยทั่วๆ ไปดังนี้ 
       อายุ 25 ปี มีความเสี่ยง 1:19,608 คน
       อายุ 30 ปี มีความเสี่ยง 1:2,525 คน
       อายุ 40 ปี มีความเสี่ยง 1:217 คน
       อายุ 50 ปี มีความเสี่ยง 1:50 คน
       อายุ 70 ปี มีความเสี่ยง 1:14 คน
       อายุ 85 ปี มีความเสี่ยง 1:9 คน
  • ความเสี่ยงที่เกิดขึ้น ถ้ามีประวัติคนในครอบครัวเคยมีปัญหานี้ จะมีอัตราเสี่ยงมากกว่าคนปกติ 2-3 เท่า และพบว่าถ่ายทอดทางพันธุกรรมประมาณ 5-10 %
  • การที่ได้รับการตรวจวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งเต้านม ไม่ได้หมายความว่ากำลังจะตายนะครับ แต่หมายถึงกำลังมีอุปสรรคในการดำรงชีวิตที่ต้องต่อสู้ให้ผ่านพ้น เพราะมีคนมากกว่า 2 ล้านคนที่เป็นมะเร็งเต้านมระยะแรกเริ่ม สามารถมีชีวิตอยู่ได้มากกว่า 5 ปีหลังทำการรักษา
  • สาเหตุของการเกิดมะเร็งเต้านมยังไม่สามารถทราบได้แน่ชัด จึงไม่สามารถหาทางป้องกันให้อัตราการเกิดลดลงได้ เพียงแต่พบว่าอาจเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับอายุ Gene BRCA1,BRCA2 ฮอร์โมนเอสโตรเจน ฯลฯ ดังนั้นการค้นพบและวินิจฉัยได้เร็วในระยะแรกเริ่ม แล้วทำการรักษาด้วยเคมีบำบัด รังสีรักษา การผ่าตัด ก็สามารถทำให้มีอายุยืนยาวมากกว่า 5 ปี ได้เกิน 97%
  • วิธีการตรวจเต้านมด้วยตนเอง
       1. ถอดเสื้อชั้นในออก แล้วยืนหน้ากระจกเพื่อดูรูปร่างของเต้านมว่ามีอะไรเปลี่ยนแปลงหรือไม่ ไม่ว่าความเรียบ สีผิว ความขรุขระ หรือเหมือนมีอะไรดันให้นูนขึ้น หรือบุ๋มลงหรือไม่ แล้วบีบหัวนมว่ามีน้ำเหลือง หรือเลือดไหลออกมาหรือเปล่า จากนั้นลองเกร็งกล้ามเนื้อหน้าอกดู เพื่อจะสังเกตรอยดึงรั้งหรือนูนที่ชัดเจน การเกร็งกล้ามเนื้อหน้าอก ทำได้โดยจะทำ 2 ท่าดังนี้ ท่าแรกเอามือประสานไว้ด้านหลังของหัว แล้วกดมือดันหัวมาข้างหน้าพร้อมๆกับที่เอาหัวดันต้านแรงกดของมือไว้ด้วยท่าที่สองเอามือทั้งสองกดลงบนตะโพกของแต่ละด้าน ก้มตัวมาข้างหน้าเล็กน้อย พร้อมทั้งดึงหัวไหล่และข้อศอกห่อเข้ามาด้านหน้า ทำไปพร้อมๆกับการจ้องมองที่กระจก เพื่อดูว่ามีความผิดปกติของรูปร่างของนมทั้งสองข้างหรือไม่ 
       2.คลำเพื่อค้นหาก้อนประหลาดที่อาจหลบซ่อนในเต้านม ใช้ 3 หรือ 4 นิ้วของมือ โดยใช้ปลายนิ้วค่อยๆ คลำกดไล่ไปทั่วๆ โดยใช้มือขวาคลำเต้านมซ้าย และใช้มือซ้ายคลำเต้านมขวา โดยมีนิ้วหนึ่งกดสัมผัสนิ่งไว้ บริเวณที่คลำให้คลำเริ่มต้นที่รอบหัวนมแล้วไล่เป็นวงกลมไปด้านนอกจนถึงรักแร้ เพราะส่วนนี้ก็พบมะเร็งเต้านมได้บ่อยๆ ที่หนึ่งทีเดียว ควรทำขณะอาบน้ำฟอกสบู่ เพราะจะทำให้คลำได้ง่ายขึ้น
       3. เพื่อความถี่ถ้วน ควรคลำหาก้อนอีกครั้ง โดยนอนราบลงแล้วเอาแขนยกไว้เหนือหัวเหมือนเดิม พร้อมกับเอาหมอนเล็กๆ หนุนหัวไหล่ไว้ แล้วคลำเหมือนข้อ 2 ให้ทั่วทั้งสองข้าง ท่านี่จะทำให้เต้านม แบนราบลง การคลำหาก็จะง่ายขึ้น
