ขมิ้นชัน สมุนไพรไทยในทางการแพทย์


1,455 ผู้ชม


  • ขมิ้นชัน รู้จักกันโดยทั่วไปในด้านการใช้ประกอบอาหารต่างๆ โดยเฉพาะในภาคใต้ และสารสีเหลืองในขมิ้นชันนี่เองที่ชาวอ�
��นเดียและชาวตะวันออกกลางใชัทำเครื่องแกงที่เรียกว่า curry โดยมีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Curcuma longa Linn. ในวงศ์ Zingiberaceae
  • ขมิ้นชัน จัดเป็นพืชล้มลุกอายุหลายปี สูงประมาณ 50-70 ซม. ใบคล้ายใบต้นพุทธรักษา คือ มีรูปหอกแกมขอบชนาน ขนาดกว้าง 8-10 ซม. ยาว 30-40 ซม. ดอกออกเป็นช่อ ช่อดอกมีใบประกับสีเขียวอ่อนหรือสีขาวเรียงซ้อนกัน( ดังในภาพ) มีเหง้าใต้ดิน ลักษณะเด่นของเหง้าคือ เมื่อผ่าออกจะมีสีเหลืองส้ม มีกลิ่นเฉพาะตัว
  • ประโยชน์ในการรักษาทางการแพทย์ 
        1.เมื่อรับประทานเหง้าของชมิ้นชัน จะมีฤทธิ์ในการเคลือบแผลในกระเพาะอาหาร เหมือนยาลดกรด โดยในเหง้าของขมิ้นชัน จะมีสาร Curcumin สามารถกระตุ้นการหลั่งสาร mucin ออกมาในกระเพาะอาหาร จึงสามารถใช้รักษาแผลในกระเพาะอาหารได้ ลดอาการจุกเสียดแน่นท้อง แต่ในการทดลองพบว่า ประสิทธิภาพยังสู้ยาลดกรดทั่วไปไม่ได้ เนื่องจากในขมิ้นชัน จะมีสาร curcumin ในปริมาณที่แตกต่างกัน 
        2. ลดการอักเสบได้ เมื่อนำมาทาที่ผิวหนัง จึงใข้รักษาโรคผิวหนังพุพอง กลาก เกลื้อน ทาแก้ยุงกัด 
        3. มีฤทธิ์ในการขับน้ำดี และฆ่าเชื้อแบดทีเรียในลำไส้ จึงช่วยในการย่อยอาหาร ป้องกันอาการอุจจาระร่วงได้ 
        4. มีฤทธิ์ในการคลายกล้ามเนื้อเรียบ ทำให้ลดการหดเกร็ง ปวดท้องได้ 
        5. มีฤทธิ์ป้องกันตับอักเสบ เนื่องจากตับเป็นแหล่งกำเนิดของน้ำย่อยหลายชนิด การที่ curcumin สามารถป้องกันการอักเสบเนื่องจากสารพิษ จึงอาจเป็นการลดอาการแน่นจุดเสียดทางอ้อม
  • ในด้านความเป็นพิษ ขมิ้นชันจัดเป็นสมุนไพรที่มีความปลอดภัยสูง ถึงแม้จะมีรายงานว่า curcumin เองก็อาจทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารได้ และผงขมิ้นชันทำให้เกิดพิษต่อตับในสัตว์ทดลอง แต่ก็เป็นการให้ในปริมาณที่สูงมาก ดังนั้นหากจะใข้ประโยชน์จากขมิ้นชันในการรักษาโรค แนะนำว่าไม่ควรใช้ในปริมาณที่มากกว่า 500 มก.ต่อครั้งที่รับประทาน 
    อ้างอิงจากหน่วยข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลับมหิดล 
    เรียบเรียงและค้นคว้าใหม่โดย นพ.จรัสพล รินทระ .......................28 July,2005

ที่มา : https://www.clinicneo.co.th/detailcolumn.php?grp=2&sdata=&col_id=121

อัพเดทล่าสุด