| - ว่านหางจระเข้ หรือ หางตะเข้ หรือ ว่านไฟใหม้ เป็นสมุนไพรพื้นบ้านที่เรารู้จักกันดี โดยมีชื่อทางพฤษศาสตร์ว่า Aloe barbadensis Mil
|
l หรือ Aloe vera Inn. ในตระกูล Liliaceae มีลักษณะเป็นพืชล้มลุก ลำต้นสั้น ใบยาวแหลม อวบ และติดแน่นกับลำต้น ขอบใบมีหนามแหลม ภายในมีวุ้นใส และที่เปลือกใบมีท่อ ซึ่งทำให้น้ำยางเป็นสีดำ ซึ่งมีฤทธิ์เป็นยาถ่ายอย่างรุนแรง และเป็นส่วนประกอบของ ยาดำ นั่นเอง - กระทรวงสาธารณสุขได้ส่งเสริมให้มีการนำว่านหางจระเข้ ในส่วนที่เป็นวุ้นมาใช้ในการรักษาแผลไฟใหม้ ซึ่งได้มีการทดลองทั้งในคนและในสัตว์ พบว่าได้ผลดีในการรักษาแผลไหม้ที่เกิดจากความร้อน รังสี หรือสารเคมีได้ โดยสารสำคัญในส่วนของวุ้น คือ Glycoprotein 2 ชนิด ขื่อ Aloctin-A และ Aloctin-B จะช่วยลดการอักเสบ และมีฤทธิ์สมานแผล
- ได้มีการค้นคว้าและพบว่า สาร Aloctin-A และ Aloctin-B ออกฤทธิ์คล้ายกับ Bradykininase ซึ่งร่างกายได้สร้างขึ้นมา เพื่อป้องกันมิให้ร่างกายหลั่งสาร Bradykinin ซึ่งเป็นสารที่ก่อให้เกิดการอักเสบของแผล
- แต่ก็มีข้อระวังคือ ในส่วนที่เป็นวุ้นที่ใช้ลดการอักเสบ จะไม่มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ดังนั้นจะต้องทำแผลให้สะอาด หรือ รับประทานยาปฏิชีวนะร่วมด้วย เช่น กลุ่มเพนนิซิลิน นอกจากนี้ วุ้น และสารสำคัญไม่มีความคงตัว สลายได้เมื่อโดนความร้อน ดังนั้น ผลิตภัณฑ์ใดที่จะนำมาทำการผลิตจึงต้องไม่ผ่านขบวนการฆ่าเชื้อ และบรรจุกระป๋อง จึงจะทำให้ฤทธิ์ของ Glycoprotein ดังกล่าวเสื่อมคุณภาพได้
- ดังนั้นการนำมาใช้ ควรปลอกสดๆ แล้วใช้ทันที เพราะการปอกจะทำให้การสลายตัวของ Aloctin-A และ Aloctin-B มีมากขึ้น และภายใน 6 ชั่วโมง ผลการรักษาจะเหลือเพียง 50 %
- เนื่องจากว่านหางจระเข้ มีฤทธิ์โดยหลักในการลดการอักเสบ จึงได้มีการนำมารักษาแผลที่เกิดจากการอักเสบอย่างอื่นด้วย เช่น แมลงกัด เริม งูสวัด พิษแมงกระพรุน และยังพบว่าสามารถนำมารักษากระเพาะอาหารอักเสบด้วย และในบางรายงาน จะพบว่าช่วยป้องกันการเกิดแผลเป็นได้ดีทีเดียว
เรียบเรียงและค้นคว้าใหม่โดย นพ.จรัสพล รินทระ....ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด....30 July,2005 |
ที่มา : https://www.clinicneo.co.th/detailcolumn.php?grp=2&sdata=&col_id=117