| - โรคลมชัก หรือ โรคลมบ้าหมู คือ ภาวะที่ผู้ป่วยหมดสติสัมปัญชัญญะในการควบคุมตนเอง มีอาการชักกระตุกของกล้าม��
|
�นื้อทั่วร่างกาย ไร้การควบคุม ใช้เวลาในการเกิดไม่นาน เป็นนาที ก็จะหยุดชักแล้วค่อยฟื้นคืนสติ - สาเหตุของโรคลมชัก ขึ้นอยู่กับอายุที่ชักครั้งแรก เพราะมีหลายสาเหตุดังนี้
1.ในทารกและเด็ก มักเกิดจาก ภาวะไข้สูง ภาวะติดเชื้อ มีประวัติการคลอดลำบาก หรือความผิดปกติของการMetabolism 2.ในผู้ใหญ่อายุ มากกว่า 25 ปี พบได้บ่อย จากภาวะอุบัติเหตุที่ศีรษะ อัลกอฮอร์ ยาบางชนิด เนื้องอกที่สมอง 3. ในคนสูงอายุ มากกว่า 50 ปี พบได้บ่อย จากโรคเส้นเลือดในสมอง เนื้องอกในสมอง ภาวะสมองฝ่อในวัยสูงอายุ - ในผู้ใหญ่ ที่เกิดโรคลมชักในภายหลัง พบว่า 60-70 % มักไม่พบสาเหตุชัดเจน อยากต้องหาสาเหตุเพิ่มเติม แต่ก็มีปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้เกิดโรคลมชักได้ ได้แก่ ภาวะอดนอน ภาวะก่อนมีประจำเดือน การอดอาหาร ความอ่อนเพลีย ภาวะเครียด
- แนวทางการวินิจฉัยทางการแพทย์ ในผู้ป่วยโรคลมชัก มีดังนี้
การซักประวัติ จากคำบอกเล่าของผู้เห็นเหตุการณ์ เป็นสิ่งที่สำคัญ เพื่อแยกประเภทของโรคลมชัก การตรวจร่างกายของคนไข้ การตรวจคลื่นสมอง ( EEG ) เพื่อดูประเภทของโรคลมชัก การตรวจคอมพิวเตอร์สมอง (CT ) กรณีที่สงสัยเนื้องอก หรือ เส้นเลือดในสมองผิดปกติ - การปฐมพยาบาลเบื้องต้น เมื่อพบคนที่เกิดลมชัก พยายามให้นอนในพื้น ที่ไม่มีสิ่งกีดขวาง ขณะกำลังชัก ให้หาผ้าเช็ดหน้า หรือผ้าหนาๆ ให้กัด อย่าสอดนิ้วมือเข้าไปในปากผู้ป่วย เพราะอาจบาดเจ็บจากการกัดของผู้ป่วยได้ พยายามอย่าให้คนมุง เพื่อให้อากาศถ่ายเทสะดวก หลังชักควรนำผู้ป่วยพบแพทย์
- การปฏิบัติตนในชีวิตประจำวัน ของผู้ป่วยโรคลมชัก ไม่ควรขับขี่ยวดยานพาหนะ เช่น รถยนต์ การเล่นกีฬา ควรหลีกเลี่ยงกีฬาประเภทที่มีการกระทบกระทั่งกับผู้อื่น การว่ายน้ำโดยลำพัง การไต่เขา และดิ่งพสุธา งดเครื่องดื่มประเภทอัลกอฮอร์ อย่างเด็ดขาด กรณีที่ยังอยู่ในวัยศึกษา สามารถเล่าเรียนได้ตามปกติ แต่ควรแจ้งให้ครูและเพื่อนทราบถึงโรคประจำตัว
เรียบเรียงและค้นคว้า โดย นพ. จรัสพล รินทระ ....................12 กุมภาพันธ์ 2548 |
ที่มา : https://www.clinicneo.co.th/detailcolumn.php?grp=2&sdata=&col_id=2