อิโนซิทอล (Inositol) บทบาทที่สำคัญในผู้ป่วยเบาหวาน


1,991 ผู้ชม


  • อิโนซิทอล (Inositol) เป็นสารชนิดหนึ่งในกลุ่มวิตามินบี ที่มีบทบาทสำคัญในระบบประสาทและระบบการกำจัดไขมัน ในภาวะปกติ หรือร
่างกายสมบูรณ์ จะสามารถสร้างได้เองจากกลูโคส แต่ในผู้ป่วยเบาหวานซึ่งมีความผิดปกติในการนำน้ำตาลกลูโคสไปใช้ประโยชน์ อาจเกิดภาวะขาดสารตัวนี้ได้
  • กลไกการทำงานของ อิโนซิทอล (Inositol): เมื่อร่างกายได้รับสารนี้เข้าไป อิโนซิทอล (Inositol)จะถูกเปลี่ยนเป็น Phosphatidyl Inositol ซึ่งมีประโยชน์ในการสร้างเยื่อหุ้มเซลล์ (cell membrane) โดยเฉพาะเยื่อหุ้มระบบประสาท(Myelin Sheath) เซลล์รากผมที่ทำหน้าที่สร้างผม เซลล์ ไขกระดูก ดังนั้นเมื่อขาดสารนี้ ก็อาจทำให้เกิดความผิดปกติของอวัยวะหรือเซลล์นั้นๆ ได้
  • นอกจากนี้ยังพบว่า อิโนซิทอล (Inositol) ยังเป็นตัวกระจายไขมันที่เกาะอยู่ตามผนังเส้นเลือด และเพิ่มการใช้ไขมันอิสระในเซลล์ จึงช่วยลด ภาวะไขมันในเลือดสูงได้ด้วย
  • อาการขาดสาร อิโนซิทอล (Inositol) ในผู้ป่วยเบาหวาน 
        1. ผิวหนังอักเสบ แบบ Eczema คือ มีอาการอักเสบบวมแดง คัน หรือ ลอกเป็นขุย 
        2. ท้องผูกได้ง่าย เนื่องจากการทำงานของระบบประสาทที่ควบคุมการเคลื่อนไหวลำไส้ ทำงานผิดปกติ จึงทำให้อาหารไม่เคลื่อนตัวและตกค้างในลำไส้ใหญ่ 
        3. อาจเกิดความผิดปกติในดวงตา เช่น ตาบอดกลางคืน ต้อกระจก ต้อหิน และการมองเห็นผิดปกติได้ 
        4. เกิดภาวะผมร่วงได้ เพราะสารนี้เกี่ยวข้องกับขบวนการในการสร้างเซลล์เส้นผมให้เจริญเติบโตตามปกติ 
        5. ทำให้ภาวะเส้นเลือดอุดตัน หรือมีการแข็งตัวของผนังเส้นเลือดได้ จากการที่โคเรสเตอรอลเกาะที่ผนังเส้นเลือดในปริมาณที่สูงเกินไป 
        6. เกิดภาวะเสื่อมและอักเสบของปลายประสาท ทำให้มีอาการชา หรือปวดร้อนตามปลายมือปลายเท้าได้
  • ได้มีผลงานการวิจัยทางการแพทย์ยืนยันว่า การให้ผู้ป่วยเบาหวาน ที่มีอาการดังกล่าวจากการขาดอิโนซิทอล (Inositol) ควรรับประทานสารนี้เสริม ร่วมกับโคลีน จะทำให้ฟื้นฟูอวัยวะที่เกี่ยวข้องได้ดีขึ้น และยังช่วยป้องกันภาวะซึมเศร้า ภาวะวิตกกังวล และป้องกันภาวะมะเร็งได้ ( เนื่องจากเชื่อว่า สารประกอบของ อิโนซิทอล (Inositol) คือ Inositol Hexaphosphate มีส่วนในการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน T-cell ) โดยขนาดที่แนะนำคือ รับประทาน อิโนซิทอล (Inositol) วันละ 500-1,000 มก.ต่อวัน โดย แบ่งรับประทานเป็นวันละ 2 ครั้ง ก่อนอาหารเช้าเย็น 
    เรียบเรียงและค้นคว้าใหม่โดย นพ.จรัสพล รินทระ ...ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด...8 August,2005

ที่มา : https://www.clinicneo.co.th/detailcolumn.php?grp=2&sdata=&col_id=177

อัพเดทล่าสุด