       4. การตรวจเต้านม ควรทำในช่วงที่เต้านมมีการคัดตึงน้อยที่สุด ก็คือช่วงวันที่ 7-10 นับจากวันแรกที่มีประจำเดือนมา
       4. ควรตรวจเต้านมด้วยตนเอง อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้งและทำทุกเดือนตลอดไป ถ้าหมดประจำเดือนแล้วให้กำหนดทุกวันที่เท่าไหร่ก็ได้ในปฏิทินกันลืม
  • วิธีการค้นหามะเร็งเต้านม ให้ได้เร็วที่สุด ทางสถาบันมะเร็งแห่งอเมริกาได้แนะนำดังนี้
       1. ผู้หญิงทุกคนควรตรวจเต้านมด้วยตนเองทุกเดือนตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไป ถ้าพบความผิดปกติไปจากเดิม ควรรีบปรึกษาแพทย์
       2. เมื่ออายุ 35 ปีขึ้นไป ควรตรวจเต้านมปีละครั้งโดยแพทย์ ถ้ามีประวัติากรเป็นมะเร็งในครอบครัว ควรปรึกษาเพิ่มเติมนอกเหนือจากการตรวจด้วยแมมโมแกรม
       3. อายุ 40 ปีขึ้นไป ควรตรวจแมมโมแกรมเป็นพื้นฐาน
       4. อายุ 50 ปีขึ้นไป ควรตรวจแมมโมแกรมปีละครั้ง
       5. แต่ถ้ามีประวัติครอบครัวเคยเป็น ควรตรวจแมมโมแกรมปีละครั้งตั้งแต่อายุ 40 ปี
  • แมมโมแกรม( Mammogram) คืออะไร เป็นเครื่องมือเอ็กซเรย์พิเศษที่ทำให้รังสีมีกิโลโวลท์เทจต่ำๆ ประมาณ 25-28 Voltage เพื่อที่จะแยกแยะความแตกต่างของไขมันและเนื้อเยื่ออื่นๆ ที่เป็นท่อและต่อมต่างๆ ในเต้านม สามารถที่จะค้นหาการจับตัวของแคลเซียมเล็กๆ ในลักษณะที่จะบ่งชี้ว่าจะใช่ลักษณะของมะเร็งเต้านมหรือไม่ ข้อดีของการทำแมมโมแกรมก็คือ สามารถที่จะค้นหาลักษณะเนื้อเยื่อที่ผิดปกติได้ตั้งแต่ขนาดเพียง 0.1-1 ซม. ดังนั้นจึงทำให้ค้นพบระยะแรกเริ่มของมะเร็งได้อย่างรวดเร็ว
  • ท่านสามารถที่จะหาที่ทำแมมโมแกรมได้ที่ รพ.่ของรัฐที่วไป หรือโรงเรียนแพทย์ ค่าใช้จ่ายจะประมาณ 800-2,000 บาท แล้วแต่รพ.ใดจะกำหนด โดยมีการเตรียมตัวก่อนไปทำดังนี้ 
       1. นัดตามวันของรอบประจำเดือน ควรอยู่ในช่วง 10 วันแรก โดยนับจากวันที่ประจำเดือนมา เพราะเต้านมจะไม่คัดตึง การบีบแผ่เต้านมจะทำได้ง่ายขึ้น และจะรู้สึกเจ็บน้อยลงด้วย ถ้าไม่มีรอบเดือนแล้ว จะนัดวันไหนก็ได้
       2. ถ้าเคยทำมาแล้ว ควรนำฟิล์มเก่ามาเปรียบเทียบด้วย 
       3.กรณีที่มีการผ่าตัดเสริมเต้านม ควรบอกแพทย์หรือพนักงานเทคนิคทุกครั้ง เพื่อการทำอย่างเหมาะสม
       4. เพื่อความสะดวกควรสวมเสื้อคลุมคนละท่อนกับกางเกงหรือกระโปรง และไม่ควรสวมเครื่องประดับที่หูหรือคอ 
       5. ไม่ควรทาน้ำมันหรือโลชั่นเหนียวๆ ที่บริเวณเต้านม
  • ผมขอย้ำนะครับ ว่าแมมโมแกรม ไม่ใช่ขึ้นตอนสุดท้ายในการค้นหามะเร็งเต้านม เป็นเพียงสิ่งที่ดีที่สุดและไวที่สุดในการช่วยค้นหาสิ่งผิดปกติที่เต้านมเท่านั้น ยังต้องอาศัยการตรวจทางพยาธิวิทยา เพื่อยืนยันผลอีกครั้ง 
    เรียบเรียงและค้นคว้าใหม่โดย นพ.จรัสพล รินทระ ...ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด...30 July,2005

ที่มา : https://www.clinicneo.co.th/detailcolumn.php?grp=2&sdata=&col_id=110

อัพเดทล่าสุด