การบริจาคโลหิต ได้กุศล และผลที่ได้รับ


903 ผู้ชม


  • โลหิต เป็นอวัยวะชนิดหนึ่ง เป็นของเหลวสีแดง ที่ไหลเวียนอยู่ภายในหลอดโลหิตในร่างกาย โดยกำลังการสูบฉีดของหัวใจ โลห��
�ตทำหน้าที่หล่อเลี้ยงและสร้างความเจริญเติบโตให้กับร่างกาย ถ้าร่างกายขาดโลหิต หรือสูญเสียโลหิตจำนวนมาก อาจทำให้เสียชีวิตได้ ดังนั้นในการรักษาผู้เจ็บป่วย แพทย์จำเป็นต้องให้โลหิตทดแทนเข้าใป โดยได้ขอรับจากการบริจาคโลหิตจากประชาชนทั่วไป
  • การบริจาคโลหิต คือ การเสียสละโลหิตส่วนหนึ่งที่เกินร่างกาย ให้กับผู้ป่วยที่ต้องการเลือด ถือว่าเป็นการเสียสละที่มีค่าสูงที่สุด การบริจาคสามารถทำได้ทุก 3 เดือน เพื่อเว้นระยะให้ไขกระดูกสร้างเม็ดเลือดใหม่ขึ้นมาทดแทน ระยะเวลาในการบริจาคโลหิตจะใช้เวลาประมาณ 15 นาที และการเจาะเก็บจะบรรจุในถุงพลาสติก ( Blood bag) ตั้งแต่ 350-450 ซีซี ตามน้ำหนักของร่างกาย
  • คุณสมบัติของผู้ที่จะบริจาคโลหิตได้ 
        1. อายุระหว่าง 17-60 ปีบริบูรณ์ 
        2. น้ำหนักตั้งแต่ 45 กิโลกรัมขึ้นไป และสุขภาพสมบูรณ์ ความดันโลหิตปกติ โดยความดัน Systolic ( ตัวแรก) ไม่ควรต่ำกว่า 100 ม.ม. ปรอท 
        3. ไม่มีประวัติโรคตับอักเสบ หรือดีซ่าน ตัวเหลือง ตาเหลือง 
        4. ไม่ป่วยเป็นโรคต่างๆ ดังนี้ ไม่เป็นไข้มาลาเรียในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา ไม่เป็นเอดส์ กามโรค โรคติดเชื้อต่างๆ ไอเรื้อรัง ไอมีโลหิต โลหิตออกง่ายผิดปกติและหยุดยาก โรคเลือดอื่นๆ โรคหอบหืด โรคภูมิแพ้ โรคลมชัก โรคผิวหนังเรื้อรัง โรคหัวใจ โรคไต โรคเบาหวาน โรคไทรอยด์ 
        5. ไม่อยู่ในภาวะน้ำหนักลดมากในขณะนั้น หรือระหว่างรับประทานยาลดน้ำหนัก หรือกำลังลดน้ำหนัก
        6. ไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศสัมพันธุ์ หรือสำส่อนทางเพศ หรือเป็นผู้ติดยาเสพติด 
        7. ถ้าเป็นสตรี ต้องไม่อยู่ในระยะการมีประจำเดือน หรือตั้งครรภ์ 
        8. หลังการผ่าตัด คลอดบุตร หรือแท้งบุตร น้อยกว่า 6 เดือน ไม่ควรบริจาคโลหิต 
        9. นอนหลับพักผ่อนให้เต็มที่ และไม่อดอาหารก่อนมาบริจาคโลหิต
  • ขั้นตอนการบริจาดโลหิต 
        ขั้นตอนที่ 1 สำหรับผู้บริจาคครั้งแรก เขียนใบสมัคร กรอกชื่อ-นามสกุล สถานที่ศึกษา ที่อยู่บ้านให้ชัดเจน ตอบคำถามในแบบสอบถามตามความเป็นจริง ระบุต้องการทราบผลเลือดหรือไม่ต้องการทราบ และลงนาม ส่วนในผู้ที่เคยบริจาคโลหิตแล้ว ให้ยื่นบัตรประจำตัวผู้บริจาคโลหิตแก่เจ้าหน้าที่ได้ทันที 
        ขั้นตอนที่ 2 เจ้าหน้าที่เจาะโลหิตที่ปลายนิ้ว เพื่อทดสอบความเข้มข้นของเลือด โดยในผู้ชายต้องมีความเข้มข้นมากกว่า 90 % และในผู้หญิงต้องมากกว่า 80 % 
        ขั้นตอนที่ 3 ตรวจสุขภาพโดยแพทย์ และความดันโลหิต ถ้าไม่สมบูรณ์ก็ให้งดบริจาคโลหิต 
        ขั้นตอนที่ 4 การเจาะเก็บโลหิต บริเวณข้อพับ โดยวัสดุใหม่ปลอดเชื้อ 
        ขั้นตอนที่ 5 หลังบริจาคโลหิต ควรนอนพักบนเตียงซักครู่ และรับประทานอาหารว่าง และเครื่องดื่มที่จัดบริการให้ หากมีอาการวิงเวียนศีรษะ หรือจะเป็นลม ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ทันที
  • สิ่งที่ผู้บริจาคโลหิตจะได้ทราบจากผลเลือดก่อนให้ผู้ป่วย ก็คือ 
        1. ได้ทราบหมู่เลือด ว่าเป็นกลุ่ม A,B,AB หรือ O และระบบเลือด Rh+,Rh- 
        2. ได้รับการตรวจเลือดหาเชื้อเอดส์ HIV ว่ามีในกระแสเลือดหรือไม่ 
        3. ได้รับการตรวจเลือดหาเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ว่ามีในกระแสเลือดหรือไม่ 
        4. ได้รับการตรวจเลือดหาเชื้อไวรัสตับอักเสบซี ว่ามีในกระแสเลือดหรือไม่ 
        5. ได้รับการตรวจเลือดหาเชื้อซิฟิลิส ว่ามีในกระแสเลือดหรือไม่ 
        6. ได้รับการตรวจกรองแอนตี้บอดี้ ของหมู่เลือดระบบอื่นๆ
  • ประโยชน์ที่จะได้รับในผู้ที่บริจาคโลหิต 
        1. ได้ทราบผลเลือดตนเอง ว่าปกติดีหรือไม่ 
        2. ได้ตรวจสุขภาพร่างกาย ทุก 3 เดือน 
        3. ได้รับความภาคภูมิใจที่ได้เสียสละโลหิตในร่างกาย ไปช่วยเหลือชีวิตเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน 
        4. ได้รับบัตรประจำตัวผู้บริจาคโลหิต ซึ่งในบัตรจะระบุ ชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้บริจาคโลหิต หมู่เลือด ABO และระบบ Rh วันเดือนปี และจำนวนครั้งในการบริจาคโลหิต 
        5. กรณีที่บริจาคโลหิตสม่ำเสมอ มีสิทธิได้รับการช่วยเหลือในการรักษาพยาบาล ตามระเบียบสาธารณสุข พ.ศ.2537 ดังนี้ 
         5.1 ผู้บริจาคโลหิตตั้งแต่ 7 ครั้งขึ้นไป ให้สถานบริการสาธารณสุข ช่วยเหลือเฉพาะค่าห้องพิเศษและค่าอาหารพิเศษโดยให้เรียกเก็บตามอัตราที่กำหนด แต่ไม่ควรเกินสิทธิอันพึงเบิกได้จากหน่วยงานต้นสังกัด ส่วนที่เกินให้เรียกเก็บเพียงร้อยละ 50 สำหรับผู้ที่ไม่มีสิทธิดังกล่าว ให้สถานบริการสาธารณสุขช่วยเหลือ โดยเรียกเก็บเพียงร้อยละ 50 ของอัตราที่กำหนด 
         5.2 ผู้บริจาคโลหิตตั้งแต่ 16 ครั้งขึ้นไป ให้สถานบริการสาธารณสุข เรียกเก็บ ค่ารักษาพยาบาล ค่าห้องพิเศษและค่าอาหาร ค่าอาหารพิเศษ โดยเรียกเก็บเพียงร้อยละ 50 ของอัตราที่กำหนด 
         5.3 ผู้บริจาคโลหิตตั้งแต่ 24 ครั้งขึ้นไป ให้สถานบริการสาธารณสุข รักษาพยาบาล โดยไม่คิดมูลค่า และค่าห้องพิเศษและค่าอาหาร ค่าอาหารพิเศษ โดยเรียกเก็บเพียงร้อยละ 50 ของอัตราที่กำหนด
  • เข็มที่ระลึกสำหรับผู้บริจาดโลหิต 
        1. ผู้บริจาดโลหิตจะได้รับเข็มที่ระลึก ครั้งที่ 1 โดยเจ้าหน้าที่ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติจะเป็นผู้มอบให้ 
        1. ผู้บริจาดโลหิต ครั้งที่ 7,16 ติดต่อรับเข็มที่ระลึกได้ด้วยตนเองที่ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติและหน่วยเคลื่อนที่รับบริจาคโลหิต 
        1. ผู้บริจาดโลหิตครบตั้งแต่ 24 ครั้งขึ้นไป ศูนย์บริจาคโลหิตจะจัดให้เข้ารับพระราชทานเข็มที่ระลึก โดยจะแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
  • ท่านสามารถแสดงความจำนงค์ในการบริจาคโลหิตศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย หรือหน่วยเคลื่อนที่รับบริจาคโลหิตตามหน่วยงานหรือสาขาต่างๆ โดยขอทราบรายละเอียดได้ที่ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ถนนอารีดูนังต์ กทม. โทร..02-2524106-9 ต่อ 113,114,157,161 
    เรียบเรียงและค้นคว้าใหม่โดย นพ.จรัสพล รินทระ ...ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด...4 August,2005

ที่มา : https://www.clinicneo.co.th/detailcolumn.php?grp=2&sdata=&col_id=154

อัพเดทล่าสุด